นักวิจัยจีนพบหลักฐาน หูชั้นกลางมนุษย์มีวิวัฒนาการจากเหงือกปลา

2022-06-21 10:31:42 | CMG
Share with:

เมืองฉวี่จิ้ง มณฑลยูนนาน ตั้งอยู่ในที่ราบสูงยูนนาน-กุ้ยโจว ที่นี่เดิมเคยเป็นทะเลมาก่อน จึงค้นพบซากของปลายุคดึกดำบรรพ์มากมาย จนได้ฉายาว่า “อาณาจักรแห่งปลา” ด้วยการขุดค้นมานานหลายปี ทีมวิจัยปลาดึกดำบรรพ์ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ได้ค้นพบหลักฐานที่พิสูจน์ว่าหูชั้นกลางของมนุษย์ได้วิวัฒนาการมาจากเหงือกปลาเป็นครั้งแรก เป็นหลักฐานที่อยู่ในหินฟอสซิลปลาอายุ 400 ล้านปี 

นักวิจัยมองว่า หลังจากที่ปลาพยายามวิวัฒนาการตัวเองเพื่อขึ้นมาอยู่บนบกแล้ว จำเป็นต้องพัฒนาอวัยวะประสาทสัมผัสขึ้นใหม่ เพื่อให้เอื้อต่อการดำรงชีพในอากาศ รูหายใจของปลาสูญเสียการทำงานแบบเดิมและค่อย ๆ พัฒนามาเป็นหูชั้นกลาง ส่วนกระดูกที่เชื่อมต่อกันทั้ง 3 ก็ค่อย ๆ พัฒนาเป็นกระดูกทั้งสามของหูชั้นกลางซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสียงไปยังสมอง  นี่เป็นคำอธิบายที่ชัดเจนสำหรับข้อเท็จจริงที่ว่า ถึงแม้หูของมนุษย์จะไม่หายใจได้ในปัจจุบัน แต่ก็ยังเชื่อมต่อกับปากได้ เพราะเคยเป็นอวัยวะระบบทางเดินหายใจของปลานั่นเอง

จู หมิ่น นักวิจัยของสถาบันวิจัยสัตว์มีกระดูกสันหลังและมนุษย์ดึกดำบรรพ์ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนเผยว่า โครงสร้างทั่วทุกส่วนของมนุษย์ล้วนแต่สามารถสืบย้อนไปถึงบรรพบุรุษที่เป็นปลาได้ ไม่ว่าจะป็นฟัน กราม สมองส่วนกลางและอื่น ๆ นักบรรพชีววิทยาต่างกำลังพยายามหาคำตอบเพิ่มเติมอย่างไม่หยุดยั้งเกี่ยวกับช่วงที่ปลามีวิวัฒนาการ ฟอสซิลที่พบในอาณาจักรของปลาอย่างเมืองฉวี่จิ้งนั้น ได้มอบหลักฐานที่สำคัญที่พิสูจน์ถึงความเชื่อมโยงของหูส่วนกลาง 

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)