10 ปีของจีน -โลจิสติกส์จีนพัฒนาครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ที่การขนส่งสาธารณะเข้าถึงยาก

2022-08-22 15:00:51 | CMG
Share with:

 

เมื่อ 10 ปีก่อน พอถึงช่วงตรุษจีน แรงงานที่ไปทำงานในต่างเมืองจากเขตกวางสีนับล้านคนก็จะขี่มอเตอร์ไซค์กลับบ้านเกิด เพื่อฉลองตรุษจีน ทุกวันนี้ “กองทัพมอเตอร์ไซค์” กลายเป็นภาพในประวัติศาสตร์ แรงงานที่ทำงานต่างเมืองจะโดยสารรถไฟความเร็วสูงกลับบ้านอย่างสะดวกสบาย

เดือนมิถุนายนปี 2022 รถไฟเหอเถียน-รั่วเชียงของซินเจียงยาว 2,712 กิโลเมตร ซึ่งเป็นสายรถไฟสายแรกของโลกที่ให้บริการรอบทะเลทราย เริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการ เป็นการสิ้นสุดประวัติศาสตร์ที่หลายพื้นที่ของซินเจียงไม่มีรถไฟ บนทะเลทรายอันกว้างใหญ่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนนั้น การเดินทางไม่ได้เป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้อีกแล้ว

มณฑลกุ้ยโจวของจีนขึ้นชื่อว่า มีภูมิประเทศแบบถ้ำหินคาสต์ แต่ช่วง 10 ปีมานี้ จีนได้สร้างสะพานหลากหลายรูปแบบเกือบ 2 หมื่นแห่ง ทำให้มณฑลกุ้ยโจว ซึ่งได้ชื่อว่าไม่มีพื้นที่ราบแม้แต่ 1 ตารางเมตร กลายเป็นที่ราบสำหรับรถไฟความเร็วสูงได้

ช่วง 10 ปีมานี้ รถเมล์เข้าถึงหมู่บ้านกว่า 5 หมื่นแห่ง เส้นทางรถไฟความเร็วสูงทางภาคตะวันตกของจีนมีความยาวถึง 6 หมื่นกิโลเมตร คิดเป็น 40% ของเส้นทางรถไฟทั่วประเทศ

พร้อมกับการเปิดเส้นทางรถไฟลาซา-หลินจือ เจียงยาง ลั่วจู วัย 11 ขวบ ซึ่งอาศัยอยู่ที่อำเภอกุ้งก่า เมืองซานหนานของทิเบตได้มีโอกาสเห็นรถไฟเป็นครั้งแรก

ช่วง 10 ปีมานี้ ชาวจีนไม่เคยหยุดการพัฒนาแก้ไขความยากลำบาก และสร้างความมหัศจรรย์ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ภูเขาและแม่น้ำ เขตทุรกันดารที่เคยปิดกั้นโลกภายนอกเริ่มเข้าถึงเครือข่ายการคมนาคมที่เชื่อมต่อ ผู้คนจึงสามารถแสวงหาความฝันได้จากการเดินทางสู่โลกภายนอก


(Lei/cici/bo)

  • เสียงข่าวประจำวัน (06-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (06-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (06-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (05-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (04-05-2567)