คณะผู้เชี่ยวชาญจีน-องค์การอนามัยโลก จัดการแถลงข่าวเกี่ยวกับต้นตอการแพร่ระบาดของโควิด-19

2021-02-10 17:07:22 | CMG
Share with:

คณะผู้เชี่ยวชาญจีน-องค์การอนามัยโลก จัดการแถลงข่าวเกี่ยวกับต้นตอการแพร่ระบาดของโควิด-19_fororder_20210210xwfbh1

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ คณะผู้เชี่ยวชาญร่วมสืบค้นต้นตอของไวรัสโควิด-19 จีน-องค์การอนามัยโลก(WHO) ได้จัดการแถลงข่าวที่นครอู่ฮั่น เพื่อรายงานผลการดำเนินงานการสืบค้นต้นตอของโควิด-19 ในประเทศจีน

คณะผู้เชี่ยวชาญจีน-องค์การอนามัยโลก จัดการแถลงข่าวเกี่ยวกับต้นตอการแพร่ระบาดของโควิด-19_fororder_20210210xwfbh3

เมื่อปลายปี 2019 อู่ฮั่นเกิดการระบาดของโควิด-19 อย่างกระทันหัน ประเทศจีนได้ใช้มาตรการอย่างรวดเร็ว รายงานข้อมูล ใช้มาตรการป้องกันและควบคุมที่เข้มงวดและครบวงจรที่สุด จนประสบความสำเร็จในด้านการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเห็นได้ชัด

คณะผู้เชี่ยวชาญจีน-องค์การอนามัยโลก จัดการแถลงข่าวเกี่ยวกับต้นตอการแพร่ระบาดของโควิด-19_fororder_20210210xwfbh2

ปัจจุบันการแพร่ระบาดยังคงลุกลามทั่วโลก เพื่อชี้แนะการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดขนาดใหญ่ในอนาคต จีนสนับสนุนองค์การอนามัยโลกดำเนินงานสืบหาต้นตอของเชื้อไวรัส ตามที่ระบุในหนังสือ TOR ที่จีนและองค์การอนามัยโลกตกลงกันไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2020

องค์การอนามัยโลกได้จัดส่งคณะผู้เชี่ยวชาญนานาชาติเดินทางถึงนครอู่ฮั่นเมื่อวันที่ 14 มกราคมปี 2021 เพื่อร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญจีน แบ่งเป็นสามหน่วย ได้แก่ การระบาดวิทยา การตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับของโมเลกุล สัตว์และสิ่งแวดล้อม เพื่อค้นหาต้นตอจากทั่วโลกในประเทศจีน

คณะผู้เชี่ยวชาญจีน-องค์การอนามัยโลก จัดการแถลงข่าวเกี่ยวกับต้นตอการแพร่ระบาดของโควิด-19_fororder_20210210xwfbh4

คณะผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมกันศึกษาข้อมูลและวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดจำนวนมาก และไปตรวจสอบ 9 หน่วยงาน รวมถึง โรงพยาบาลจินหยินถาน ตลาดอาหารทะเลหวาหนาน และสถาบันวิจัยไวรัส อู่ฮั่น ในสังกัดสภาวิทยาศาสตร์จีน และยังได้แลกเปลี่ยนกับบุคคลในวงกว้าง รวมถึงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่บริหารตลาดและผู้ค้า เจ้าหน้าที่ในชุมชน  ผู้ป่วยที่หายแล้ว  สมาชิกในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่เสียชีวิต  และประชาชนทั่วไปเป็นต้น ได้รวบรวมฉันทามติทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยได้รับผลการวิจัยร่วมพื้นฐาน ได้แก่

พบไวรัสโคโรน่าที่มีลำดับยีนคล้ายคลึงกับโควิด-19 ระดับสูงในค้างคาวและตัวนิ่ม แต่ข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะถือเป็นต้นกำเนิดโดยตรงของไวรัสโควิด-19 สัตว์เช่น มิงค์และแมวมีความอ่อนไหวอย่างสูงต่อโควิด-19 ทั้งนี้แสดงว่า ค้างคาว ตัวนิ่มหรือสัตว์ประเภทพังพอน แมว และสายพันธุ์อื่น ๆ มีความเป็นไปได้ที่จะมีเชื้อตามธรรมชาติ

การทดสอบด้านสิ่งแวดล้อมหลังการปิดตลาดอาหารทะเลหวาหนานได้พบการปนเปื้อนของไวรัสโควิด –19โดยทั่วไป โดยเฉพาะในแผงขายอาหารทะเล  เชื้อโควิด –19 อาจเข้าสู่ตลาดผ่านผู้ติดเชื้อ ผลิตภัณฑ์จากห่วงโซ่ความเย็นที่ปนเปื้อน และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ การทดสอบเนื้อสัตว์ขนาดใหญ่ในตลาดไม่พบผลบวก การสุ่มตัวอย่างของค้างคาวในมณฑลหูเป่ย และปศุสัตว์ สัตว์ปีกเลี้ยงและสัตว์ป่าจำนวนมากทั่วประเทศจีน ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับการหมุนเวียนของเชื้อโควิด–19 ในปศุสัตว์ สัตว์ปีก และสัตว์ป่าในช่วงก่อนและหลังการระบาด

ในเดือนธันวาคม 2019 มีการแพร่กระจายของโควิด–19ในระดับหนึ่งที่อู่ฮั่น และผู้ป่วยส่วนใหญ่แสดงอาการในช่วงครึ่งเดือนหลัง ตลาดอาหารทะเลหวาหนานเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นการแพร่ระบาด และเป็นสถานที่สำคัญที่ดึงดูดความสนใจของแผนกควบคุมโรคในช่วงต้นของการแพร่ระบาด ในการค้นหาและวิเคราะห์ผู้ป่วยระยะแรกพบว่า ในช่วงเวลาที่ตลาดอาหารทะเลหวาหนานพบผู้ติดเชื้อนั้น  ในพื้นที่อื่นของอู่ฮั่นก็พบผู้ติดเชื้อด้วยเช่นกัน คณะผู้เชี่ยวชาญได้ทำการประเมินทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่โควิด–19 สามารถติดต่อจากพาหะธรรมชาติไปสู่มนุษย์โดยตรง อาหารห่วงโซ่เย็น โฮสต์กลาง และห้องปฏิบัติการ (ซึ่งตามข้อสรุปการประเมินจะแบ่งออกเป็น 5 ระดับได้แก่ "เป็นไปไม่ได้" "น่าจะเป็นไปไม่ได้ " " น่าจะเป็นไปได้ " “ ค่อนข้างจะเป็นไปได้ "และ" เป็นไปได้มาก ") โดยเห็นว่า โควิด–19“ค่อนข้างจะเป็นไปได้” ที่ถูกนำเข้าสู่มนุษย์ผ่านพาหะที่เป็นตัวกลางหรือ“ เป็นไปได้” ที่จะแพร่เชื้อเข้าสู่มนุษย์โดยตรงหรือผ่านอาหารห่วงโซ่เย็น "เป็นไปไม่ได้" ที่จะระบาดสู่มนุษย์ผ่านห้องปฏิบัติการ

คณะผู้เชี่ยวชาญร่วมยังให้คำแนะนำสำหรับการตรวจสอบต้นตอโควิด-19 ขั้นตอนต่อไปในทั่วโลก

Bo/LR/Cui

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-04-2567)

  • เกาะกระแสจีน (27-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

刘榕