บทวิเคราะห์ : มองการพัฒนาภารกิจผู้พิการของจีนจากงานกีฬาพาราลิมปิก

2021-09-07 09:18:55 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์ – มองการพัฒนาภารกิจผู้พิการของจีนจากงานกีฬาพาราลิมปิก_fororder_下载 (1)

ในงานกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 16 ที่สิ้นสุดลงที่กรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา  ทัพนักกีฬาจีนได้รับเหรียญรางวัลทั้งสิ้น 207 เหรียญ  โดยจำนวนเหรียญทองและเหรียญรางวัลของทัพนักกีฬาจีนล้วนเป็นอันดับ 1 ในงานกีฬาพาราลิมปิกอย่างติดต่อกันเป็นครั้งที่ 5  ผลงานที่น่าภาคภูมิใจดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างมีคุณภาพของภารกิจด้านผู้พิการของจีน

ย้อนไปเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1984  จีนได้เข้าร่วมงานกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อนเป็นครั้งแรก  คราวนั้นทัพนักกีฬาจีนมีจำนวน 24 คนเท่านั้น  แต่ในงานกีฬาพาราลิมปิกครั้งนี้  ทัพนักกีฬาจีนมีจำนวนถึง 251 คน  โดยได้เข้าร่วมการแข่งขันต่าง ๆ  341 รายการใน 20 ประเภทใหญ่  วัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมการแข่งขันของงานกีฬาพาราลิมปิกของบรรดานักกีฬาผู้พิการจีนไม่เพียงแต่เพื่อได้รับเหรียญรางวัลเท่านั้น  ที่สำคัญกว่านั้นคือ  เพื่อพิชิตตนเองและพัฒนาก้าวหน้าอีก

นี่เป็นครั้งที่ 5 ที่นายจาง เหยียน นักกีฬาปิงปองวัย 54 ปีได้เข้าร่วมงานกีฬาพาราลิมปิก  ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของการแข่งขันปิงปองประเภททีมชาย  เขากับเพื่อนร่วมทีมเอาชนะทีมเกาหลีใต้คว้าเหรียญทองมาครองได้สำเร็จ  หลังการแข่งขัน  เขาระบุว่า  “ตอนวัยหนุ่ม  ผมคิดแต่เรื่องเดียว  นั่นก็คือคว้าเหรียญทองมาครอง  แต่ปัจจุบัน  ผมให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนตลอดการแข่งขันมากกว่า  เพลิดเพลินกับความมั่นใจและความสุขที่ได้มาจากการแข่งขันปิงปองมากกว่า”

มีผู้พิการหลาย ๆ คนได้เปลี่ยนชะตากรรมเนื่องจากเล่นกีฬา  นางสาวหลี่ ลู่ วัย 27 ปีมาจากครอบครัวเกษตรกรมณฑลเหอหนัน    มีอยู่ครั้งหนึ่ง  ตอน 4 ขวบ  เธอเล่นกับเพื่อน ๆ   แต่เผลอไปโดนหม้อแปลงไฟฟ้าในโรงงานเผาเครื่องเคลือบของหมู่บ้าน  เป็นเหตุให้เธอต้องสูญเสียแขนซ้ายและกลายเป็นเด็กพิการ  อย่างไรก็ตาม  หลี่ ลู่ชอบวิ่ง  ถึงแม้ว่าพิการแขน  แต่เธอก็วิ่งเร็วกว่าเด็กอื่น ๆ   ตอนที่เรียนป.6    เธอถูกคัดเลือกเป็นนักกีฬาวิ่งระยะสั้น  ตั้งแต่นั้นมา  การวิ่งช่วยให้เด็กหญิงชนบทคนนี้ได้มีโอกาสสัมผัสโลกภายนอก  เธอได้เป็นแชมป์เอเชีย  และแชมป์โลก  อีกทั้งได้รับเหรียญทองของงานกีฬาพาราลิมปิกริโอเดอจาเนโรประจำปี 2016  ในการแข่งขันวิ่ง 400 เมตรหญิงกลุ่ม T47  ของงานกีฬาพาราลิมปิกครั้งนี้  เธอได้อันดับ 4

สำหรับนายเหลียง กุ้ยหวา  นักกีฬาปั่นจักรยาน วัย 37 ปี  ได้รับเหรียญทองแดงในงานกีฬาพาราลิมปิกโตเกียวครั้งนี้  นี่เป็นเหรียญรางวัลที่ 5 ที่เขาได้รับจากงานกีฬาพาราลิมปิก 3 ครั้งที่ผ่านมา  อุบัติเหตุครั้งหนึ่งในวัยเด็ก  ทำให้นายเหลียง กุ้ยหวา สูญเสียขาด้านหนึ่ง  แต่เขาไม่ยอมจำนนต่อชะตากรรม  โดยมุ่งมั่นอยู่ปรองดองกันกับร่างกายที่พิการ  เขาเลือกการฝึกปั่นจักรยานด้วยขาข้างเดียว  และสร้างผลงานด้วยความเร็วการปั่นจักรยาน  เพื่อให้ผู้คนทั้งหลายเปลี่ยนท่าทีต่อผู้พิการ   เขากล่าวว่า  ถึงแม้ว่าผมมีขาเพียงข้างเดียว  แต่ผมเหมือนกับคนสมบูรณ์ที่สามารถยืนขึ้นอย่างมั่นคงและเข้มแข็ง

ส่วนนายเจิ้ง เทา นักกีฬาว่ายน้ำจากมณฑลหยุนหนาน ได้สูญเสียแขนทั้งคู่เนื่องจากถูกไฟฟ้าช็อตในวัยเด็ก    ซึ่งในการแข่งขันว่ายน้ำของงานมหกรรมพาราลิมปิกครั้งนี้  เขาได้ทำลายสถิติของการแข่งขันว่ายน้ำฟรีสไตล์ 50 เมตรกลุ่ม S5  ด้วยผลงาน 30.31 วินาที  โดยได้รับเหรียญทองเหรียญที่ 4 ของงานกีฬาพาราลิมปิกครั้งนี้  ซึ่งเป็นเหรียญทองที่ 500 ของทัพนักกีฬาจีนจากงานกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน  นายเจิ้ง เทาเล่าให้ฟังว่า  ทีแรก  ผมเลือกการว่ายน้ำเป็นวิธีการออกกำลังกาย  หลังจากได้รับผลงานที่ดีขึ้น  ผมรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ด้อยไปกว่าผู้อื่นเลย 

สำหรับนักกีฬาผู้พิการ  การเล่นกีฬาไม่เพียงแต่เสริมกำลังใจในการดำรงชีวิตเท่านั้น  หากยังช่วยให้พวกเขามีความมั่นใจและศักดิ์ศรีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

บทวิเคราะห์ – มองการพัฒนาภารกิจผู้พิการของจีนจากงานกีฬาพาราลิมปิก_fororder_下载 (2)

สถิติล่าสุดจากการสำรวจสำมะโนครัวพบว่า  ปัจจุบัน  จีนมีผู้พิการกว่า 85 ล้านคน  คิดเป็นประมาณ 6% ของประชากรทั้งหมดของจีน  เป็นเวลานานมาแล้ว  ที่รัฐบาลจีนได้ใช้นโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการคุ้มครองสิทธิผลประโยชน์ของผู้พิการ  เพื่อช่วยให้พวกเขามีความหวังในการดำรงชีวิต  และใช้ความพยายามอย่างไม่ลดละ  จีนประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้พิการเมื่อปี 1991 ปีนี้ครบรอบ 30 ปีเต็ม  ตลอด 30 ปี  ภารกิจผู้พิการของจีนได้ประสบผลสำเร็จอันใหญ่หลวง  สิทธิการดำรงอยู่และสิทธิการพัฒนาของผู้พิการได้รับการคุ้มครองเป็นอย่างดี  ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้พิการได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม  บรรดาผู้พิการได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมอย่างเต็มที่  ทั่วทั้งสังคมจีนมีจิตสำนึกในการช่วยเหลือผู้พิการมากยิ่งขึ้น

หลายปีที่ผ่านมา  พื้นที่ต่าง ๆ ของจีนรณรงค์ให้ความช่วยเหลือผู้พิการจากด้านการศึกษา  วัฒนธรรม  และวิทยาศาสตร์  โดยส่งเสริมให้บรรดานักเรียนนักศึกษารวมทั้งปัญญาชนสมัครใจให้การบริการด้านการศึกษาแก่ผู้พิการและบุตรผู้พิการ  สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเฉพาะที่ประจำอยู่ในชนบทให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่บรรดาผู้พิการ  เพื่อช่วยให้ผู้พิการเสริมทักษะในการใช้ชีวิตและทำงาน  ที่มุ่งสู่ความมั่งคั่งด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นอกจากนี้  สำนักพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งแวดวงสังคมต่าง ๆ พากันบริจาคหนังสือ  นิตยสาร  สิ่งพิมพ์  และผลิตภัณฑ์เสียงและวิดีโอให้แก่บรรดาผู้พิการ  เป็นต้น

ทั้งนี้  วันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นวันคนพิการแห่งชาติของจีน  ทุกปีพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ความรักแก่ผู้พิการ  ซึ่งรวมถึงการประชาสัมพันธ์กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้พิการ  การไปเยี่ยมเยือนครอบครัวผู้พิการ  และอาสาสมัครช่วยเหลือผู้พิการ  เป็นต้น  นอกจากนี้  วันที่ 25 สิงหาคมของทุกปี ยังเป็นวันป้องกันความพิการแห่งชาติของจีน  โดยมุ่งที่จะสร้างจิตสำนึกในการป้องกันความพิการในสังคม  และสร้างสุขภาพแข็งแรงของปวงชน

เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2019  สหพันธ์ผู้พิการจีนร่วมกับคณะกรรมการอนามัยและสุขภาพแห่งชาติจีนได้ร่วมกันตั้งมหาวิทยาลัยเพื่อการฟื้นตัวของผู้พิการขึ้นที่เมืองชิงเต่า  มณฑลซานตง  มหาวิทยาลัยแห่งนี้ถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกเพื่อการฟื้นตัวของผู้พิการทั้งในจีนและในโลก  และเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา  คณะรัฐมนตรีจีนได้ประกาศแผนการพัฒนาและคุ้มครองผู้พิการระหว่างปี 2021-2025  โดยระบุว่า  จะพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อการฟื้นตัวของผู้พิการแห่งนี้ให้เป็นมาหวิทยาลัยสากลที่มีระดับสูง  โดยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภารกิจผู้พิการอย่างมีคุณภาพ

เมื่อเดือนกันยายน ปี 2020  นายสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีนได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมมณฑลหูหนาน  และได้พบปะกับผู้แทนผู้พิการส่วนท้องถิ่น  โดยระบุว่า  การตอบสนองความต้องการของประชาชนที่ใฝ่หาชีวิตความเป็นอยู่อันดีงาม  ต้องคุ้มครองสิทธิผลประโยชน์ของผู้พิการให้ดี  จึงต้องผลักดันภารกิจผู้พิการต่อไป

(Yim/Zhou)

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

周旭