“ผู้สูงวัยจีน”30 กว่าคนรวมพลัง“ทำเรื่องใหญ่แห่งชีวิต”

2021-08-11 17:36:09 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

ในคอนโดหมู่บ้านใหม่โหยวเตี้ยน เขตสู่ซาน เมืองเหอเฝย มณฑลอันฮุย ตั้งแต่เมื่อ ค.ศ. 2001 ผู้สูงวัยกลุ่มหนึ่งทยอยลงนามหนังสือสมัครใจบริจาคร่างกาย โดยหวังว่าสามารถอุทิศตนเพื่อสังคมในวาระสุดท้ายของชีวิตด้วย

“ผู้สูงวัยจีน” 30 กว่าคนรวมพลัง “ทำเรื่องใหญ่แห่งชีวิต”_fororder_02010811-1

คุณปู่อู๋ หรงคุน วัย 83 ปี สมัครเป็นผู้บริจาคร่างกายเมื่อปี 2006 ตอนนี้เป็นผู้ประสานงานกลุ่มผู้อุทิศร่างกายหลังถึงแก่กรรมของหมู่บ้านใหม่โหยวเตี้ยน ในรายชื่อที่เขารวบรวมไว้นั้น เวลาที่ร่วมบริจาคแรกสุดคือเมื่อปี 2001 ส่วนเวลาที่เพิ่งเข้าร่วมล่าสุดเป็นวันที่ 1 กรกฎาคมปีนี้ ในบรรดาผู้บริจาคร่างกายนี้ มีสามีภรรยาหลายคู่ อายุมากที่สุดอยู่ที่ 92 ปี อายุน้อยที่สุดก็มากกว่า 50 ปี และมี 4 ท่านได้บริจาคร่างกายเรียบร้อยหลังถึงแก่กรรมแล้ว

กลุ่มผู้สูงวัยไม่เพียงแต่กลายเป็นผู้สมัครใจบริจาคร่างกาย หากได้จัดตั้งชมรมรวมน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พยายามนำพาคนอื่นเข้าร่วมทีมของพวกเขา อู๋ หรงคุนกลายเป็นผู้นำกลุ่ม

คุณย่าหม่า อี้ซิง วัย 91 ปี ขาไม่ดี ดังนั้น อู๋ หรงคุน วัย 83 ปี ได้ช่วยเธอซื้อผักทุกเช้า ในกลุ่มผู้สมัครใจบริจาคร่างกายนี้ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันกลายเป็นนิสัยของทุกคน กลุ่มผู้สูงวัยจากเพื่อนบ้านธรรมดากลายเป็นเพื่อนที่สนิทและออกไปท่องเที่ยวด้วยกัน อีกทั้งยังตกลงช่วยเหลือดูแลกันและกัน เพื่อลดภาระหน้าที่แก่ลูกหลาน

การบริจาคร่างกายสำคัญต่อการศึกษาทางกายวิภาคและการปลูกถ่ายอวัยวะ แต่ในจีน ยังมีคนจำนวนมากที่ยังรับไม่ได้กับความคิดนี้ การฝังศพครบทั้งร่างเป็นแนวคิดดั้งเดิมที่ยังฝังใจชาวจีนหลายคน คนมากมายยืนหยัดว่า ผมและผิวหนังของร่ายกายต้องรักษาไม่อาจทำลาย โดยแนวคิดดั้งเดิมแบบนี้ได้จำกัดจำนวนการบริจาคอวัยวะและร่างกายในประเทศจีน

“ผู้สูงวัยจีน” 30 กว่าคนรวมพลัง “ทำเรื่องใหญ่แห่งชีวิต”_fororder_02010811-3

เมื่อปี 2009 คุณปู่เฉิน ชิงซิ่ว สามีของคุณย่าจู ซิ่วฟาง ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ทั้งสองคนปรึกษากันแล้วตัดสินใจที่จะบริจาคร่างกาย แต่ถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากลูกสาวสองคน จู ซิ่วฟางกล่าวว่า คุณหมอบอกแล้วว่าโรคนี้รักษาไม่ได้ จึงตัดสินใจที่จะบริจาคร่าง เพราะเห็นว่าเมื่อบริจาคแล้วแพทย์สามารถนำสมองไปศึกษาวิจัย สร้างคุณูปการให้กับการแพทย์ได้ แต่ลูกสาวกล่าวว่า ทำอย่างนี้ได้อย่างไร คุณพ่อเป็นอย่างนี้แล้ว ยังจะร่างท่านให้คนอื่นอีก ร้องไห้ฟูมฟายและหาคนมาโน้มน้าวฉันให้เปลี่ยนใจ แต่ฉันยืนกรานว่าไม่เพียงบริจาคร่างคุณพ่อเธอ ร่างฉันก็จะบริจาคด้วย

การยืนหยัดของสามีภรรยาผู้สูงวัยสองท่านนี้ทำให้ลูกสาวจำนนในที่สุด เมื่อปี 2013 เมื่อสามีของจู ซิ่วฟางถึงแก่กรรมแล้ว ร่ายกายของเขาได้บริจาคให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อันฮุย แต่เรื่องนี้ยังทำให้คนจำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจเป็นอย่างยิ่ง

“ผู้สูงวัยจีน” 30 กว่าคนรวมพลัง “ทำเรื่องใหญ่แห่งชีวิต”_fororder_02010811-2

เมื่อเผชิญกับความไม่เข้าใจนานัปการ กลุ่มผู้สูงวัยตกลงว่า ต้องทำให้คนอื่นรับรู้ความสำคัญของการบริจาคร่าง อู๋ หรงคุนพาทุกคนร่วมเขียนหนังสืออธิบายแนะนำ และลงมือทำเอกสารประชาสัมพันธ์ด้วยตนเอง อีกทั้งนัดกันไปเผยแพร่ให้ความรู้ความเข้าใจในคอนโดรอบข้างอยู่เสมอ

ปีแรกๆ พวกเขาเจออุปสรรคไม่น้อย แต่กลุ่มผู้สูงวัยเหล่านี้ไม่ละความพยายาม ใช้ความจริงใจและมุ่งมั่นต่อไป จนเจอเพื่อนที่มีอุดมการณ์ตรงกันในที่สุด และทำให้คนที่อยู่รอบตัวเริ่มยอมรับแนวคิดบริจาคร่ายกาย

ตามสถิติของศูนย์บริจาคร่างกายแห่งสภากาชาดมณฑลอันฮุย เมื่อราวๆปี 2000 มณฑลอันฮุยที่ได้รับการบริจาคร่างกายมีเพียงหลักหน่วยต่อปี แต่เมื่อถึงปีที่แล้วมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง สถาบันการแพทย์ประเภทต่างๆของอันฮุยได้รับการบริจาคร่างกายมากกว่า 100 ร่าง

“ผู้สูงวัยจีน” 30 กว่าคนรวมพลัง “ทำเรื่องใหญ่แห่งชีวิต”_fororder_02010811-4

(Yim/Cui/Patt)

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

崔沂蒙