ประเทศจีนมีพื้นที่ดินเค็ม-ด่างกว่า 1,000 โหม่ว (กว่า 6.67 แสนตารางกิโลเมตร) ส่วนที่สามารถปรับปรุงเพื่อใช้ประโยชน์ได้มีราว 200-300 โหม่ว (ประมาณ 1.3 - 2 แสนตารางกิโลเมตร) ทางการจีนมีแผนว่าจะใช้เวลา 8-10 ปีส่งเสริมการปลูกข้าวพันธุ์ที่เหมาะสำหรับดินเค็ม-ด่าง หรือ “ข้าวน้ำทะเล” 100 ล้านโหม่ว หากคำนวณตามผลผลิตขั้นต่ำอยู่ที่ 300 กิโลกรัมต่อโหม่ว แต่ละปีจะเพิ่มการผลิตธัญญาหาร 30,000 ล้านกิโลกรัม สามารถเลี้ยงประชาชนได้อีก 80 ล้านคน
ย้อนกลับไปเมื่อ ค.ศ. 1986 นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งค้นพบข้าวน้ำทะเลป่าต้นแรกที่ชายฝั่งทะเลของเมืองจั้นเจียง และได้ยื่นขอสิทธิบัตรพันธุ์พืชใหม่ โดยตั้งชื่อว่า “ข้าวน้ำทะเล 86” และถือเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญในการดำเนินงานเกี่ยวกับข้าวพันธุ์ผสมของจีน หลังจากนั้น ทางการจีนได้ทุ่มเทกำลังอย่างมากในการวิจัยและทดลองเกี่ยวกับข้าวน้ำทะเล โดย “หยวน หลงผิง” ก็เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อโครงการนี้ จนถึงทุกวันนี้ จีนได้ดำเนินการวิจัยและทดลองในพื้นที่ต่างๆ เช่น มณฑลซานตง, เขตมองโกเลียใน, มณฑลส่านซี, เขตซินเจียง, มณฑลเฮยหลงเจียง, มณฑลชิงไห่ รวมถึงนครดูไบของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยอดการผลิตข้าวน้ำทะเลโดยเฉลี่ยแล้วกว่า 400 กิโลกรัมต่อโหม่ว
(Yim/Zi/Lei)