เรื่องเล่าเกี่ยวกับ “กับดักหนี้ของจีน” เป็นอภิมหาโกหก (2)

2022-07-22 15:37:41 | CRI
Share with:

หน่วยงานวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายแห่งมีข้อสรุปร่วมกันคือ ไม่เคยพบคดีที่จีนถือโอกาสการได้รับคืนหนี้เงินกู้ยาก มายึดสินทรัพย์หรือทรัพยากรของประเทศอื่นๆไปครองแม้แต่รายเดียว

เดือนพฤศจิกายนปี 2021 ระหว่างการเยือนแอฟริกา นายบลิงเคนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวปราศรัยโดยใช้คำว่า “กับดักหนี้จีน”

ศาสตรจารย์ซู เฮาสถาบันการต่างประเทศจีนระบุว่า “นี่คือรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่ใช้การกระทำของตนในอดีตมาใส่ร้ายจีน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีมูลความจริง”

นายหวัง อี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนเคยกล่าวไว้ว่า ถ้าหากแอฟริกามี “กับดัก”จริง ก็น่าจะเป็น “กับดักความยากจน”และ “กับดักความล้าหลัง” ประชาชนแอฟริกาควรพ้นจากกับดักเหล่านี้โดยเร็ว

แต่ประเทศตะวันตกเห็นความร่วมมือระหว่างจีนกับแอฟริกาที่นับวันคึกคักยิ่งขึ้น ก็อดรนทนไม่ไหว จึงเปิดเครื่องผลิตคำโกหก สร้างคำลวงชาวโลกว่า “กับดักหนี้ของจีน” ซึ่งนับเป็นดราม่าซีรีย์ที่ต่อจากเรื่อง“ภัยคุกคามจีน”

วันที่ 29-31 ตุลาคมปี 2018 CNN สัมภาษณ์นายเคนยัตตาประธานาธิบดีเคนยา ปรากฏว่า พิธีกรของ CNN ไม่สนใจเรื่องอื่น แต่จะสนใจถามเรื่อง “กับดักหนี้ของจีน” ประธานาธิบดีเคนยามีความไม่พอใจและตอบว่า “ถ้าเพียงแต่สนใจเงินกู้ที่จีนให้เคนยา เราได้กู้เงินจากจีน แล้วก็กู้เงินจากสหรัฐอเมริกาด้วย เช่นกัน”

เขายังกล่าวว่า “จริงๆแล้วสิ่งที่ทำให้ผมเป็นห่วงคือหนี้เหล่านี้จะเอาไปจ่ายค่าใช้จ่ายประจำ เอาไปจ่ายค่าแรง ค่าน้ำค่าไฟ แต่หนี้ของเคนยาส่วนใหญ่เอาไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อีก 10 ปีให้หลัง ไม่ว่าใครเมื่อมาถึงกรุงไนโรบี (เมืองหลวงเคนยา) ก็จะเห็นว่า ที่นี่มีทางหลวงใหม่ มีทางรถไฟใหม่ ทั้งนี้เป็นส่วนช่วยพัฒนาการพาณิชย์ของเคนยา และสร้างโอกาสการมีงานทำใหม่ให้กับวัยรุ่น ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าของประเทศเรา เพิ่มขึ้นจาก 32% มาเป็น 65%”

วันที่ 6 มกราคม 2022 นายหวัง อี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนเดินทางไปร่วมพิธีเปิดท่าเรือน้ำมันมอมบาซาเคนยาที่บริษัทจีนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง นายเคนยัตตาประธานาธิบดีเคนยากล่าวในพิธีว่า “แอฟริกาไม่ต้องการคำสั่งสอนจากชาวต่างชาติ แต่ต้องการมิตรที่ยินดีร่วมมือกับเรา จีนก็เป็นมิตรแท้”

เดือนกันยายนปี 2020 นายยานิส วะราวฟากิส(Yanis Varoufakis) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกรีซเดินทางไปเยือนมลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาและกล่าวปราศรัยว่า “การลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จีนกำลังทำอยู่ในแอฟริกานั้น มีความเป็นธรรมอย่างมากเมื่อเทียบกับพฤติกรรมอาณานิคมของประเทศตะวันตกเมื่อ 100 ปีก่อน”

นางฮั่ว ชุนหยิงโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนเคยตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่า “ระหว่างปี 2000-2016 เงินกู้ที่จีนให้กับแอฟริกานั้น มีสัดส่วนเพียง 1.8% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของแอฟริกา และส่วนใหญ่ใช้ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จนถึงปัจจุบัน ไม่มีประเทศแอฟริกาประเทศใดประเทศหนึ่งเคยบ่นว่าตกอยู่ในวิกฤติหนี้เนื่องจากร่วมมือกับจีน ตรงกันข้าม ผู้นำประเทศแอฟริกาจำนวนมากได้ชื่นชมการลงทุนและความร่วมมือจากจีน และหวังที่จะขยายความร่วมมือกับจีน”

แล้วจีนจัดการหนี้แอฟริกาอย่างไร

เดือนพฤศจิกายนปี 2021 จีนได้ประกาศในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีฟอรั่มความร่วมมือจีน - แอฟริกาที่จัดขึ้นที่กรุงดาการ์เมืองหลวงของเซเนกัล  เกี่ยวกับมาตรการในปัญหาหนี้แอฟริกาที่เกี่ยวข้องกับจีนว่า จีนจะปฏิบัติตามข้อริเริ่มกลุ่มจี 20 ที่อนุญาตให้ประเทศยากจนที่สุดของแอฟริกาพักการชำระหนี้ให้กับจีนเป็นการชั่วคราว ในบรรดาสมาชิกกลุ่มจี-20 จีนนับเป็นประเทศที่ลดหนี้ให้แอฟริกาหรือพักการชำระหนี้ให้ประเทศแอฟริกาจำนวนมากที่สุด

โครงสร้างพื้นฐานที่จีนลงทุนและรับเหมาก่อสร้างในแอฟริกานั้นบังเกิดผลอย่างไร ดิฉันขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

ทางรถไฟมอมบาซา-ไนโรบีที่รับเหมาก่อสร้างโดยกลุ่มบริษัททางหลวงและสะพานจีน ที่เปิดใช้ในปี 2017 นั้น นับเป็นทางรถไฟสายแรกของเคนยาหลังหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตก   ท่าเรือน้ำลึกคริบีที่เป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งแรกของแคเมอรูนที่รับเหมาก่อสร้างโดยบริษัทจีนนั้น ล้วนสร้างกำไรสร้างประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ให้กับชาวบ้านท้องถิ่น

ประเทศแอฟริกาได้ชื่อว่า "ประเทศสายรุ้ง" ที่เมืองเคปทาวน์ของแอฟริกาใต้ บริษัทจีนกับกองทุนพัฒนาจีน - แอฟริการ่วมกันลงทุน350 ล้านแรนด์ ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมแอฟริกาใต้ไห่ซิ่น นับเป็นโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาการลงทุนมากที่สุดจากบริษัทจีนในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา  สร้างโอกาสการมีงานทำกว่า 6,000 ราย เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงงานแห่งนี้ได้มาตรฐานของประเทศพัฒนา และตีตลาดยุโรปได้สำเร็จ

โครงการความร่วมมือระหว่างจีนกับแอฟริกายังมีอีกมีมากมาย ข้อเท็จจริงคือ ความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศแอฟริกาเป็นลักษณะของการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ได้ประโยชน์ด้วยกัน เงินกู้จากจีนเป็นการลงทุนที่เป็นมิตร และกล่าวได้ว่าเป็น “ปั้มน้ำมัน”ในหนทางการบรรลุเป้าหมายที่เป็นอุตสาหกรรมและความทันสมัยของแอฟริกา

นักเศรษฐศาสตร์จีนชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาหนี้ของแอฟริกานั้น ควรให้ความสำคัญต่อการขจัดต้นตอที่เกิดปัญหา การเป็นรูปแบบตลาดและความร่วมมือเชิงพาณิชย์เป็นแนวคิดใหม่ของการแก้ไขปัญหาหนี้แอฟริกา ซึ่งจีนได้ดำเนินการทดลองในหลายประเทศแอฟริกา อาทิ แอฟริกาใต้ เคนยา ไนจีเรีย เป็นต้น ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

จีนเคยอยู่ในสภาพยากจนและล้าหลังกว่า 100 ปี  ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ชาวจีนใช้ความพยายามแสวงหาหาวิธีพ้นความยากจนจนสำเร็จ ปัจจุบัน จีนนำเอาประสบการณ์การพัฒนาที่สมบูรณ์และเงินทุนไปช่วยประเทศแอฟริกาพัฒนาเศรษฐกิจ  แต่ถูกประเทศตะวันตกจับยัดใส่หมวกที่มีชื่อว่า “กับดักหนี้จีน” ให้

ช่วงกว่า 100ปีที่ประเทศตะวันตกยึดแอฟริกาเป็นอาณานิคม แอฟริกาไม่สามารถกลายเป็นเขตที่เจริญด้วยการพัฒนา แต่เป็นเขตที่ยากจนและล้าหลังที่สุดของโลก   ที่สำคัญสื่อตะวันตกไม่เคยยัดเยียดหมวก “กับดักหนี้”ให้แก่ประเทศตะวันตกใดๆเลย

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)