คืนวันที่ 13 พฤศจิกายนตามเวลาท้องถิ่น การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ที่จัดขึ้นที่เมืองกลาสโกว์ของอังกฤษ ได้บรรลุเอกสารฉันทามติและความรับรู้ร่วมกันเกี่ยวกับกฎการดำเนินการตามข้อตกลงปารีส เอกสารฉันทามติที่ผ่านความเห็นชอบอันมีความหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ มีประเด็นสำคัญ คือ จีนและสหรัฐฯซึ่งเป็นสองประเทศใหญ่ ได้บรรลุความร่วมมือด้านสภาพอากาศ
ปฏิญญาร่วมกลาสโกว์ว่าด้วยการเสริมสร้างการดำเนินการด้านสภาพอากาศระหว่างจีนกับสหรัฐฯในช่วงปี 2020-2029 ที่ทั้งสองฝ่ายออกร่วมกันเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนนั้น ได้กระตุ้นให้มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก
ในฐานะเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก จีนมีคำพูดและการกระทำที่สอดคล้องกันเสมอในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยให้คำมั่นสัญญาที่จะบรรลุการเปลี่ยนแปลงจาก "จุดสูงสุดของคาร์บอน" สู่ "ความเป็นกลางของคาร์บอน" ในเวลาประมาณ 30 ปี หมายความว่าจีนจะลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงสุดในโลกให้สมบูรณ์ได้ โดยใช้เวลาที่สั้นกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่สำคัญอย่างมาก
แต่มีประชาคมโลกยังคงกังวลเกี่ยวกับการกระทำด้านการดำเนินการของสหรัฐฯ นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า ความผันผวนของสหรัฐฯเป็นตัวแปรที่ใหญ่ที่สุดในความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก นิตยสาร The Diplomat ชี้ให้เห็นว่า ประชาคมโลกได้เรียนรู้ที่จะไม่เชื่อถือแถลงการณ์ของทางการสหรัฐฯ ซึ่งใช้กับเป้าหมายการลดการปล่อยมลพิษในปี 2030 และคำมั่นสภาพอากาศล่าสุด
ความกังวลของประชาคมโลกนั้นมีความสมเหตุสมผล ในสหรัฐฯนโยบายสภาพภูมิอากาศไม่ใช่ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นปัญหาเกมการเมืองระหว่างทั้งสองพรรค คราวนี้สหรัฐฯจะสามารถทำตามสัญญาได้หรือไม่
การกระทำสำคัญกว่าคำพูด สหรัฐฯไม่ควรทำให้โลกผิดหวังอีกในครั้งนี้ สิ่งสำคัญคือสหรัฐฯจำเป็นต้องรู้ว่าการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาไม่ใช่ทำการกุศล แต่เป็นการชำระหนี้ของตัวเองในประวัติศาสตร์ หากไม่มีการนำไปปฏิบัติ มีคำสัญญาที่มากแค่ไหน ความเชื่อมั่นลำพองใจใดๆ ก็กลายเป็นว่างเปล่า ขณะนี้โลกต้องการการกระทำที่แท้จริง สหรัฐฯจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างแท้จริง
Yim/kt/cui