เรื่องเล่าเกี่ยวกับ “กับดักหนี้ของจีน” เป็นอภิมหาโกหก (1)

2022-07-22 15:27:43 | CRI
Share with:

ปลายปีที่แล้ว สื่อตะวันตกพากันรายงานข่าวว่า เนื่องจากยูกันดาซึ่งเป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก ไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ให้กับจีนได้ จึงต้องยินยอมให้จีนเข้าบริหารสนามบินนานาชาติเอนเทบเบ้ นับเป็น “เหยื่อ”ของ “กับดักหนี้ที่จีนวางไว้”อีกราย 

แต่ก็มีสื่อที่รู้ข้อเท็จจริงและเปิดเผยความจริงออกมาตรงๆ โดยปี 2021 นิตยสารรายเดือน “ดิ แอตแลนติก”ของสหรัฐอเมริกา ออกบทความในหัวข้อ “กับดักหนี้ของจีนเป็นเรื่องมโน” โดยอ้างอิงข้อมูลหลักฐานจำนวนมากมายที่แสดงให้เห็นว่า“กับดักหนี้ของจีน”เป็นเรื่องที่นักการเมืองส่วนหนึ่งของประเทศตะวันตกตั้งใจปั้นขึ้นมา  เรื่องเล่าเกี่ยวกับ “กับดักหนี้ของจีน”เป็นเรื่องแหกตา และเป็นการโกหกคำโต ภาษาอังกฤษในบทความนี้ใช้คำว่า “The debt-trap narrative is just that: a lie, and a powerful one”

 นอกจากนั้น ผลการวิจัยของทีมนายเดโบราห์ เบราติกัม (Deborah Brautigam) ผู้อำนวยการสถาบันจีน-แอฟริกา มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์สหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่า หนี้ต่างประเทศทั้งหมดทั้งมวลของแอฟริกานั้น จีนมีสัดส่วนเพียง 17% น้อยกว่าประเทศตะวันตกอย่างมาก 

 นายเดโบราห์ เบราติกัมและทีมของเขายังได้ศึกษาวิจัยหนี้ต่างประเทศของจิบูตีและแองโกลา จนได้ตัวเลขรายละเอียดและข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ให้เห็นว่า “กับดักหนี้ของจีน”เป็นเรื่องที่ไร้หลักฐาน

 เขากล่าวว่า “ในทวีปแอฟริกามีประชากรกว่า 600 ล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่เงินกู้จากจีนนั้น 40% ใช้ในการผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้า  อีก 30% ใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของแอฟริกา ช่วยแอฟริกาให้ก้าวสู่ยุคทันสมัย ” 

 ปี 2021 รัฐบาลจีนได้ประกาศสมุดปกขาว “ความร่วมมือจีน-แอฟริกาในสมัยใหม่” โดยระบุอย่างชัดเจนว่า เงินกู้ที่จีนให้กับประเทศกำลังพัฒนา ใช้ในโครงการอุตสาหกรรมการผลิตที่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดกลางและขนาดใหญ่ ช่วง 20 ปีแรกของศตวรรษนี้ จีนได้ช่วยแอฟริกาสร้างทางหลวงและทางรถไฟรวมกว่า 13,000 กิโลเมตร ได้สร้างโรงไฟฟ้ากว่า 80 แห่ง โรงพยาบาลกว่า 130 แห่ง สนามกีฬา 45 แห่ง โรงเรียนกว่า 170 แห่ง เป็นต้น

แล้วนักการเมืองของประเทศตะวันตกบางประเทศสร้างเนื้อความอะไรในการปั้นเรื่อง“กับดักหนี้ของจีน” สรุปแล้วมักจะมีคำพูดดังต่อไปนี้

“จีนถือโอกาส ‘1 แถบ 1 เส้นทาง’ ปล่อยเงินกู้จำนวนมากแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยประเทศเหล่านั้นต้องใช้สินทรัพย์ทางยุทธศาสตร์ของรัฐมาจำนอง เมื่อไม่สามารถคืนหนี้ได้ ก็ต้องมอบสินทรัพย์ทางยุทธศาสตร์ให้กับจีน”

“หนี้ที่ไม่ยั่งยืน” จีนอาศัยรูปแบบ “หนี้ที่ไม่ยั่งยืน” เพิ่มภาระหนี้ของประเทศกำลังพัฒนา ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะผิดสัญญา และตกอยู่ในสภาพคืนหนี้ลำบาก”

ข้อตกลงเกี่ยวกับภาระ“หนี้ไม่มีความโปร่งใส”

 มาตรการรักษาความลับ การใช้หนี้ไม่มีความโปร่งใส” เป็นต้น

 แท้ที่จริงแล้วใครคือเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของแอฟริกา 

 ก่อนทศวรรษ 1970 ปัญหาหนี้ของแอฟริกายังไม่หนัก ทว่าเมื่อองค์กรการเงินของประเทศตะวันตกเริ่มใช้นโยบายขยายการปล่อยเงินกู้ หนี้ต่างประเทศของแอฟริกาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากช่วงระหว่างปี 1970-1987ที่มีจำนวน 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ พุ่งขึ้นเป็น 174,000 ล้านเหรียญสหรัฐ 

 สหรัฐอเมริกาปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น รวมถึงความต้องการระหว่างประเทศลดลงอย่างมาก ทำให้แอฟริกาเกิดวิกฤตหนี้ครั้งร้ายแรง นักวิเคราะห์ระบุว่า ช่วงทศวรรษ1980 เศรษฐกิจแอฟริกาถอยหลัง 10-25 ปี

 ข้อมูลจากธนาคารโลกแสดงให้เห็นว่า จนถึงสิ้นปี 2020 ประเทศแอฟริกาตอนใต้สะฮาราติดหนี้ต่างประเทศรวมกว่า 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นหนี้ภาคเอกชนประเทศตะวันตกครองสัดส่วน 47% หนี้ทางการพหุภาคี 26% หนี้ทางการทวิภาคี 16%

 ระหว่างปี 2010-2020 ประเทศแอฟริกาตอนใต้สะฮาราเป็นหนี้ต่างประเทศพหุภาคีระยะยาวเพิ่มขึ้นจาก 78,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น185,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2019 “สโมสรปารีส”ซึ่งเป็นองค์กรการเงินที่ประกอบด้วยหลายประเทศ เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของแอฟริกา

ตั้งแต่ปี 1995 จีนเริ่มปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำพิเศษระยะกลางและระยะยาวให้กับประเทศกำลังพัฒนาเป็นครั้งแรก หลังปี 2020 การลงทุนของจีนในแอฟริกาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยกระทั่งเป็นการให้เปล่า หนี้ต่างประเทศทั้งหมดของแอฟริกานั้น จีนมีสัดส่วนเพียง 17% น้อยกว่าประเทศตะวันตกอย่างมาก

 รายงานการวิจัยของธนาคารโลกยังแสดงให้เห็นว่าโครงการสร้างสรรค์ “1 แถบ 1 เส้นทาง”จะช่วยประชากรแอฟริกาจำนวนกว่า 7.6 ล้านคนพ้นจากความยากจนพิเศษ และอีก 32 ล้านคนพ้นจากความยากจนระดับกลาง

เดือนธันวาคมปี 2021 ประธานาธิบดีมูเซเวนีของอูกันดากล่าวว่า “นักธุรกิจตะวันตกมองไม่เห็นโอกาส แต่ชาวจีนเห็น และทำงานขยันมาก”

เงินกู้คงแบ่งเป็นเงินกู้ที่ได้ผลมากกับเงินกู้ที่ได้ผลน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ปล่อยกู้ การใช้เงินกู้จะสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์กับชาวบ้านได้หรือไม่

ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ขาดแคลนเงินทุนที่จะใช้ในการพัฒนา จึงมักจะหยิบยืมจากต่างประเทศ ถ้าหากเงินกู้เหล่านี้สามารถสร้างโอกาสการมีงานทำ สร้างประโยชน์ให้กับประชาชน และมีรายได้พอที่จำชำระคืน ก็นับเป็นเงินกู้ที่ดี

เงินกู้ที่ประเทศตะวันตกปล่อยให้กับแอฟริกานั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ในด้านอุตสาหกรรมการผลิต ไม่ได้ช่วยประเทศแอฟริกาเพิ่มรายได้ภาษีหรือรายได้จากการส่งออก ทำให้ประเทศแอฟริกาตกอยู่ในสภาพ “กู้ยืมมากขึ้น แต่ยากจนยิ่งขึ้น แถมต้องกู้ยืมอย่างต่อเนื่อง” จึงนับว่าเป็นเงินกู้ที่ไม่ดีหรือได้ประโยชน์น้อย

นอกจากนั้น บางประเทศตะวันตกยังฉวยโอกาสจากระบบการชำระคืนด้วยดอลลาร์สหรัฐ  ด้านการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มราคาสินค้าสำคัญระหว่างประเทศ ทำให้ประเทศแอฟริกาที่สร้างรายได้เงินตราต่างประเทศส่วนใหญ่จากการส่งออกวัตถุดิบนั้น  ประสบความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง

นอกจากนั้น องค์กรการเงินตะวันตกยังคงถือหนี้เป็นเครื่องมือในการเข้ากระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองของแอฟริกา หรือ “แทรกแซงกิจการภายใน”นั่นเอง จนดูเหมือนแอฟริกายังเป็นเขตอาณานิคมของตนดังเช่นแต่ก่อน

เจ้าหน้าที่ทางการระดับสูงคนหนึ่งของแอฟริกาเคยกล่าวว่า ขณะปล่อยกู้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟมีข้อกำหนดให้ดำเนินการปฏิรูปกว่า 500 รายการต่อปี เฉลี่ยวันละ 1.5 รายการ

แต่เงินกู้จากจีนต่อแอฟริกานั้น มีการเน้นว่า ไม่ก้าวก่ายประเทศแอฟริกา ให้ประเทศแอฟริกาแสวงหาหนทางการพัฒนาที่สามารถดำเนินการได้ตามสภาพความเป็นจริงของประเทศ ไม่แทรกแซงกิจการภายในของแอฟริกา ไม่ยัดเยียดแนวคิดค่านิยมของตนแก่คนอื่น ไม่มีเงื่อนไขทางการเมืองพ่วงท้ายใดๆ ในขณะที่ช่วยเหลือแอฟริกา ไม่หาผลประโยชน์ทางการเมืองจากการลงทุนต่อแอฟริกา การลงทุนของจีนต่อแอฟริกาจะใช้ในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ผลประโยชน์ที่ได้รับสูงกว่าจำนวนเงินกู้อย่างมาก จึงกล่าวได้ว่าเป็นเงินกู้เชิงสร้างสรรค์ เป็นเงินทุนที่ช่วยสร้างผลประโยชน์

ทั้งนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ปีหลังๆ นี้ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ของเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกายังพากันไปหาเงินทุนและความมร่วมมือจากจีน  

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)