เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้นำสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลีย จัดการประชุมสุดยอดทางไกล นับเป็นการประชุมระดับผู้นำประเทศครั้งแรกหลังจัดตั้งกลไกภาคี 4 ประเทศ แม้แถลงการณ์ร่วมที่ประกาศหลังการประชุมไม่ได้กล่าวถึงจีนโดยตรง แต่ภายนอกวิเคราะห์ว่า เนื้อหาสาระในแถลงการณ์มีความเจาะจงอย่างสูง วิทยุสาธารณะแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ เอ็นพีอาร์ รายงานว่า นี่เป็นการที่สหรัฐฯ ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อกระชับการต่อต้านจีน
แถลงการณ์ของการประชุมครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการต้านโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความมั่นคงในภูมิภาค ยิ่งไปกว่านั้น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ประกาศบรรลุความเห็นเป็นเอกฉันท์เพิ่มการลงทุนมากขึ้นในบริษัทผลิตยาของอินเดียเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 หนังสือพิมพ์ Financial Times มองว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวมุ่งแสวงหาขอบเขตที่มีส่วนร่วมต่อต้านกับปักกิ่งโดยไม่มีความเด่นชัด
ฉะนั้น การกระทำที่เจาะจงจีนโดยตั้งใจไม่พูดถึงจีนของกลไก 4 ประเทศนี้ดูเหมือนการแสดงทางการเมืองที่ยากจะบรรลุเป้าหมายได้
ก่อนอื่น กลไกนี้ไม่ใช่เหล็กกล้าแผ่นเดียว สี่ประเทศต่างมีความต้องการทางการเมืองของตน สหรัฐฯ คิดจะซื้อใจอีกสามประเทศมายับยั้งจีนเป็นเรื่องยากที่จะสมหวัง ประการที่สอง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทำให้อีกสามประเทศนั้นยากจะมีท่าทีเดียวกับสหรัฐฯ ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับแรกของญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลีย อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ของญี่ปุ่นได้ทดแทนฐานะระหว่างสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ได้ทดแทนตลาดที่สูญเสียจากวิสาหกิจสหรัฐฯ แล้ว ขณะที่อินเดียกำลังเร่งพิจารณาการลงทุนจากจีนหลายสิบโครงการ ส่วนออสเตรเลียซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกสหพันธ์ห้าตานั้น ก็ได้ส่งสัญญาณกับจีนอย่างต่อเนื่องโดยหวังให้จีนฟื้นฟูการส่งออกไม้และแร่เหล็ก
สำหรับประชาคมโลก สิ่งที่ต้องติดตาม คือ รัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบันดูเหมือนจะตัดความสัมพันธ์กับนโยบายในอดีต แต่หากมองจากสัญญาณต่าง ๆ แล้ว ลัทธิพหุภาคีที่กำลังดำเนินอยู่ เป็นพหุภาคีที่มีการเลือกในวงเล็กและเหมาะกับการเมืองของกลุ่ม
ทั้งนี้ กิจการของโลกให้ทุกฝ่ายหารือกัน จัดการร่วมกัน โชคชะตาและอนาคตของโลกให้ประเทศต่าง ๆ มีส่วนร่วม นี่จึงเป็นลัทธิพหุภาคีที่โลกใบนี้ต้องการ
Tim/Ping/Cai