บทวิเคราะห์:การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องการ“พหุภาคีนิยมที่แท้จริง”

2021-04-24 17:15:44 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์:การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องการ “พหุภาคีนิยมที่แท้จริง”_fororder_166031760252957745

ค่ำวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนร่วมการประชุมสุดยอดระดับผู้นำว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกลจากกรุงปักกิ่ง พร้อมกล่าวสุนทรพจน์และเสนอแนวคิด “ร่วมสร้างสรรค์ประชาคมแห่งชีวิตระหว่างมนุษย์-ธรรมชาติ” เรียกร้องให้ประเทศต่างๆทั่วโลกยืนหยัดพหุภาคีนิยม ยืนหยัดหลักการร่วมรับผิดชอบตามสภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้เป็นการชี้ทิศทางสำหรับมนุษยชาติในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ควรเอาไปใช้เป็นชิปต่อรองการเมืองทางภูมิรัฐศาสตร์ “พหุภาคีนิยมแบบเลือกที่รักมักที่ชัง” นั้น หาใช่พหุภาคีที่แท้จริงไม่ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเรียกร้องว่า แต่ละประเทศควรรพิทักษ์ระบบระหว่างประเทศโดยมีองค์การสหประชาชาติเป็นแกนกลาง ปฏิบัติตามเป้าหมายและหลักการของ “กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” และ “ข้อตกลงปารีส” ขณะเดียวกัน เนื่องจากขั้นตอนการพัฒนา ความสามารถทางเศรษฐกิจและระดับทางเทคโนโลยี ให้หลักการร่วมรับผิดชอบตามสภาพที่แตกต่างกัน เป็นพื้นฐานของการบริหารจัดการสภาพภูมิอากาศทั่วโลก จำเป็นต้องมีการส่งเสริมให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

“มนุษย์เราไม่มีเวลาให้เสียเปล่าอีก...ทุกประเทศควรมีปฎิบัติการอย่างเร่งด่วน เพื่อปกป้องมนุษยชาติให้รอดพ้นผลกระทบจากภัยพิบัติอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เป็นคำเรียกร้องทั่วโลกเมื่อเร็วๆนี้ของนายแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ทั่วโลกควรขบคิดในคำกล่าวของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงที่ว่า “ควรร่วมมือกัน ไม่ใช่ตำหนิติเตียนกัน  ต้องมีความพากเพียรต่อเนื่อง ไม่ใช่เช้าทำอย่างตกค่ำเปลี่ยนเป็นอีกอย่าง ควรรักษาคำพูด อย่ากลายเป็นคนที่เชื่อถือไม่ได้ ”

(Yim/Zi)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

晏梓