สถานีอวกาศจีนในยุคมีมนุษย์ประจำการระยะยาว

2021-11-01 09:03:36 | CMG
Share with:

วันที่ 16 ตุลาคม จีนประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศพร้อมนักบิน “เสินโจว-13” ขึ้นสู่อวกาศ เพื่อไปประจำการยังสถานีอวกาศจีนซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่า สถานีอวกาศจีนเริ่มเข้าสู่ยุคที่มีมนุษย์ประจำอยู่ในระยะยาว

โครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ของจีนเริ่มต้นขึ้นในทศวรรษ 1990 ตามยุทธศาสตร์ “3 ย่างก้าว” ปัจจุบันได้เข้าสู่ก้าวที่ 3 กล่าวคือ “การสร้างสถานีอวกาศ โดยจะตอบโจทย์การประยุกต์ใช้ทางอวกาศ โดยมีคนดูแลสถานีอวกาศในระยะยาว” สถานีอวกาศที่โคจรอยู่ใกล้โลกเป็นสถานที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศระยะยาว และเป็นสถานที่ปฏิบัติภารกิจของนักบินอวกาศผู้ดูแลรักษาอุปกรณ์ ซ่อมบำรุง และยืดอายุการใช้งานสถานีอวกาศ กล่าวได้ว่าเป็นฐานที่มั่นในอวกาศ

สถานีอวกาศจีนในยุคมีมนุษย์ประจำการระยะยาว

ก่อนหน้านี้โครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ของจีนเคยท่องอวกาศมาแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่การส่งยานอวกาศพร้อมนักบินขึ้นสู่ห้วงอวกาศ การส่งนักบินขึ้นสู่อวกาศ การปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศ รวมไปถึงการส่งห้องปฏิบัติการขึ้นสู่อวกาศ ด้วยการใช้เทคโนโลยีไป-กลับระหว่างอวกาศ-โลก การออกปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศ การเชื่อมต่อและประกอบเข้าด้วยกันในอวกาศ ซึ่งปูทางสู่การสร้างสถานีอวกาศอย่างสุขุมรอบคอบ

วันที่ 29 เมษายนปีนี้ จีนส่งโมดูลหลัก “เทียนเหอ” ของสถานีอวกาศจีนขึ้นสู่อวกาศจากศูนย์ปล่อยยานอวกาศเหวินชางด้วยความสำเร็จ เป็นนัยแสดงว่า สถานีอวกาศจีนเข้าสู่ช่วง “การก่อสร้าง” ตามการออกแบบ โครงสร้างของสถานีอวกาศประกอบด้วย 3 โมดูล ในส่วนของโมดูลหลัก “เทียนเหอ” มีน้ำหนัก 22.5 ตัน เป็นยานอวกาศขนาดใหญ่ที่สุดของจีนที่ขึ้นสู่อวกาศในขณะนี้ โมดูลหลักนี้เป็นศูนย์บัญชาการ การกำกับดูแลสถานีอวกาศ และเป็นที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศที่จะใช้ชีวิตในอวกาศเป็นเวลานาน

เวลา 00.23 น. วันที่ 16 ตุลาคม 2021 ที่ศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วเฉวียน จีนใช้จรวดขนส่งลองมาร์ช-2F ส่งยานอวกาศพร้อมนักบิน “เสินโจว-13” ขึ้นสู่อวกาศ จากนั้นราว 582 วินาที ยานอวกาศพร้อมนักบิน “เสินโจว-13” ก็แยกตัวออกจากจรวดด้วยความสำเร็จ โดยเข้าสู่วงโคจรที่กำหนดไว้พร้อมพานักบิน 3 คน ได้แก่ จ๋าย จื้อกัง, หวัง ย่าผิง และเย่ กวงฟู่ ขึ้นสู่อวกาศอย่างราบรื่น

สำหรับนักบินอวกาศ 3 คนดังกล่าว จ๋าย จื้อกังเป็นนักบินที่ออกจากยานไปสำรวจอวกาศคนแรกของจีน ขณะที่หวัง ย่าผิงเป็น “ครูผู้สอนในอวกาศ” คนแรกของจีน และเย่ กวงฟู่ เป็นการขึ้นสู่อวกาศครั้งแรก

สถานีอวกาศจีนในยุคมีมนุษย์ประจำการระยะยาว

ทั้งนี้ถือเป็นภารกิจการบินครั้งที่ 21 ของโครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ของจีน ทั้งยังเป็นภารกิจการบินพร้อมนักบินครั้งที่ 2 ในช่วงการสร้างสถานีอวกาศ

เวลา 06.56 น. ยาน “เสินโจว-13” ได้เชื่อมต่อเข้ากับโมดูลหลัก “เทียนเหอ” ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เชื่อมต่อกับยานขนส่ง “เทียนโจว-2” และ “เทียนโจว-3” ทำให้ทั้ง 4 ยานประกอบเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว

ปฏิบัติการเชื่อมต่อครั้งนี้ใช้เวลาราว 6.5 ชั่วโมงด้วยวิธีการเชื่อมต่อแบบ radial direction ถือเป็นครั้งแรกที่ยานอวกาศพร้อมนักบินของจีนทำการเชื่อมต่อแบบดังกล่าวในอวกาศ

สำนักงานโครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ของจีน ระบุว่า หลังยาน “เสินโจว-13” เชื่อมต่อกับโมดูลหลัก “เทียนเหอ” เรียบร้อยแล้ว ทีมลูกเรือได้เข้าสู่โมดูลในวงโคจร ปฏิบัติตามขั้นตอนทุกประการ แล้วจึงเปิดประตูโมดูลหลัก “เทียนเหอ” เวลา 09.58 น. วันเดียวกัน นักบินอวกาศ 3 คนได้เข้าประจำการยังโมดูลหลัก “เทียนเหอ” อย่างราบรื่น โดยเริ่มต้นชีวิตในอวกาศเป็นเวลา 6 เดือน ทั้งนี้สถานีอวกาศจีนได้เปิดรับทีมลูกเรือทีมที่ 2 และนักบินอวกาศหญิงคนแรก

ในช่วงประจำการยังสถานีอวกาศในวงโคจร ทีมลูกเรือดังกล่าวมีหน้าที่ดูแลโมดูลหลัก “เทียนเหอ”, ยานบินอวกาศพร้อมนักบิน “เสินโจว-13”, ยานขนส่ง “เทียนโจว-2” และ “เทียนโจว-3” ที่เป็นหนึ่งเดียวไปพร้อมกัน รวมถึงหน้าที่อื่น ๆ เช่น การทดลอง Bioregenerative life support system (BLSS) การจัดเก็บข้อมูลในวงโคจร การวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชนิด “Human Factors Engineering” แพทยศาสตร์การบินอวกาศ ระบบการประยุกต์ใช้ในอวกาศ และการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการดูแลธุรกรรมต่าง ๆ บนสถานีอวกาศ ทั้งยังจะออกปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศ 2 - 3 ครั้ง เพื่อทำการทดสอบเทคโนโลยีการปฏิบัติภารกิจนอกยานและเทคโนโลยีประกันให้นักบินอวกาศประจำยังสถานีอวกาศในระยะยาว อันเป็นพื้นฐานของการสร้างสถานีอวกาศจีน

สถานีอวกาศจีนในยุคมีมนุษย์ประจำการระยะยาว

“ประจำการในวงโคจร 6 เดือน” เป็นสถิติใหม่ของจีนในการส่งนักบินอวกาศขึ้นไปประจำยังอวกาศ ถือเป็นวิถีปกติในการเข้าประจำการบนสถานีอวกาศสำหรับทีมนักบินอวกาศ ทั้งนี้ห่างจากครั้งแรกที่จีนส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศถึง 18 ปีถ้วน

ย้อนกลับไปวันที่ 16 ตุลาคม 2003 ยานอวกาศพร้อมมนุษย์ “เสินโจว-5” กลับสู่พื้นโลกพร้อม “หยาง ลี่เหว่ย” นักบินอวกาศคนแรกของจีนด้วยความปลอดภัย ทำให้ความฝันของชาวจีนในการบินสู่อวกาศในช่วงสหัสวรรษ (1,000 ปี) กลายเป็นจริงขึ้น

ทางช้างเผือกแสงทองผ่องอำไพ ความใฝ่ฝันไร้ขอบเขต ในขณะที่ “ประจำการในวงโคจรเป็นเวลา 6 เดือน” จะเป็นวิธีปกติในการเข้าประจำการสำหรับทีมนักบินอวกาศ จะทำให้นักบินอวกาศจีนฝันได้อีกไกล จะทำให้ชาวจีนอุทิศกำลังและสติปัญญาเพื่อใช้อวกาศในทางสันติได้มากขึ้น

(TIM/LING/LU)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

陆永江