บทวิเคราะห์ : RCEP ใกล้มีผลบังคับใช้สะท้อนลัทธิพหุภาคีไม่อาจหยุดยั้งได้

2021-11-12 08:31:06 | CMG
Share with:

ไม่กี่วันก่อนสำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรดูแลความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ประกาศว่า สมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม รวมทั้งอีก 4 ประเทศที่มิใช่สมาชิกอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น  นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ได้ส่งมอบสัตยาบันสารอย่างเป็นทางการต่อเลขาธิการอาเซียน ซึ่งถึงเกณฑ์ที่ความตกลงจะมีผลใช้บังคับแล้ว ตามข้อตกลง RCEP จะมีผลบังคับใช้ใน 10 ประเทศดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2022

บทวิเคราะห์ : RCEP ใกล้มีผลบังคับใช้สะท้อนลัทธิพหุภาคีไม่อาจหยุดยั้งได้

ความตกลง RCEP มีการลงสัตยาบันอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 15 ประเทศ ซึ่งมีประชากรรวม 2,270 ล้านคน มูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 26 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการส่งออกรวม 5.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งต่างครองสัดส่วนประมาณ 30% ของยอดรวมทั่วโลก เป็นเขตการค้าเสรีใหญ่สุดในโลก ก่อนหน้านี้เนื่องจากปัจจัยลัทธิปัจเจกนิยมและการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจเผชิญกับการทวนกระแส และอื่น ๆ ผู้คนเคยเกิดความกังวลว่า RCEP จะมีผลบังคับใช้ได้อย่างแท้จริงเมื่อไรกันแน่

ภายใต้สถานการณ์โลกที่สลับซับซ้อนในปัจจุบัน การตัดสินใจของ 10 ประเทศสมาชิก RCEP ดังกล่าว สะท้อนถึงการสนับสนุนของประเทศเหล่านี้ที่มีต่อลัทธิพหุภาคี!

เนื่องจากลัทธิพหุภาคีส่งเสริม "การเคารพซึ่งกันและกัน การปรึกษาหารือกันอย่างเสมอภาค การเสริมสร้างความร่วมมือ" รวมทั้งการปฏิบัติตามแนวคิดอำนวยผลประโยชน์แก่กันและได้ชัยชนะร่วมกัน สามารถนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมแก่ทุกฝ่าย จึงไม่มีประเทศใดขัดขวางได้

ความตกลง RCEP มีทั้งหมด 20 บท รวมถึงการค้าสินค้า การค้าภาคบริการ การอนุมัติการลงทุน ตลอดจนกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมอีคอมเมิร์ซ ทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน ฯลฯ

หลังจาก RCEP มีผลบังคับใช้จะกลายเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรเข้าร่วมมากที่สุด มีโครงสร้างสมาชิกหลากหลายที่สุด และมีศักยภาพการพัฒนายิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ระหว่างประเทศสมาชิกจะลดภาษีทันทีตามข้อกำหนดในความตกลง ปฏิบัติตามพันธกรณีการเปิดประเทศด้านการลงทุนภาคบริการ และดำเนินการตามกฎเกณฑ์ในทุกด้านของความตกลง ทั้งนี้ย่อมจะยกระดับบรรยากาศการประกอบธุรกิจโดยรวมในภูมิภาคอย่างมาก ขับเคลื่อนการพัฒนาแบบองค์รวมหนึ่งเดียวของเอเชียตะวันออกอย่างจริงจัง ทั้งยังกระตุ้นการเติบโตทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค โดยมากกว่า 90% ของการค้าสินค้าระหว่างสมาชิกจะเก็บภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ในที่สุด

ด้านการค้าภาคบริการ ระดับการเปิดกว้างของประเทศต่าง ๆ ภายใต้กรอบ RCEP นั้นสูงกว่าข้อตกลงเขตการค้าเสรี "10+1" อย่างเด่นชัด ซึ่งครอบคลุมด้านที่สำคัญหลายด้าน เช่น การเงิน โทรคมนาคม การคมนาคม การท่องเที่ยว การศึกษา ฯลฯ ทั้งยังจะเปลี่ยนเป็นระบบบัญชีรายการต้องห้ามอย่างครอบคลุมภายในเวลา 6 ปี นับจากความตกลงมีผลบังคับใช้ซึ่งจะยกระดับการเปิดกว้างอีกระดับ

ด้านการลงทุน สมาชิกได้ให้คำมั่นสัญญาคุณภาพสูงเกี่ยวกับการลงทุนที่ไม่ใช่ภาคบริการด้วยรูปแบบบัญชีรายการต้องห้าม โดยห้ามการเพิ่มข้อจำกัดใหม่นอกเหนือจากบัญชีรายการต้องห้าม ขณะเดียวกันได้เสริมสร้างระดับการคุ้มครองการลงทุนด้วย ซึ่งเอื้อต่อการขยายการลงทุนระหว่างกันของวิสาหกิจประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค

บทวิเคราะห์ : RCEP ใกล้มีผลบังคับใช้สะท้อนลัทธิพหุภาคีไม่อาจหยุดยั้งได้

รายงานการวิจัยของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD ระบุว่า ภายในปี 2025 ความตกลง RCEP  จะทำให้การส่งออกของ 15 ประเทศสมาชิกเติบโตมากกว่า 10%

นอกจากนี้ RCEP จะเพิ่มความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแก่เขตเศรษฐกิจกำลังพัฒนาและเขตเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุด เพื่อลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างสมาชิกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งเสริมการพัฒนาอย่างสอดประสานและสมดุลในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับประชาชนทั่วไปในประเทศสมาชิก RCEP นั้น สินค้าอุปโภคบริโภคคุณภาพสูงจากประเทศสมาชิก RCEP จะเข้าสู่ตลาดภายในประเทศในอัตราภาษีที่ต่ำลงยิ่งขึ้น ทำให้ประชาชนสามารถซื้อสินค้าคุณภาพสูงได้ในราคาที่ต่ำลง ขณะเดียวกันการไหลเวียนของผู้คนจะมีอิสระมากขึ้น ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวหรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศของทุกคนมีความสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

มีรายงานว่าอีก 5 ประเทศที่ร่วมลงสัตยาบันความตกลง RCEP กำลังเร่งกระบวนการอนุมัติภายในประเทศ โดยต่างแสดงว่าจะเสร็จสิ้นการอนุมัติโดยเร็วที่สุด ตามข้อกำหนดความตกลง RCEP จะมีผลบังคับใช้ต่อทั้ง 5 ประเทศภายใน 60 หลังจากประเทศเหล่านี้เสร็จสิ้นกระบวนการอนุมัติ ส่งมอบสัตยาบันสาร และได้รับการรับรองจากเลขาธิการอาเซียนอย่างเป็นทางการ

นักสังเกตการณ์มองว่า การที่ประเทศสมาชิก RCEP ได้ร่วมกันผลักดันให้ความตกลงมีผลใช้บังคับตามกำหนดนั้น ถือเป็นการส่งสัญญาณอันหนักแน่นต่อภายนอกว่า พวกเขาคัดค้านลัทธิฝ่ายเดียวและลัทธิกีดกันทางการค้า สนับสนุนการค้าเสรีและปกป้องระบบการค้าพหุภาคี ขณะเดียวกันย่อมจะกระตุ้นประเทศสมาชิกให้มีความมุ่งมั่นตั้งใจมากขึ้นในการร่วมมือบรรลุการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วย

Tim/lu

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-04-2567)

  • เกาะกระแสจีน (20-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

陆永江