วันที่ 25 มิถุนายน ในที่ประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลครั้งที่ 31 ผู้แทนญี่ปุ่นกล่าวว่า น้ำปนเปื้อนนิวเคลียร์ที่ได้รับการจัดการแล้วจะไม่เกิดมลพิษเมื่อปล่อยสู่ทะเล ญี่ปุ่นดำเนินการอย่างเปิดเผยและโปร่งใส ซึ่งได้รับการยอมรับจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ เป็นต้น
แต่ประชาคมโลกทราบกันดีว่า สถานีไฟฟ้านิวเคลียร์เกาะฟูกูชิมะเคยเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ระดับสูงสุด ซึ่งน้ำปนเปื้อนมีสารกัมมันตรังสีจากปฏิกิริรยาฟิชชันเป็นปริมาณมาก ซึ่งต่างจากคุณภาพน้ำที่ปล่อยจากสถานีไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ทำงานเป็นปกติอย่างสิ้นเชิง และยังไม่เคยมีกรณีปล่อยน้ำปนเปื้อนแบบนี้มาก่อน ญี่ปุ่นเองก็ไม่มีประสบการณ์ด้านนี้แม้แต่น้อย
บริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียวเคยประกาศว่า น้ำปนเปื้อนถูกบำบัดให้มีความสะอาดแล้ว สามารถกำจัดสารกัมมันตรังสีส่วนใหญ่ได้ ยกเว้นตริเตียม แต่ว่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ญี่ปุ่นออกรายงานแสดงว่า น้ำปนเปื้อนที่ถูกบำบัดมาแล้ว ยังมีสารกัมมันตรังสีเกินมาตรฐานถึง 73% แถมการเจือจางน้ำปนเปื้อนตริเตียมก็ไม่สามารถเปลี่ยนปริมาณตริเตียมในน้ำได้
ขณะเดียวกัน สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศก็ไม่เคยพิจารณาหรือยอมรับการตัดสินใจนี้ของญี่ปุ่น โดยปัจจุบันกำลังก่อตั้งคณะทำงานทางเทคโนโลยี่ที่เกี่ยวข้องอยู่ และจะเชิญผู้เชี่ยวชาญจีนและเกาหลีใต้เข้าร่วม
ตามการคำนวณขององค์กรศึกษาวิทยาศาสตร์ทางทะเลของเยอรมนี บริเวณรอบเกาะฟูกูชิมะมีกระแสน้ำในมหาสมุทรที่แรงที่สุดของโลก นับจากวันแรกที่ปล่อยสู่ทะเลจะสามารถกระจายไปยังน่านน้ำทั่วโลกได้ภายในเวลา 10 ปี ซึ่งจะก่อผลกระทบที่คาดการณ์ไม่ได้ต่อสภาพแวดล้อมทางทะเล ความปลอดภัยทางอาหารและสุขภาพมนุษย์ทั่วโลก