บทวิเคราะห์ : มติสหรัฐฯ สนับสนุนไต้หวันเป็นเพียงความบันเทิงส่วนตัว

2021-07-31 17:04:23 | CMG
Share with:

เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของวุฒิสภาสหรัฐฯ ผ่านร่างมติเกี่ยวข้องกับไต้หวัน เรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศกำหนดนโยบายเพื่อช่วยเหลือไต้หวันในการ "ฟื้นฟูสถานะผู้สังเกตการณ์ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก" นี่เป็นความพยายามในปฏิบัติการใหม่ของชาวอเมริกันบางคนที่จะใช้โรคระบาดแทรกแซงกิจการภายในของจีน ซึ่งละเมิดข้อกำหนดในแถลงการณ์ร่วมจีน-สหรัฐฯ ทั้งสามฉบับ รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศและบรรทัดฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง จีนจึงคัดค้านอย่างหนักแน่น

เช่นเดียวกับที่ผ่านมา สหรัฐฯ ร่วมกับไต้หวัน เล่นไพ่การระบาดเพื่อให้การสนับสนุนแก่กัน ซึ่งจะไม่แสดงบทบาทใด ๆ  ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลกนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักการจีนเดียว ทั้งนี้เป็นหลักการพื้นฐานที่ยืนยันโดยมติ 2758 ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และมติ 25.1 ของสมัชชาองค์การอนามัยโลก ตั้งแต่ปี 2009 - 2016 ไต้หวันเข้าร่วมการประชุม WHO ในนาม "จีนไทเป" และในฐานะผู้สังเกตการณ์ ซึ่งเป็นการจัดการพิเศษผ่านการปรึกษาหารือบนพื้นฐานของ "ฉันทามติ 1992" ที่ทั้งสองฝ่ายบนช่องแคบไต้หวันยึดมั่นในหลักการประเทศจีนเดียว แต่นับตั้งแต่พรรคหมินจิ้นแห่งไต้หวันทำหน้าที่บริหารปกครองใน ค.ศ. 2016 เป็นต้นมา ก็ได้ปฏิเสธ "ฉันทามติ 1992" และยืนกรานให้ไต้หวันเป็นเอกราช จึงไม่มีพื้นฐานทางการเมืองสำหรับการเข้าร่วมประชุม WHO ของไต้หวันอีก

เพราะฉะนั้น ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา องค์การอนามัยโลกจึงปฏิเสธญัตติเกี่ยวกับการ “เชิญไต้หวันเข้าร่วมองค์การอนามัยโลกในฐานะผู้สังเกตการณ์” ทั้งนี้ แสดงว่าหลักการจีนเดียวเป็นฉันทามติสากล ซึ่งจะท้าทายไม่ได้

ประเด็นไต้หวันเกี่ยวพันถึงผลประโยชน์สำคัญของจีน หากมีการท้าทายยั่วยุจีนมีสิทธิ์ยับยั้งโดยใช้มาตรการทุกประการ

Tim/LR/Zhou

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

刘榕