วันที่ 13 และ 14 กันยายน นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เข้าร่วมการประชุมพิจารณาปัญหาการถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถานของรัฐสภา โดยสื่อมวลชนสหรัฐฯระบุก่อนหน้านี้ว่า นายบลิงเคนไม่สามารถหนีความรับผิดชอบในการที่กองทัพสหรัฐฯพ่ายแพ้และต้องถอนออกจากอัฟกานิสถาน คาดว่าระหว่างการพิจารณา เขาจะต้องเจอกับการตรวจสอบที่ดุเดือดมากที่สุด
ในฐานะประเทศที่มีประวัติศาสตร์เพียง 240 กว่าปี สหรัฐฯเคยก่อและเข้าร่วมสงครามมากถึง 200 กว่าครั้ง ซึ่งเพียงช่วงเวลาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบสิ้นลงเมื่อ ค.ศ. 1945 มาถึงปี 2001 ในเหตุการณ์ปะทะด้วยกำลังอาวุธทั้งหมด 248 ครั้งใน 153 ภูมิภาคของโลก เพียงสหรัฐประเทศเดียวได้ก่อเหตุถึง 201 ครั้ง เป็นสัดส่วนประมาณ 81% ซึ่งไม่ต้องสงสัยว่าเป็นประเทศที่ชอบก่อสงครามมากที่สุด เพื่อรักษาอำนาจของตน นักการเมืองมักจะใช้วิธีทางการทหารแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นๆ ประชาสัมพันธ์ค่านิยมแบบอเมริกา ล้มล้างระบอบการปกครองของประเทศอื่น ทำให้การนิยมใช้กำลังอาวุธกลายเป็นลักษณะของอำนาจแบบอเมริกา
ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯยกทัพไปก่อสงครามทั่วโลกด้วยข้ออ้าง “ต่อต้านลัทธิก่อการร้าย” ผู้ประกอบธุรกิจด้านการทหารใช้โอกาสนี้เพิ่มรายได้ เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์กองทุนยุทธศาสตร์และวัฒนธรรมรัสเซียเผยแพร่บทความในหัวข้อ “ใครได้ผลประโยชน์จากสงครามอัฟกานิสถาน” โดยระบุว่า สถาบันศึกษานโยบายทางความมั่นคง ซึ่งเป็นคลังสมองของสหรัฐฯ ประกาศรายชื่อผู้ได้รับประโยชน์จากสงครามอัฟกานิสถานชี้ว่า ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบธุรกิจด้านการทหารรายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้แก่ Lockheed Martin (LMT), General Dynamics, Boeing และ Northrop Grumman ได้ผลประโยชน์เป็นมูลค่า 2.02 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลแสดงว่า เมื่อปี 2020 สหรัฐฯใช้งบประมาณทางทหารมากถึง 778,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 39% ของทั่วโลก ซึ่งได้สนับสนุนให้สหรัฐฯใช้อำนาจก่อสงครามและการปะทะกันในทั่วโลกอย่างไม่หยุดยั้ง
Yim/Chu/Zhou