‘เฉิน เจียหลิง' จิตรกรจีนที่มีความคิดสร้างสรรค์

2022-08-06 20:38:48 | CMG
Share with:

ฤดูใบไม้ร่วงปี 2016 ในงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำของการประชุมสุดยอด G20 ณ เมืองหังโจวของจีน มีการถ่ายภาพหมู่คณะผู้นำทุกประเทศและผู้นำองค์การระหว่างประเทศ โดยมีฉากหลังเป็นภาพเขียนหมึกจีนแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ ชื่อ “วิวทะเลสาบซีหู” (Scenery of the West Lake)

ภาพเขียน “วิวทะเลสาบซีหู” สร้างความประทับใจแก่มิตรชาวต่างชาติมาก ทำให้สัมผัสถึงมนต์เสน่ห์ของทะเลสาบซีหู (West Lake) เมืองหังโจว และภาษาภาพเขียนหมึกจีนที่มีเอกลักษณ์ ผู้เขียนภาพดังกล่าว คือ “เฉิน เจียหลิง” (Chen Jialing)  จิตรกรจีนที่มีชื่อเสียงและมีความคิดสร้างสรรค์

“เฉิน เจียหลิง” เกิดที่เมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง เมื่อปี 1937 เป็นศิลปินผู้เปิดหน้าภาพเขียนหมึกจีนแนวใหม่ด้วย “ความคิดและความกล้าเปลี่ยนแปลง” แหวกแนวภาพเขียนแบบดั้งเดิมของจีน ตั้งแต่ภาพเขียนบุคคล ภูเขาธารน้ำ ไม้ดอก และนก มีคุณธรรมด้านจิตรกรรมและสุนทรียศาสตร์จากการสร้างสรรค์ผลงานภาพเขียนมาหลายสิบปี

ในทศวรรษปี 1960 “เฉิน เจียหลิง” สำเร็จการศึกษาจากสถาบันจิตรกรรมเจ้อเจียง (Zhejiang Academy of Fine Arts) เขาเป็นลูกศิษย์ของ “พาน เทียนโซ่ว” (Pan Tianshou) และ “ลู่ เหยี่ยนเส้า” ( Lu Yanshao) เรียนเทคนิคและได้แรงบันดาลใจจากศิลปินภาพเขียนจีนสองคนดังกล่าว รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมเจียงหนัน ภาพเขียนฝาผนังสมัยโบราณของจีน และเทคนิคภาพเขียนสีน้ำ (watercolour) ของต่างประเทศอย่างถ่องแท้

นับตั้งแต่ทศวรรษปี 1980 เป็นต้นมา “เฉิน เจียหลิง” เริ่มมีชื่อเสียงในแวดวงจิตรกรรมของจีนด้วยผลงานภาพเขียนบัวที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งได้ชื่อว่า “บัวสไตล์เฉิน” (Chen-style lotus) ผลงานภาพเขียนบัวชิ้นหนึ่งในหัวข้อ “ปู้หร่าน” หรือแปลว่า “ไม่ติด” (Untainted) ได้รับรางวัลระดับเงินจากนิทรรศการจิตรกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 7 (silver prize at the 7th National Art Exhibition)

เมื่อไม่กี่ปีก่อน “เฉิน เจียหลิง” ผู้ย่างเข้าวัย 80 ปี ได้มุมมองใหม่จากศิลปินและช่างเครื่องกระเบื้องจิ่งเต๋อเจิ้น “เมืองเครื่องกระเบื้อง” ของจีน (Jingdezhen, China's "Porcelain Capital") จึงขยายผลงานเขียนภาพลงสู่เครื่องกระเบื้อง ในสายตาของเขาเครื่องกระเบื้องเป็นเสาปักรังวัดที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับโลก ถ้าเช่นนั้นในฐานะศิลปินจีนจะไม่รักเครื่องกระเบื้องสื่อสารเครื่องกระเบื้องได้อย่างไร? เขาจึงร่วมมือกับศิลปินคนอื่นในเมืองจิ่งเต๋อเจิ้นทำอ่างกระเบื้องยักษ์ใหญ่ลงลายบัว จำนวน 40 ใบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพและความอุดมสมบูรณ์

เมื่อก้าวผ่านบททดสอบและภาคปฏิบัติเป็นเวลากว่ากึ่งศตวรรษ “เฉิน เจียหลิง” ยังคงหมกมุ่นสื่อสารความงามแบบจีนด้วยพู่กันที่มีความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ทุ่มเทกำลังเพื่อพลักดันศิลปะภาพวาดจีนขึ้นสู่เวทีสากลอีกขั้น


(TIM/LING/CAI)

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)