จีนอนุรักษ์ธารน้ำแข็งที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตอย่างเต็มที่

2022-07-13 13:44:19 | CMG
Share with:

“ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต” เป็นที่ราบสูงเนื้อที่ใหญ่ที่สุดและมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลสูงที่สุดในโลก น้ำที่นี่อยู่ในรูปแบบธารน้ำแข็ง ดินเยือกแข็งและทะเลสาบ ทำให้ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตมีคุณสมบัติหอคอยน้ำธรรมชาติ ได้หล่อเลี้ยงแม่น้ำใหญ่หลายสาย

ธารน้ำแข็งคิดเป็นมากกว่า 2 ใน 3 ของยอดปริมาณน้ำจืดในโลก ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถรองรับน้ำในลำธารที่เกิดจากน้ำฝน หากยังสามารถเสนอแหล่งน้ำที่ล้ำค่าให้กับการทดน้ำในพื้นที่แห้งแล้ง โดยที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตเป็นพื้นที่ที่มีการกระจายของธารน้ำแข็งมากที่สุดในโลกนอกเหนือจากขั้วโลกใต้และขั้วโลกเหนือ

นายเหยา ถันต้ง ราชบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีนกล่าวว่า เรากำลังประสบภาวะโลกร้อนที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษย์ อัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในพื้นที่ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตเป็น 2 เท่าของระดับเฉลี่ยของโลก ธารน้ำแข็งส่วนใหญ่กำลังถดถอย ทะเลสาบกำลังแผ่ขยาย ผลกระทบจากภัยพิบัติที่มีความเสียสมดุลของหอคอยน้ำแห่งเอเชียมีความเด่นชัดมากขึ้นทุกที ต้องรับมืออย่างเต็มที่

การละลายของธารน้ำแข็งไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดน้ำแข็งถล่มหรือธารน้ำแข็งเคลื่อนตัวบ่อยครั้ง หากยังจะเกิดปัญหาแห้งแล้งเนื่องจากคุณสมบัติ “อ่างเก็บน้ำที่เป็นของแข็ง” ลดน้อยลง ทำให้แผ่นดินที่ห่างไกลจากทะเลเกิดวิกฤตทรัพยากรน้ำ

รัฐบาลจีนได้สังเกตภัยจากการละลายของธารน้ำแข็ง และใช้ความพยายามมากมายเพื่ออนุรักษ์ธารน้ำแข็ง อาทิ ผลักดันการบัญญัติกฎหมายเพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต สร้างพื้นที่อนุรักษ์ธารน้ำแข็ง จำกัดการท่องเที่ยวธารน้ำแข็งอย่างเข้มงวดเป็นต้น ยืนหยัดการอนุรักษ์เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ยืนหยัดการอนุรักษ์และจัดการทั้งภูเขา น้ำ ป่าไม้ ไร่นา ทะเลสาบ ทุ่งหญ้า ทะเลทรายและธารน้ำแข็งอย่างเป็นระบบ ทะนุถนอมสิ่งมีชีวิตและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าว


(Yim/Cui/Patt)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)