‘สือ กวงหยิน’ผู้ได้รับ‘เหรียญเกียรติยศ 1 กรกฎา’: ต้นแบบงานจัดการทรายและปลูกป่า

2021-07-23 09:14:57 | CMG
Share with:

"เหรียญเกียรติยศ  1 กรกฎาคม" เป็นรางวัลเชิดชูเกียรติสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2021 พิธีมอบ "เหรียญเกียรติยศ 1 กรกฎาคม"  เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ณ มหาศาลาประชาชน กรุงปักกิ่ง  นายสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์และประธานาธิบดีจีนเป็นผู้มอบเหรียญเกียรติยศดังกล่าว

เฉพาะสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ที่ได้สร้างคุณูปการอันยอดเยี่ยมให้กับพรรคและประชาชนเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์ได้รับเกียรตินี้ พิธีมอบเหรียญเกียรติยศ 1 กรกฎาคม จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยมีผู้รับเกียรติอันสูงส่งนี้รวม 29 คน  หนึ่งในนั้นคือ “สือ กวงหยิน” ในฐานะตัวแทนต้นแบบภารกิจบริหารจัดการทรายและปลูกป่า ซึ่งเป็นเวลากว่า 40 ปีที่สือ กวงหยินได้ยืนหยัดต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อกับผืนทรายว่างเปล่าและพื้นที่ดินเค็ม คิดค้นรูปแบบใหม่ที่ผสมผสานการบริหารจัดการทรายกับการสร้างความมั่งคั่งเข้าด้วยกัน ได้สร้างคุณูปการอย่างโดดเด่นในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอันเลวร้ายของท้องถิ่นแบบ "ทรายรุกคืบ คนล่าถอย"  โดยสิ้นเชิง

‘สือ กวงหยิน’ ผู้ได้รับ ‘เหรียญเกียรติยศ  1 กรกฎา’ :  ต้นแบบงานจัดการทรายและปลูกป่า_fororder_“七一勋章”获得者石光银

หากควบคุมทรายไม่ได้ก็ยากที่จะหลุดพ้นจากความยากจน

ทะเลทรายเหมาอูซู เป็น 1 ใน 4 ทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ตั้งอยู่ระหว่างเขตหยีหลิน มณฑลส่านซี กับเมืองออร์ดอส เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มีเนื้อที่มากถึง 42,200 ตารางกิโลเมตร สือ กวงหยิน ซึ่งบ้านเกิดอยู่ขอบด้านใต้ของทะเลทรายเหมาอูซู เคยประสบความเดือดร้อนมากมายจากลมและทรายตั้งแต่เด็ก  “หนึ่งปีมีลมพายุครั้งหนึ่ง แต่พัดตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิยันฤดูหนาว” สภาพที่ท้องฟ้าเต็มไปด้วยฝุ่นทรายสีเหลืองตลอดทั้ง 4 ฤดูกาลนั้น กลายเป็นฝันร้ายของคนในท้องถิ่น เพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายจากพายุทราย พ่อของสือ กวงหยินเคยอพยพครอบครัวถึง 9 ครั้ง

ลมและทรายเป็นสิ่งที่อยู่ในความทรงจำวัยเด็กของสือ กวงหยินมาโดยตลอด และกลายเป็นความทุกข์ยาก ซึ่งยากที่จะบรรยายได้ของผู้คนในอำเภอติ้งเปียน เขตหยีหลินในเวลานั้น “เตียงดินเพิงหญ้า ลมเหลืองพัดตลอดสี่ฤดู รองท้องด้วยรำข้าวและผัก สิบครัวเรือนมีเก้าครอบครัวยากจน” นี่คือภาพชีวิตที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ขอบทะเลทรายเหมาอูซูในขณะนั้น  “เมื่อลมกระโชกแรง ทรายถูกพัดเข้าคานบ้าน ข้าวสาลีสูงเหนือพื้นเมื่อวานจะถูกทรายฝังมิดไม่เหลือเลย ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ที่ดิน 1 โหม่ว(ราว 0.42 ไร่) เก็บเกี่ยวธัญญาหารได้เพียง 50-100 กิโลกรัมเท่านั้น”  สือ กวงหยินเล่าย้อนหลังถึงสภาพในอดีต

ข้อมูลท้องถิ่นแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลา 100 ปีก่อน ค.ศ. 1949 เขตทรายหยีหลินมีพื้นที่ทำเกษตรกรรมและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 2.1 ล้านโหม่ว(ราว 0.88 ล้านไร่) ได้ถูกทรายกลบฝัง และพื้นที่เกษตรกรรมที่เหลือ 1.45 ล้านโหม่ว(ราว 0.6 ล้านไร่) ก็ถูกโอบล้อมด้วยเนินทรายเช่นกัน เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1949  เขตหยีหลินมีอัตราการครอบคลุมของป่าไม้และหญ้าเพียง 1.8% เท่านั้น

สถานการณ์ “ทรายรุกคืบ คนล่าถอย” ทวีความเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ  "ดินแดนรกร้างว่างเปล่าที่ไร้พืชพันธุ์และพืชผล" ซึ่งเชื่อมติดกันเป็นบริเวณกว้างใหญ่ ได้จำกัดการผลิตและการดำรงชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นอย่างรุนแรง  "ถ้าควบคุมทรายให้ชาวบ้านไม่ได้ ก็ไม่สามารถขจัดต้นตอความยากจนของที่นี่ได้ เวลานั้นผมปักใจว่า ต่อไปจะทำเรื่องต่อสู้กับทรายอย่างเดียว” สือ กวงหยินกล่าว

หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน  สร้างตำนานแห่งทะเลทราย

หลังจากได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเกอถ่าเท่า ตำบลไหจื่อเหลียง อำเภอติ้งเปียน  สือ กวงหยินได้นำชาวบ้านปลูกป่า หลังจากทำงานอย่างหนักเป็นเวลา 3 ปี เขาประสบความสำเร็จในการปลูกป่า 14,000 โหม่ว(ราว 5,833 ไร่) ทำให้ตำบลไหจื่อเหลียงมีโอเอซิสแห่งแรกเกิดขึ้น

ค.ศ. 1984 สือ กวงหยินตอบรับการเรียกร้องของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างแข็งขัน ได้ก่อตั้งบริษัทบริหารจัดการทรายที่ถือหุ้นโดยเกษตรกรแห่งแรกของประเทศ ซึ่งก็คือฟาร์มทุ่งหญ้าซินซิงหลิน โดยรับเหมาผืนทรายว่างเปล่ามากกว่า 3,000 โหม่ว(ราว 1,250 ไร่) สือ กวงหยินขายแกะ 84 ตัวและล่อ 1 ตัวของครอบครัว นำพาชาวบ้านไม่กี่ครัวเรือนเริ่มภารกิจควบคุมทรายอย่างหนักชนิด “หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน “ โชคดีที่สภาพอากาศเอื้ออำนวย  ฝนปีนั้นช่วยสือกวงหยินได้มาก อัตราการรอดตายของกล้าไม้อยู่ในระดับที่สูงมาก

การเปลี่ยนแปลงที่น่ายินดีเป็นแรงบันดาลใจที่กระตุ้นจิตวิญญาณการต่อสู้ของสือ กวงหยิน  เมื่อ ค.ศ. 1985 เขารับ “คำสั่งทางทหาร” อีกครั้งเพื่อรับเหมาการบริหารจัดการผืนทรายมากกว่า 50,000 โหม่ว(ราว 20,833 ไร่) ยืนอยู่ขอบทะเลทรายอันกว้างใหญ่ไพศาลสุดลูกหูลูกตา  หลายคนกังวลว่าคำมั่นสัญญาของเขายากที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะผู้คนไม่เคยพบเห็นต้นไม้ที่นี่แม้สักต้น แต่เมื่อพูดออกไปแล้วไม่ทำไม่ได้เป็นอันขาด "คนบ้าแซ่สือ" ซึ่งเป็นคำพูดที่ชาวบ้านใช้เรียกสือ กวงหยิน กระโดดขึ้นขี่ล่อ เดินเข้าไปในทะเลทรายพร้อมด้วยเมล็ดหญ้า

ในผืนทรายที่สือ กวงหยินรับเหมามาบริหารจัดการนั้น ผืนทรายที่เรียกว่า "ทรายรังหมาป่า" ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,000 โหม่ว(ราว 2,500 ไร่) เป็นพื้นที่ที่จัดการยากที่สุด ที่นี่มีสันทรายติดๆกันและลมแรงต่อเนื่องตลอดทั้งปี เมื่อ ค.ศ. 1986 สือ กวงหยินได้นำผู้คนหลายร้อยคนเข้าไปทำงานติดต่อกันเป็นเวลาหลายสิบวันใน "ทรายรังหมาป่า" เมื่อหิวก็หักขนมปังข้าวโพดกิน เมื่อหิวน้ำก็ตักน้ำที่ปนเปื้อนฝุ่นทรายดื่ม เมื่อง่วงก็งีบหลับในเพิงหญ้า ส่วนกิ่งไม้ปักชำทั้งหมดต้องแบกกันไปเป็นมัดๆด้วยแรงคน แต่หลังจากเกิดลมกระโชกแรงหลายครั้ง กิ่งไม้ที่เพิ่งปักชำปลูกใหม่เกือบทั้งหมดถูกทำลาย

เนื่องจากขาดประสบการณ์ อัตรารอดของกล้าไม้ที่ปลูกในช่วงสองปีแรกจึงน้อยกว่า 30% สือ กวงหยินกล่าวว่า “ในตอนนั้น หลายคนเลิกทำ ผมคิดว่าการควบคุมทรายเป็นเรื่องที่พึ่งแรงกายอย่างเดียวไม่ได้ ดังนั้น ผมจึงไปถามผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูว่าพวกเขาปลูกต้นไม้อย่างไร”  หลังจากถามผู้เชี่ยวชาญด้านการป่าไม้แล้ว สือ กวงหยินถึงรู้ว่าวิธีการควบคุมทรายก่อนหน้านั้นไม่ถูกหลักวิทยาศาสตร์ มีแต่การปลูกต้นไม้และพุ่มไม้อย่างประสานกันเท่านั้น จึงจะมีบทบาทในการป้องกันลมและควบคุมทรายที่ได้ผลคงที่

ในฤดูใบไม้ผลิของปีที่สาม สือ กวงหยินได้นำชาวบ้านต่อสู้กับ "ทรายรังหมาป่า" อีกครั้ง ได้สร้างแนวกั้นทรายยาวกว่า 800 กิโลเมตรตามหลักการควบคุมทรายด้วยสิ่งกีดขวาง ในที่สุดทรายเคลื่อนที่ที่ดุร้ายก็ได้รับการควบคุมให้มีความมั่นคง และร้อยละ 90 ของกล้าไม้รอดชีวิต

‘สือ กวงหยิน’ ผู้ได้รับ ‘เหรียญเกียรติยศ  1 กรกฎา’ :  ต้นแบบงานจัดการทรายและปลูกป่า_fororder_石光银在自己最早治理的“狼窝沙”林地里

ปลูกป่าตลอดชีวิต สร้างความสุขแก่ท้องถิ่น

ทุกวันนี้ "ทรายรังหมาป่า" ได้กลายเป็นแนวป้องกันทางระบบนิเวศที่มั่นคงในขอบทะเลทรายเหมาอูซู เป็นเวลากว่า 30 ปีที่สือ กวงหยินปลูกต้นไม้มากกว่า 53 ล้านต้น(พุ่ม) บนผืนทรายว่างเปล่าและพื้นที่ดินด่างกว่า 250,000 โหม่ว(ราว 104,167 ไร่) โดยมีพื้นที่ปลูกป่าซ้ำถึง 350,000 โหม่ว(ราว  145,833 ไร่) ได้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ "ทรายรุกคืบ คนล่าถอย" อย่างสิ้นเชิง

การควบคุมทรายให้คงที่ได้กลายเป็นหัวข้อที่มีมาช้านาน การฟื้นฟูระบบนิเวศได้กลายเป็นความฝันนิรันดร์ของสือ กวงหยิน

หลังเข้าสู่ศตวรรษใหม่ สือ กวงหยินตระหนักว่าไม้พุ่มที่ปลูกในปีก่อนๆนั้นมีอายุสั้น มูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำ คุณค่าทางภูมิทัศน์ก็ไม่ดี ผลประโยชน์ทางระบบนิเวศและเศรษฐกิจของการปลูกป่าอย่างหยาบๆนั้นไม่เด่นชัดเพียงพอ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าที่ให้ผลผลิตต่ำกลายเป็นแผนงานใหม่ของเขา หลังผ่านการปรับปรุงพืชพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ต้นไม้คุณภาพสูงซึ่งมีต้นสนเป็นหลักมีมากกว่า 1 ล้านต้นแล้ว “เมื่อประโยชน์ทางระบบนิเวศของป่าไม้ดี ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจก็จะดีขึ้นตาม การสร้างความร่ำรวยไม่เพียงเป็นแค่คำพูดลอยๆ  อีกต่อไป”  สือ กวงหยินกล่าว

ปัจจุบันบริษัทบริหารจัดการทะเลทรายที่ตั้งชื่อตามชื่อของสือ กวงหยิน ยังคงแสวงหาหนทางพัฒนาเศรษฐกิจใต้ผืนป่าต่อไป ได้หลอมรวมการบริหารจัดการทรายกับการสร้างความมั่งคั่งเข้าด้วยกันอย่างใกล้ชิดตามยุทธศาสตร์การพัฒนา "บริหารจัดการผืนทรายว่างเปล่า พัฒนาและใช้ประโยชน์จากผืนทราย"  และเดินหนทาง "บริษัท + ครัวเรือนชาวบ้าน + ฐานพัฒนาเศรษฐกิจ" ภายใต้การนำของสือ กวงหยิน มีโครงการด้านเศรษฐกิจเกิดขึ้นในท้องถิ่นมากกว่า 10 รายการ เช่น ฟาร์มสาธิตการเลี้ยงโคเนื้อร้อยตัว โรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ที่ปลอดภัย 3,000 ตัน ฐานเพาะกล้าต้นสนหนึ่งพันโหม่ว ฐานเพาะพันธุ์มันฝรั่งปลอดสารพิษหนึ่งพันโหม่ว ฐานปลูกพริกหนึ่งพันโหม่วและป่านิเวศ 50,000 โหม่ว เป็นต้น สร้างผลประโยชน์ครอบคลุมกว่า 1,000 ครัวเรือนในชนบท ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของประชาชนในพื้นที่ผืนทรายเกิน 10,000 หยวน

‘สือ กวงหยิน’ ผู้ได้รับ ‘เหรียญเกียรติยศ  1 กรกฎา’ :  ต้นแบบงานจัดการทรายและปลูกป่า_fororder_石光银(左)在自己公司下辖的马铃薯良种繁育基地里查看马铃薯苗的栽种情况

“การปลูกต้นไม้ก็เหมือนกับการเลี้ยงลูกหลาน ต้องใช้ความประณีตอย่างระมัดระวังจึงจะมีผลลัพธ์ที่ดี” ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ สือ กวงหยินค่อยๆ ถ่ายทอดประสบการณ์ปลูกป่าของเขาให้กับสือ เจี้ยนหยาง ผู้เป็นหลานชาย  บทเรียนที่สั่งสมมากว่าครึ่งชีวิตของเขากลายเป็น "มรดกตกทอด" สู่หลานชายของเขาในการศึกษาความรู้ด้านป่าไม้ สือ เจี้ยนหยางซึ่งมีอายุ 25 ปีได้เลือกเรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีป่าไม้ภายหลังจบจากโรงเรียนมัธยมปลาย และได้เติบโตขึ้นเป็นผู้บริหารจัดการทรายรุ่นที่สามที่เข้าใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการป่าไม้

YIM/LU

ลิขสิทธิ์เป็นของ China Face

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

陆永江