ไชน่า มีเดีย กรุ๊ป (China Media Group) จัดอันดับ 10 ข่าวต่างประเทศในรอบปี 2021

2021-12-28 17:01:45 | CMG
Share with:

ไชน่า มีเดีย กรุ๊ป (China Media Group) จัดอันดับ 10 ข่าวต่างประเทศในรอบปี 2021

1.จีนเสนอข้อริเริ่มการพัฒนาระดับโลก 

ปี 2021 เป็นปีครบรอบ 50 ปี ที่จีนกลับคืนที่นั่งในองค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนกันยายน นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนได้เสนอข้อริเริ่มการพัฒนาระดับโลก ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมัยที่ 76 ผ่านระบบทางไกล  โดยข้อริเริ่มดังกล่าวมีใจความดังนี้ คือ ต้องมุ่งมั่นในการพัฒนาก่อนสิ่งอื่นใด  ,  ต้องถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง , ต้องให้ประโยชน์จากการพัฒนาที่มีความครอบคลุม และให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกัน ,  ต้องยึดมั่นในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยนวัตกรรม , ต้องยืนหยัดในการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ  , และต้องเน้นการปฏิบัติ 

ไชน่า มีเดีย กรุ๊ป (China Media Group) จัดอันดับ 10 ข่าวต่างประเทศในรอบปี 2021

2.โควิด-19 ที่ยังคงระบาดทั่วโลก  การแบ่งปันวัคซีนอย่างไม่เป็นธรรม และการทำให้การค้นหาแหล่งที่มาของไวรัสกลายเป็นประเด็นการเมืองนั้นเป็นการขัดขวางการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด-19

3.จีนและรัสเซียขยายเวลาสนธิสัญญาความร่วมมือฉันท์มิตรประเทศเพื่อนบ้าน  ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศกลายเป็นแบบอย่างแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขนาดใหญ่ในศตวรรษ 21

วันที่ 19 พฤษภาคม นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน และนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดตัวโครงการความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์  และเมื่อวันที่  28 มิถุนายน  ผู้นำทั้งสองประเทศร่วมกันประกาศว่า ขยายเวลาสนธิสัญญาความร่วมมือฉันท์มิตรประเทศเพื่อนบ้านระหว่างจีน-รัสเซีย  

และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ผู้นำทั้งสองประเทศจัดการประชุมผ่านระบบทางไกล  โดยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระดับลึกซึ้งเกี่ยวกับความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม การประสานยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ และประเด็นสำคัญอื่นๆ  อีกทั้งได้บรรลุฉันทามติในขอบเขตอันกว้างขวาง  

4.  อัฟกานิสถานมีทั้งความท้าทายและโอกาสหลังสหรัฐฯ ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานอย่างชุลมุน   

เมื่อปลายเดือนสิงหาคม สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานอย่างกระทันหัน  สงครามอัฟกานิสถานที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลา  20 ปี ซึ่งต้นตอมาจากสหรัฐฯได้สิ้นสุดลง  

ช่วง  20 ปีที่ผ่านมา  มีประชาชนชาวอัฟกานิสถานมากกว่า 100,000 คน เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากการใช้ปฏิบัติการทางทหารของกองกำลังต่างชาติ  อีกทั้งยังมีประชาชนที่ต้องพลัดถิ่นหลายสิบล้านคน  แต่สหรัฐฯ ล้มเหลวในการปราบปรามการก่อการร้าย หรือปลูกฝังรูปแบบการปกครองแบบตะวันตกในอัฟกานิสถาน ทั้งหมดนี้ทำให้อัฟกานิสถานมีสถานการณ์ด้านความมั่นคงที่ถดถอย  เศรษฐกิจที่ไม่มีเสถียรภาพ และวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่เพิ่มสูงขึ้น  

5. เศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปเผชิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ขณะที่การค้าต่างประเทศของจีนขยายตัวติดต่อกันเป็นเวลา 18 เดือน และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

6.รัสเซียขีด “เส้นแดง” กับสหรัฐฯ และ นาโต เรียกร้องสหรัฐฯและนาโตให้หลักประกันด้านความมั่นคงทางกฎหมาย 

ปี 2021 สหรัฐฯ และประเทศตะวันตกอื่นๆ  รวมทั้งองค์การนาโตได้กดดันรัสเซีย ทำให้ความสัมพันธ์ในภูมิภาคทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น 

ในเดือนเมษายนปี 2021  นายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวเน้นระหว่างแถลงนโยบายแห่งชาติว่า หากชาติตะวันตกข้าม “เส้นแดง”ในการจัดการความสัมพันธ์กับรัสเซีย   รัสเซียจะใช้มาตรการตอบโต้อย่างรวดเร็วและจริงจัง  

ในวันที่ 10 ธันวาคม  กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียออกแถลงการณ์ โดยเรียกร้องให้สหรัฐฯและนาโตให้หลักประกันด้านความมั่นคงทางกฎหมาย  อีกทั้งยังต้องขจัดความเป็นไปได้ที่นาโตจะขยายขอบเขตพื้นที่สู่ตะวันออกอีก และจัดวางระบบอาวุธที่เป็นภัยคุกคามต่อรัสเซียในเขตพรมแดนตะวันตกของรัสเซีย  

ไชน่า มีเดีย กรุ๊ป (China Media Group) จัดอันดับ 10 ข่าวต่างประเทศในรอบปี 2021

7.เกิดเหตุการณ์จลาจลในอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ  ประชาธิปไตยในรูปแบบของสหรัฐฯล้มเหลว 

วันที่ 6 มกราคม ชาวสหรัฐฯจำนวนมากได้บุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย และบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน  ถือเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงที่ร้ายแรงที่สุดในสถาบันของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 1814 เป็นต้นมา   

เหตุการณ์จลาจลในอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ ในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึง “ประชาธิปไตยจอมปลอมในรูปแบบของสหรัฐฯ”    ทำให้ “ประชาธิปไตยแบบสหรัฐฯ” ขาดความน่าเชื่อถือมากขึ้น 

8. ข้อตกลงความร่วมมือทางทหารที่มีชื่อเรียกว่า “AUKUS” ระหว่างสหรัฐ อังกฤษ และออสเตรเลียส่งผลกระทบต่อสนธิสัญญาไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์  การที่ญี่ปุ่นประกาศจะปล่อยน้ำเสียนิวเคลียร์ลงสู่ทะเลนั้น  ถูกประชาคมระหว่างประเทศคัดค้านอย่างท่วมท้น

9. การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15  และ การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) เน้นเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และความร่วมมือในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ  

จีนและสหรัฐฯ ได้ร่วมกันออกปฏิญญากลาสโกว์ว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศในทศวรรษ 2020   ทำให้ทุกฝ่ายมีความมั่นใจมากขึ้นว่า การประชุมครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ 

10.คำขวัญโอลิมปิกกลายเป็น “เร็วขึ้น สูงขึ้น แข็งแกร่งขึ้น – ร่วมกัน”  การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมัยที่ 76 ได้รับรองมติพักรบโอลิมปิก เพื่อสนับสนุนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว และ พาราลิมปิกฤดูหนาวปี 2022 ที่ปักกิ่ง

และเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม การประชุมสุดยอดโอลิมปิกครั้งที่ 10 ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความเป็นกลางทางการเมืองของงานกีฬาโอลิมปิก และประณามความพยายามที่จะทำให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นประเด็นทางการเมือง  

(bo/cai/lu)

  • เสียงข่าวประจำวัน (16-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

陆永江