แหล่งโบราณคดี“ซานซิงตุย”อันลึกลับทำให้เราประหลาดใจอะไรในครั้งนี้

2021-03-24 15:06:10 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

     “หลับใหลสามพันปี ตื่นมาช็อกโลก” แหล่งโบราณคดีซานซิงตุยกลับมาเป็นที่จับตาของผู้คนอีกครั้ง วันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา การประชุมความคืบหน้าโครงการสำคัญด้าน “โบราณคดีจีน” ได้รายงานการค้นพบที่สำคัญและผลการศึกษาของแหล่งโบราณคดีซานซิงตุยที่อยู่ในเมืองกว่างฮั่น มณฑลเสฉวน โดยนักโบราณคดีค้นพบอะไรในครั้งนี้และการค้นพบครั้งใหม่นี้เปิดเผยความลับอะไรบ้าง

 

►แหล่งโบราณคดีซานซิงตุยคืออะไร

 

    ซากโบราณซานซิงตุยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเสฉวนโบราณที่สร้างขึ้นโดยบรรพบุรุษของชาวกู่สู่ ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำยาจื่อ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองกว่างฮั่น มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน

    ซานซิงตุยถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์เซี่ยและเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในช่วงกลางและปลายราชวงศ์ซัง แบ่งออกเป็นระบบกำแพงเมือง พื้นที่อยู่อาศัย โรงงาน และหลุมบูชายัญ เป็นต้น ซึ่งมีขนาดใหญ่ มีแผนผังที่เข้มงวด แลหน้าที่ที่ชัดเจน เครื่องทองสัมฤทธิ์จำนวนมากที่ขุดพบเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีการหล่อโลหะสัมฤทธิ์ในภูมิภาคอาณาจักรเสฉวนโบราณมีความสมบูรณ์มาก

แหล่งโบราณคดี “ซานซิงตุย” อันลึกลับทำให้เราประหลาดใจอะไรในครั้งนี้_fororder_图片 1

แผนที่ที่ตั้งของหลุมบูชายัญในเขตบูชายัญของแหล่งโบราณคดีซานซิงตุย

 

แหล่งโบราณคดี “ซานซิงตุย” อันลึกลับทำให้เราประหลาดใจอะไรในครั้งนี้_fororder_图片2

▲หน้ากากสัมฤทธิ์ตายาว

 

    ค.ศ. 1986 จีนขุดพบหลุมบูชายัญในแหล่งโบราณคดีซานซิงตุยเป็นครั้งแรก หลุมหมายเลข 1 และ 2 ขุดพบโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมมากกว่าพันชิ้น ส่วนการขุดพบครั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2019 – พฤษภาคม 2020 นักโบราณคดีได้ค้นพบหลุมบูชายัญมากถึง 6 แห่งติดต่อกัน ซึ่งทำให้ขอบเขตของงานโบราณคดีเพิ่มขึ้นจาก 2 หลุมเป็น 8 หลุม และนักวิจัยยังสามารถเข้าใจภาพรวมของสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้ครบถ้วนมากขึ้น

แหล่งโบราณคดี “ซานซิงตุย” อันลึกลับทำให้เราประหลาดใจอะไรในครั้งนี้_fororder_图片31

▲ แผนผังการกระจายของ "หลุมบูชายัญ"

 

►ปริศนาที่ยังไม่ได้คำตอบของแหล่งโบราณคดีซานซิงตุยคืออะไร

 

    ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา การศึกษาและขุดพบในแหล่งโบราณคดีซานซิงตุยแต่ละครั้งทำให้ผู้คนสนใจประวัติศาสตร์อันลึกลับของที่นี่ จนถึงทุกวันนี้ปริศนาเบื้องแหล่งซากโบราณซานซิงตุยยังคงน่าสนใจ

    หากคุณเคยเห็นหน้ากากสัมฤทธิ์อันล้ำค่าและรูปปั้นทองสัมฤทธิ์สูงเด่นในพิพิธภัณฑ์ก็ย่อมรู้ว่านี่ไม่ใช่อารยธรรมธรรมดา ไม่น่าแปลกใจที่ชาวเน็ตต่างพูดติดตลกว่า อาณาจักรเสฉวนโบราณซึ่งอยู่เบื้องหลังซากโบราณซานซิงตุยอาจมาจากดาวเคราะห์ต่างดาว

แหล่งโบราณคดี “ซานซิงตุย” อันลึกลับทำให้เราประหลาดใจอะไรในครั้งนี้_fororder_图片4 1

▲รูปปั้นทองสัมฤทธิ์สู

 

    แม้อารยธรรมยอดเยี่ยมแต่ก็หายไปอย่างกะทันหัน นักโบราณคดีใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การตรวจคาร์บอน-14 ซึ่งคำนวณได้ว่า ซากโบราณซานซิงตุยมีความเก่าแก่ระหว่าง 4,800 ถึง 2,600 ปีก่อน กินเวลายาวนานกว่าสองพันปี แต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ว่าทำไมอารยธรรมนี้จึงล่มสลายไปอย่างกะทันหัน น้ำท่วม สงคราม การย้ายถิ่นฐาน และการคาดการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดล้วนเป็นไปได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพียงพอ จึงยังคงเป็นเพียงแค่การคาดการณ์

    นอกจากนี้ เรายังไม่พบตัวอักษรของอาณาจักรเสฉวนโบราณ ซึ่งสร้างผิดหวังต่อการศึกษาทางโบราณคดีอย่างไม่ต้องสงสัย ก่อนหน้านี้ นักโบราณคดีพบไม้สีทองในหลุมบูชายัญสลักเป็นรูปปลา นก และรูปภาพของมนุษย์ ดูเหมือนจะเป็นอักษรภาพโบราณแต่สัญลักษณ์ภาพที่พบในซากโบราณซานซิงตุยมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นซึ่งห่างจากแนวคิดของการเขียนอักษรไกลเกินไป

แหล่งโบราณคดี “ซานซิงตุย” อันลึกลับทำให้เราประหลาดใจอะไรในครั้งนี้_fororder_图片5 1

▲ชาวเน็ตช่างจินตนาการกล่าวว่า: นี่คือพวงมาลัยของคนโบราณหรือไม่

 

    อาณาจักรเสฉวนโบราณมาจากไหน ทำไมจึงหายไปทันที มนุษย์ในอาณาจักรเสฉวนโบราณมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร? ปัญหาเหล่านี้ดึงดูดความสนใจของนักโบราณคดีเสมอ

 

►การเปิด "กล่องตาบอด" 6 ครั้งพบอะไรบ้าง

 

     ชาวเน็ตบางคนพูดเล่น ๆ ว่า "หลุมบูชายัญ" ที่เพิ่งค้นพบราวกับการเปิด "กล่องตาบอด" ซึ่งจากผลลัพธ์ปัจจุบันก็จะเห็นได้ว่า กระบวนการนี้นำความประหลาดใจมาสู่นักโบราณคดีมาก ดูแค่ที่หลุมหมายเลข 3 ก็รู้ได้ว่าสิ่งที่ได้มานั้นไม่เล็กแน่นอน

แหล่งโบราณคดี “ซานซิงตุย” อันลึกลับทำให้เราประหลาดใจอะไรในครั้งนี้_fororder_图片 61

▲หลุมหมายเลข 3 มีโบราณวัตถุจำนวนมาก

 

    เมื่อพูดถึงวัตถุโบราณทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดในหลุมนี้ก็คือหน้ากากทองครึ่งซีกนี้

แหล่งโบราณคดี “ซานซิงตุย” อันลึกลับทำให้เราประหลาดใจอะไรในครั้งนี้_fororder_图片7 1

▲หน้ากากทองครึ่งซีก

 

    นอกจากชิ้นส่วนหน้ากากทองคำนี้แล้ว โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมที่ขุดพบยังมีเครื่องประดับทองรูปนก หน้ากากทองครึ่งซีก ทองคำเปลว ต้นไม้ทองสัมฤทธิ์ งาช้าง รวมถึงชิ้นส่วนงาช้างแกะสลักขนาดเล็ก และเครื่องหยก เป็นต้น มากกว่า 500 ชิ้น

    คณะสำรวจที่พบวัตถุโบราณล้ำค่ารู้สึกทึ่งพร้อมกล่าวว่า สิ่งของในหลุมเหล่านี้ไม่ใช่คนธรรมดาจะเป็นเจ้าของได้ มีแต่กษัตริย์แห่งอาณาจักรเสฉวนโบราณเท่านั้น ร่ำรวยจริง ๆ อะไรก็มี

 

►การค้นพบทางโบราณคดีจากซากโบราณซานซิงตุยมีความหมายสำคัญอย่างไร

 

           วัตถุโบราณที่แสดงไว้ด้านบนล้วนน่าอัศจรรย์ ดังนั้น การค้นพบของพวกเขาบอกอะไรกับเราบ้าง

แหล่งโบราณคดี “ซานซิงตุย” อันลึกลับทำให้เราประหลาดใจอะไรในครั้งนี้_fororder_图片 81

▲ชิ้นส่วนงาช้างแกะสลักจากหลุมหมายเลข 5

 

    การค้นพบครั้งใหม่จากเขตบูชายัญจะช่วยแก้ปัญหาทางวิชาการที่มีมายาวนาน เช่น ปัญหาของอายุ และสาระสำคัญของปัญหา ในอดีตมีการขุดพบเพียงสองหลุม คราวนี้เพิ่มเป็นแปดหลุม และได้สำรวจพื้นที่บริเวณรอบ ๆ อย่างละเอียด ซึ่งช่วยฟื้นฟูพื้นที่ภายในของ "วัด" หรือ "เขตบูชายัญ" ในเวลานั้น ซึ่งให้ข้อมูลที่สำคัญมากสำหรับความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดทางศาสนา วัฒนธรรมของอาณาจักรเสฉวนโบราณ และเป็นข้อมูลสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดเกี่ยวกับจักรวาลด้วย

    แน่นอนว่าความสำคัญของแหล่งโบราณคดีซานซิงตุยไม่ใช่แค่วัฒนธรรมของอาณาจักรเสฉวนโบราณเท่านั้น

    การขุดค้นทางโบราณคดีครั้งนี้ไม่เพียงแต่เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของอารยธรรมซานซิงตุยมากขึ้นเท่านั้น หากยังช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างที่ราบเฉิงตูกับพื้นที่โดยรอบให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

แหล่งโบราณคดี “ซานซิงตุย” อันลึกลับทำให้เราประหลาดใจอะไรในครั้งนี้_fororder_图片 91

▲ภาพมุมสูงอุทยานโบราณคดีแห่งชาติซากโบราณเหลียงจู่ เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง

 

    ด้วยความก้าวหน้าของความสำเร็จทางโบราณคดีในหลายสถานที่ เช่น ซากโบราณซานซิงตุย และซากเหลียงจู่ ทำให้มีข้อมูลเกี่ยวกับอาณาจักรเสฉวนโบราณและวัฒนธรรมแม่น้ำแยงซีที่มีความสำคัญต่ออารยธรรมชนชาติจีนเปิดเผยออกมามากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือตัวอย่างสำคัญของรูปแบบการพัฒนาผสมผสานพหุนิยมของอารยธรรมชนชาติจีน

Tim/kt/Patt

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (16-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (16-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (16-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-05-2567)

彭少艾