บทวิเคราะห์ : ความร่วมมือกลุ่มบริกส์ส่งเสริมสันติภาพและการพัฒนาระดับโลก

2022-06-27 14:22:53 | CMG
Share with:

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ กรุงปักกิ่ง นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนได้เป็นประธานการประชุมทางไกลระหว่างสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศบริกส์ (BRICS) ครั้งที่ 14 โดยมีหัวข้อว่า “เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนคุณภาพสูง  เปิดศักราชใหม่แห่งการพัฒนาของโลก”

กลุ่มประเทศบริกส์หรือกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประกอบด้วย 5 ชาติสมาชิก ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้  ประชากรของกลุ่มประเทศนี้รวมกันเป็นกว่า 40% ของประชากรโลก และมีขนาดเศรษฐกิจเป็น 20% ของ GDP โลก

ความร่วมมือกลุ่มประเทศบริกส์ดำเนินการตามความคาดหวังของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนประชาคมโลก   ความร่วมมือดังกล่าวไม่ได้พุ่งเป้าไปยังฝ่ายที่สาม และไม่ต้องการเผชิญหน้ากับใครทั้งสิ้น  เพราะกลุ่มประเทศบริกส์คัดค้านความคิดสงครามเย็น และการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มประเทศ   พร้อมทั้งมุ่งมั่นที่จะปูทางไปสู่การพัฒนา ความมั่นคง ความเที่ยงธรรมและความเป็นธรรมในทั่วโลก   นอกจากนี้  กลุ่มประเทศบริกส์ยังคัดค้านการสร้างกำแพงกีดกันประเทศอื่น  และการจัดตั้ง “ระบบคู่ขนาน” โดยบางประเทศด้วย

ก่อนอื่น ความร่วมมือของกลุ่มประเทศบริกส์ มีเป้าหมายเพื่อปูทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน       ขณะนี้  การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมายท่ามกลางการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ กลุ่มประเทศบริกส์ได้ตระหนักดีถึงความสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจ ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น จึงได้ทุ่มเทกำลังเต็มที่ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตน  และได้แสดงบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก   การประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศบริกส์ครั้งที่ 14 ภายใต้หัวข้อ “เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนคุณภาพสูง  เปิดศักราชใหม่แห่งการพัฒนาโลก” มีเป้าหมายส่งเสริมความร่วมมือกลุ่มประเทศบริกส์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เพื่อประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

ประการที่สอง ความร่วมมือของกลุ่มประเทศบริกส์ มีเป้าหมายเพื่อปูทางสู่ความมั่นคงทั่วโลก เมื่อพิจารณาในแง่ขนาดเศรษฐกิจ พื้นที่ และจำนวนประชากร กลุ่มประเทศบริกส์ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของโลก  ปัจจุบัน กลุ่มประเทศบริกส์กำลังทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติตามกลไกความเป็นพหุภาคีที่แท้จริง และจัดการกับภัยคุกคามและความท้าทายด้านความปลอดภัยระดับโลก

ประการสุดท้าย  ความร่วมมือของกลุ่มประเทศบริกส์ ยังมีเป้าหมายเพื่อปูทางสู่ความเสมอภาคเท่าเทียมกันและมีความเป็นธรรม ภายใต้กลไกความร่วมมือกลุ่มประเทศบริกส์  ไม่มีประเทศสมาชิกใดสามารถยัดเยียดเงื่อนไขของตนเองให้กับประเทศอื่น    สิ่งสำคัญที่กลุ่มประเทศนี้เน้นคือ สร้างเวทีความร่วมมือเพื่อชัยชนะร่วมกัน   เพื่อทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีเวทีความร่วมมือและการพัฒนาของตน   นอกจากนี้ ยังเน้นขับเคลื่อนให้หลักธรรมาภิบาลโลกและกฎระเบียบระหว่างประเทศก้าวไปสู่ความเสมอภาคเท่าเทียมกันและมีความเป็นธรรม ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้อง

ขณะนี้ โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายหลาย ๆ ด้าน เช่น การระบาดของโควิด-19 และความขัดแย้งในบางภูมิภาค ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ความร่วมมือกลุ่มประเทศบริกส์ไม่เพียงแต่ไม่ได้ลดน้อยลง  แต่กลับมีความใกล้ชิดยิ่งขึ้นและมีพลังมากขึ้น    การเจริญเติบโตขึ้นของกลุ่มประเทศ บริกส์เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจโลก   ประเทศเหล่านี้จึงตระหนักดีว่า  การเปิดกว้างและการยอมรับซึ่งกันและกันเท่านั้นที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้า และการพัฒนาที่ยั่งยืนได้    กลุ่มประเทศบริกส์และประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะไปแย่งผลประโยชน์จากใคร แต่หวังที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกเจริญเติบโตขึ้นจากความร่วมมือที่ใกล้ชิดเท่านั้น  


(yim/cai)

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)