สาเหตุที่จีนยังคงยืนหยัดนโยบาย“โควิดเป็นศูนย์ ”อย่างต่อเนื่อง (ตอนต้น)

2021-12-13 10:19:37 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

ปัจจุบันการระบาดของโควิด-19 ยังคงรุนแรงทั่วโลก แต่ประเทศส่วนใหญ่ได้ทยอยผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโดยเลือกแนวทาง “อยู่ร่วมกับโควิด-19” แบบวิถีปกติใหม่ เพื่อเปิดประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่จีนยังคงเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังคงยืนหยัดนโยบายจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตาซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวสหรัฐประจำประเทศจีนเคยลุกขึ้นถามในที่ประชุมแถลงข่าวสถานการณ์โควิดโดยเฉพาะซึ่งจัดขึ้นโดยกลไกร่วมป้องกันและควบคุมโควิด-19 แห่งคณะรัฐมนตรีจีนเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่า “นโยบายจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นศูนย์ของจีนได้ยับยั้งการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพแต่สร้างความไม่สะดวกต่อการเดินทางของผู้คน และยังจำกัดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง ภายใต้มาตรฐานและเงื่อนไขใดจีนถึงจะเลิกใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์?”

คำถามนี้ตรงกับมุมมองของนักวิเคราะห์ของสื่อมวลชนต่างประเทศหลายสำนักซึ่งมองว่า “การยืนหยัดจัดการให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดเป็นศูนย์นั้นมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป และการควบคุมอย่างเข้มงวดจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ”

เกี่ยวกับประเด็นนี้ จง หนานซาน สมาชิกสภาวิศวกรรมศาสตร์แห่งชาติจีน และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเวชศาสตร์คลินิกโรคระบบทางเดินหายใจแห่งชาติจีน ผู้ได้รับ "อิสริยาภรณ์สาธารณรัฐ" ในพิธีมอบรางวัลบุคคลตัวอย่างการต้านโควิด-19 ซึ่งเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในปัจจุบันของจีนให้ความเห็นว่า  "จีนได้ใช้นโยบาย'การติดเชื้อเป็นศูนย์'และนโยบาย'การแพร่เชื้อเป็นศูนย์'อย่างต่อเนื่อง ซึ่งดูเหมือนว่าต้องทุ่มเทเป็นอย่างมากในระยะแรก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับนโยบาย 'ป่วยแล้วค่อยรักษาทีหลัง' ของบางประเทศ ในความเป็นจริงแล้วต้นทุนกลับถูกกว่ามาก" 

สาเหตุที่จีนยังคงยืนหยัดนโยบาย“โควิดเป็นศูนย์ ”อย่างต่อเนื่อง (ตอนต้น)

ทำไมจง หนานซานถึงพูดอย่างนั้น? ระหว่าง “โควิดเป็นศูนย์” กับ “อยู่ร่วมกับโควิด-19” แนวทางไหนคุ้มค่ากว่ากัน เราลองทำการเปรียบเทียบและคำนวณดู

"โควิดเป็นศูนย์" เป็นมาตรการที่สร้างประสิทธิผลด้านสุขภาพของประชาชนในระดับสูงสุดด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำ

ในแง่ต้นทุนด้านสุขภาพ นับถึงปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 250 ล้านราย และผู้เสียชีวิตรวมมากกว่า 5  ล้านราย  อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับสูงกว่า 2%

โดยเฉพาะสหรัฐเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตสะสมมากที่สุด  ตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากกว่า 49 ล้านคน และมากกว่า 780,000 ราย ตามลำดับ

เดือนกรกฎาคมปีนี้รัฐบาลอังกฤษยืนยันที่จะยกเลิกมาตรการป้องกันโควิดโดยไม่คำนึงถึงการร่วมลงนามคัดค้านของผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 1,400 คนจากทั่วโลก แต่ผลลัพธ์คือ เพียงวันที่ 3 พฤศจิกายนวันเดียว อังกฤษมีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 40,000 ราย และมีผู้เสียชีวิต 217 ราย ซึ่งนับเป็นอัตราการติดเชื้อที่สูงมากอีกครั้งนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2020

ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีนี้ สิงคโปร์เริ่มปรับเปลี่ยนกลยุทธ์จาก “โควิดเป็นศูนย์”โดยประกาศว่าจะ “อยู่ร่วมกับโควิด-19”  แต่ภายในหนึ่งเดือนหลังจากนั้น สิงคโปร์พบผู้ติดเชื้อมากกว่าจำนวนทั้งหมดก่อนหน้านั้น และจำนวนผู้เสียชีวิตก็เพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าด้วย

สาเหตุที่จีนยังคงยืนหยัดนโยบาย“โควิดเป็นศูนย์ ”อย่างต่อเนื่อง (ตอนต้น)

ประเทศจีนยืนหยัดใช้มาตรการป้องกันควบคุมโควิด-19 อย่างเข้มงวดมาโดยตลอด เมื่อวันที่ 26 เมษายนปี 2020 จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลของเมืองอู่ฮั่นเป็นศูนย์ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมปีเดียวกัน ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแผ่นดินใหญ่ของจีนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19  ตั้งแต่นั้นมา แม้ว่าจีนได้เกิดการระบาดแบบประปรายอีกหลายระลอก แต่แทบไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตอีกเลย

ศาสตราจารย์เจียง ชิ่งอู่ จากสถาบันสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟู่ตันกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “หากพิจารณาจากภาคปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและผลลัพธ์ นโยบาย'โควิดเป็นศูนย์' ช่วยให้เราสามารถใช้ต้นทุนต่ำที่แบกรับได้เพื่อแลกมาซึ่งสุขภาพของประชาชนและอัตราการตายที่ต่ำของผู้ป่วยโควิด-19 นี่คือการแสวงหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา เพราะสุขภาพคือประโยชน์สูงสุด"

เมื่อเร็วๆ นี้ อู๋ เหลียงโหย่ว รองอธิบดีกรมควบคุมโรคของคณะกรรมการสุขภาพและสาธารณสุขแห่งชาติจีนได้ยืนยันหลายครั้งถึงนโยบายควบคุมโควิดอย่างเข้มข้นของจีน เขากล่าวว่าปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในประเทศเพื่อนบ้านของจีน ยังขึ้น ๆ ลง ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก และจำนวนผู้ป่วยยังคงอยู่ในระดับสูง สถานการณ์การป้องกันและควบคุมโควิด-19 ในฤดูหนาวปีนี้และฤดูใบไม้ผลิปีหน้านั้นมีความสลับซับซ้อนและหนักหน่วง จีนจะยังคงยืนหยัดดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด เสริมสร้างกำแพงที่เข้มแข็งในการ “ป้องกันเชื้อโควิดเข้ามาจากต่างประเทศ และป้องกันโควิดกลับมาระบาดใหม่ภายในประเทศ" เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลสำเร็จที่ได้มาด้วยความยากลำบาก

อู๋ เหลียงโหย่วกล่าวเสริมว่านโยบายป้องกันควบคุมโควิดใช่ว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่จีนจะไม่เลือกเดิมพันด้วยความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนเพื่อหวังผลประโยชน์ระยะสั้นเป็นอันขาด ควบคู่ไปกับการเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจต่างๆ ข้อเท็จจริงได้พิสูจน์ด้วยว่านโยบายผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ที่แม่นยำและถูกหลักวิทยาศาสตร์นั้น ไม่เพียงแต่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าเท่านั้น หากยังสามารถทำให้เกิด "ดอกผลกำไรจากนโยบายผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์" ที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจได้อีกด้วย

BO/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (24-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)

晏梓