บทวิเคราะห์ : นักการเมืองอังกฤษแตกแยกในประเทศยังอยากจะเข้าแทรกแซงกิจการฮ่องกง

2022-07-03 10:26:32 | CMG
Share with:

ในช่วงที่ฮ่องกงกลับคืนสู่จีนครบรอบ 25 ปีนั้น นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรี และนางลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ ต่างกล่าวปราศรัยและออกแถลงการณ์โดยระบุว่า อังกฤษมี “ภาระกิจทางประวัติศาสตร์” ต่อพลเมืองฮ่องกงตาม “แถลงการณ์ร่วมจีน-อังกฤษ” จะ “ไม่ยอมละทิ้งฮ่องกง” การแสดงทางการเมืองที่ตลกดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า อดีตผู้ปกครองอาณานิคมไม่ยอมรับความจริงที่ “ดินแดนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน” ได้เข้าสู่ช่วงที่ตะวันจะตกดินแล้ว การที่อังกฤษหมายจะเข้าแทรกแซงกิจการฮ่องกงและประเทศจีนนั้นเป็นฝันกลางวัน

การที่ชาวอังกฤษบางคนยึดมั่นใน “แถลงการณ์ร่วมจีน-อังกฤษ” หมายจะบิดเบือนประชาคมโลกและใช้เป็นหลักฐานในการแทรกแซงกิจการฮ่องกง ทั้งนี้เป็นเพียงยาชาทางจิตใจของตนเอง ผู้ที่รู้จักประวัติศาสตร์ฮ่องกงต่างรู้ดีว่า “แถลงการณ์ร่วมจีน-อังกฤษ” ที่รัฐบาลสองประเทศลงนามในเดือนธันวาคม 1984 นั้น มีจุดประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาการกลับคืนสู่จีนของฮ่องกง เนื้อหาสำคัญ คือ จีนฟื้นฟูการมีอธิปไตยในฮ่องกง หลังจากฮ่องกงกลับคืนสู่จีนในวันที่ 1 กรกฎาคม 1997 สิทธิและภารกิจที่เกี่ยวข้องกับอังกฤษที่ระบุไว้ในแถลงการณ์ได้ปฏิบัติไปเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลจีนปกครองฮ่องกงตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง ไม่ใช่ “แถลงการณ์ร่วมจีน-อังกฤษ” อังกฤษไม่มีอธิปไตย อำนาจการปกครอง และการกำกับดูแลในฮ่องกงที่กลับสู่จีนแล้ว

สภาพความเป็นจริงเป็นหลักฐานดีที่สุดที่แสดงให้เห็นว่าฮ่องกงพัฒนาไปด้วยดีหรือไม่ดี ฮ่องกงเป็นหน่วยเศรษฐกิจเสรีที่สุดในโลก เป็นศูนย์กลางทางการเงิน การขนส่งทางทะเลและการค้าระหว่างประเทศ ตลอดช่วง 25 ปีหลังจากกลับคืนสู่จีน ฮ่องกงประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าจับตามอง “หนึ่งประเทศสองระบบ” ประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก สังคมฮ่องกงในปัจจุบัน การรักชาติรักฮ่องกงกลายเป็นกระแสหลัก นักการเมืองชาวอังกฤษที่สนใจฮ่องกงทุกวันไปสนใจการแก้ไขปัญหาของประเทศตนจะดีกว่า


Tim/LR/Cui

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)