(เทศกาลภาพยนตร์ปักกิ่ง) เพราะเหตุใด “ข่ง ฝานเซิน” จึงกลับทิเบต

2022-08-18 14:09:46 | CMG
Share with:

△ ภาพถ่าย จากภาพยนตร์เรื่อง “Kong & Jigme”

(อีกชื่อหนึ่งในภาษาจีนเรียกว่า “กลับทิเบต” 《回西藏》)

เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปักกิ่งครั้งที่ 12 เปิดฉากแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ ปรากฏว่า มีภาพยนตร์จีน 4 เรื่องเข้ารอบประกวดครั้งนี้ หนึ่งในนั้นคือ เรื่อง  “Kong & Jigme” หรือ อีกชื่อหนึ่งในภาษาจีนเรียกว่า “กลับทิเบต” (《回西藏》) จะร่วมชิง “รางวัลเทียนถาน” (Tiantan Awards) ใน 9 สาขา ทั้ง “ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม”

△“ข่ง ฝานเซิน” (ซ้าย) กับล่าม ในภาพยนตร์เรื่อง “Kong & Jigme”

( หรือเรื่อง “กลับทิเบต”,《回西藏》)

ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเค้าเรื่องจากบุคคลตัวจริง บุคคลผู้นี้ชื่อว่า “ข่ง ฝานเซิน” ข้าราชาการชนเผ่าฮั่นที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในทิเบต ล่ามของเขาเป็นชาวทิเบตที่เคยเรียนหนังสือในดินแดนชั้นใน ทั้งสองคนเคยมีความขัดแย้งกันก่อนจะมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน จนกลายเป็นกัลยาณมิตรแก่กันและกันชั่วในที่สุดชีวิต......

เพราะเหตุใด “ข่ง ฝานเซิน” จึงสมัครไปทำงานที่ทิเบต เมื่อหมดวาระกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมแล้ว เพราะเหตุใดเขาจึงกลับสู่ทิเบตอีก?

△“ข่ง ฝานเซิน” (ขวา 1) รองนายกเทศมนตรีเมืองลาซา

เดือนกันยายนปี 1990

ย้อนไปเมื่อปี 1979 “ข่ง ฝานเซิน” ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์แคว้นเหลียวเฉิง มณฑลซานตง สมัครงานไปทำงานที่เขตปกครองตนเองทิเบตตามที่ต้องการของรัฐบาล เข้าดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำอำเภอกัมปา (Kamba County) เขตปกครองตนเองทิเบต ความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 4,700 เมตร

“ข่ง ฝานเซิน” ปฏิบัติหน้าที่การงานที่อำเภอกัมปาเป็นเวลา 3 ปี เขาเดินทางร่วมทำงานกับประชาชนทั่วทั้งอำเภอ ทั้งทำการเก็บเกี่ยว เลี้ยงสัตว์ ขุดบึงน้ำ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวบ้านในท้องถิ่น และมีความผูกพันกันหนาแน่น

จากนั้นเขาห่างเหินจากทิเบตเป็นเวลา 7 ปี กระทั่งในปี 1988 เขากลับสู่ทิเบต และดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีเมืองลาซา เขาร่วมทำงานกับโรงเรียนต่างๆ ไปทั่ว 8 อำเภอ และเขตของเมืองลาซา ภายใต้ความพยายามของเขากับผู้อยู่ในแวดวงการศึกษาของเมืองลาซาร่วมกัน ส่งผลให้อัตราการเข้าเรียนของเด็กในวัยอันควรของเมืองลาซาได้ปรับสูงขึ้นเป็น 80%  จากเดิมมีเด็กเข้าเรียนเพียง 45%

ปี 1992 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่เมืองลาซา “ข่ง ฝานเซิน” รับเลี้ยงเด็กกำพร้าชาวทิเบตจำนวน 3 คน ที่ได้รับการช่วยเหลือจากซากปรักหักพัง เมื่อรับเลี้ยงเด็กกำพร้าแล้ว ชีวิตของเขาขัดสนมากขึ้น ถึงขั้นต้องไปบริจาคโลหิต 3 ครั้ง รวม 900 มิลลิลิตร และบริจาคในนามแฝง “โล่จู”

ต่อมาในปี 1993 “ข่ง ฝานเซิน” ในวัยเกือบ 50 ปีย้ายไปทำงานเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำแคว้นอาหลี่ (Ngari Prefecture) ภายใต้ความมุ่งมั่นของเขา เศรษฐกิจของแคว้นอาหลี่ได้รับการพัฒนาค่อนข้างเร็ว GDP  ของแคว้นอาหลี่ในปี 1994 เป็นเงินกว่า 180 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 37.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน รายได้ประชาชาติ (National Income) เป็นเงินกว่า 110 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน

วันที่ 29 พฤศจิกายน ปี 1994 “ข่ง ฝานเซิน” เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ถือเป็นการสละชีพในหน้าที่ สิริอายุรวม 50 ปี ผู้คนพบมรดก 2 ชิ้นจากการจัดงานศพของเขา

ชิ้นหนึ่งคือ ธนบัตร 8 หยวน 6 กั๊ก (จำนวนเงิน 8.6 หยวน) และอีกชิ้นหนึ่งคือ ข้อเสนอ 12 ประการ เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจอาหลี่ ซึ่งเขาเขียนไว้ก่อนจะเสียชีวิต

ชื่อและเรื่องราวของ “ข่ง ฝานเซิน” ดังทั่วแผ่นดิน และถูกเล่าขานกันจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงทุกวันนี้


(YING/LING/SUN)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)