บทวิเคราะห์ : เหตุใดหลักการ ‘หนึ่งประเทศสองระบบ’ จึงประสบความสำเร็จในฮ่องกง-เป็นที่ยอมรับในระดับสากล?

2022-07-02 14:47:14 | CMG
Share with:

วันที่ 1 กรกฎาคม นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน กล่าวปราศรัยสำคัญในการประชุมเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี การกลับคืนสู่มาตุภูมิของฮ่องกงและพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ชุดที่ 6 โดยยกย่องแนวปฏิบัติของ "หนึ่งประเทศสองระบอบ" ในฮ่องกงอย่างสูง เขากล่าวว่า ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากมาตุภูมิและความพยายามร่วมกันของรัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและทุกภาคส่วนของสังคม แนวปฏิบัติ “หนึ่งประเทศสองระบบ” ในฮ่องกงประสบความสำเร็จจนได้รับการยกย่องอย่างสูงในระดับสากล

เวลา 0.00 น. วันที่ 1 กรกฎาคม 1997 รัฐบาลจีนกลับมามีอำนาจอธิปไตยเหนือฮ่องกง แนวคิดทางวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ของ “หนึ่งประเทศสองระบบ” ได้หยั่งรากในฮ่องกงและแนวปฏิบัติทางการเมืองรูปแบบใหม่ก็เปิดออกอย่างเป็นทางการ กว่า 25 ปีที่ผ่านมา ฮ่องกงได้เอาชนะความท้าทายทุกรูปแบบ มีฐานะศูนย์กลางทางการเงิน การขนส่ง และการค้าระหว่างประเทศที่มั่นคง ชาวฮ่องกงได้รับสิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และความผาสุกของประชาชนก็ดีขึ้นมากด้วย ยกตัวอย่างเศรษฐกิจของฮ่องกง GDP ทั้งหมดและ GDP ต่อหัวของฮ่องกงเพิ่มขึ้นจาก 1.37 ล้านล้านเหรียญฮ่องกง และ 192,000 เหรียญฮ่องกงในปี 1997 เป็น 2.86 ล้านล้านเหรียญฮ่องกง และ 387,000 เหรียญฮ่องกงในปี 2021 ขณะที่ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นราว 5 เท่าเมื่อเทียบกับเมื่อ 25 ปีก่อนด้วย ทุกความสำเร็จในการพัฒนาจะบอกเล่าเรื่องราวที่ชัดเจนของ "หนึ่งประเทศสองระบบ" สู่โลก

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับโลกภายนอก คือ ทำไม "หนึ่งประเทศสองระบบ" จึงมีพลังแข็งแกร่งเช่นนี้? ประการแรก ฮ่องกงถูกรวมกลับเข้าสู่ระบบการปกครองของประเทศอีกครั้ง จากนั้นรัฐบาลกลางได้ตรากฎหมายเขตปกครองพิเศษขึ้นบนหลักการ "หนึ่งประเทศสองระบบ" และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ระบบและกลไกที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 18 สำหรับสถานการณ์ใหม่ในฮ่องกง การตัดสินใจของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ทำการอภิปรายสำคัญและการตัดสินใจครั้งสำคัญต่อ "หนึ่งประเทศสองระบบ" เพื่อประกันการดำเนินนโยบายนี้อย่างมั่นคงและยาวนาน


 Tim/kt/cui

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)