“พิทักษ์ฉันทามติพหุภาคี” “ลงมือปฏิบัติจริง” “เร่งพัฒนาอุตสากรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” สำหรับปัญหาทำอย่างไรเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน กล่าวปราศรัยผ่านตัวอักษรในที่ประชุมสุดยอดระดับผู้นำของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP 26) และมีข้อเสนอแนะสำคัญ 3 ประการดังกล่าว
ทั้งนี้ นายสี จิ้นผิงได้ชี้แจงถึงหลักการและแนวปฏิบัติของการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกว่า พหุภาคีนิยมเป็นวิถีทางที่ดี ฝ่ายต่างๆควรปฏิบัติตาม “กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” และ “ข้อตกลงปารีส” ควรยืนหยัด “ความรับผิดชอบร่วมกันที่มีความแตกต่างกัน” โดยเฉพาะบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว ขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้มากยิ่งขึ้น ก็ควรให้การสนับสนุนต่อประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อช่วยให้ประเทศเหล่านี้ดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้น อันจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญให้ทั่วโลกรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น จะกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจหรือไม่ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงมีข้อเสนอว่า “ให้เร่งพัฒนาอุตสากรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ใช้การนวัตกรรมของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นพลังขับเคลื่อน ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีรูปแบบสีเขียว ซึ่งข้อเสนอนี้ได้อาศัยแนวโน้มการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนลียีในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นประสบการณ์ผลสำเร็จของจีนที่ดำเนินตามทฤษฎี “น้ำใสภูเขาเขียว ก็คือภูเขาเงินภูเขาทอง”
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้น ทั่วโลกจำต้องร่วมกันลงมือปฏิบัติจริง
(Yim/Zi)