การเปลี่ยนแปลงของจีนช่วง 10 ปีที่ผ่านมา - วาดพิมพ์เขียวใหม่ที่มีอนาคตร่วมกัน

2022-08-29 20:04:08 | CRI
Share with:

ในเมืองกามันยี (Kamonyi) เมืองเล็กๆ ของรวันดา คุณเดมัส (Demas) กำลังยุ่งอยู่ในโรงเพาะเห็ด ตั้งแต่ปี 2012 บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรของจีนได้ช่วยฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคนิคการเกษตรและเกษตรกรที่ปลูกเห็ดกว่า 5,000 คน และคุณเดมัสก็เป็นหนึ่งในนั้น

คุณเดมัสกล่าวว่า “ตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจนี้มา ผมมีรายได้เพิ่มซื้อที่ดิน สร้างบ้านใหม่ ลูกของผมก็สามารถไปเรียนหนังสือในโรงเรียนดีๆ ”

ปัจจุบันเห็ดนี้ได้ช่วยกว่า 100 ประเทศทั่วโลกขจัดความยากจน หลังจากการหลุดพ้นความยากจนด้วยอุตสาหกรรม จนถึงการพ้นจากความยากจนด้วยวิธีทางภาวะนิเวศ จีนได้แบ่งปันประสบการณ์ที่ช่วยประชากร 100 ล้านคน หลุดพ้นจากความยากจนให้กับประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกอย่างเต็มที่

ปัจจุบัน ปัจจัยที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ สีเขียว ดิจิทัล และนวัตกรรม ได้กลายเป็นจุดเติบโตใหม่ในความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

โดยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากข้อริเริ่ม ภาพ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” สามารถมองเห็นจากอวกาศ

กรุงมาปูโต ของโมซัมบิก เป็นท่าเรือสำคัญแห่งหนึ่งในแอฟริกาตะวันออก มีสะพานใหญ่ข้ามอ่าวมาปูโต ทำให้การเดินทางระหว่างสองฝั่งสะดวกขึ้นโดยเวลาการเดินทางลดลงจาก 2 ชั่วโมงเหลือ 10 นาที ซึ่งสะพานใหญ่แห่งนี้เป็นผลงานของจีน 

บนที่ราบสูงเกาชารี (Gauchari) ที่มีความสูง 4,000 เมตรทางภาคเหนือของอาร์เจตินา มีแผ่นโซลาเซลล์ 1.2 ล้านชิ้น เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าให้กับชาวบ้านเกือบ 100,000 ครอบครัว ซึ่งสถานีกำเนิดไฟฟ้าด้วยพลังแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้ก็เป็นผลงานของจีนเช่นกัน

ที่กรุงเวียงจันทร์ของ สปป.ลาว มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง โดยสายรถไฟจีน-ลาวได้เชื่อมกรุงเวียงจันทร์กับเมืองคุนหมิงของจีนที่ห่างกันกว่า 1,000 กิโลเมตร ทางรถไฟจีน-ลาว ที่ธนาคารโลกชี้ว่าสามารถเพิ่มรายได้รวมของลาวเป็น 21% นี้ก็เป็นผลงานของจีนด้วย

เมื่อเผชิญกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงร้อยปี จีนถือการพัฒนาเป็นศูนย์กลางในประเด็นโลก ปฏิบัติตามข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” วาดพิมพ์เขียวใหม่แห่งอนาคตร่วมกัน

รายงานจากธนาคารโลกระบุจนถึงปีค.ศ. 2030 “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จะช่วยให้ประเทศร่วมการสร้างสรรค์มีการค้าเพิ่มขึ้น 2.8%-9.7% และช่วยการค้าโลกเพิ่ม 1.7%-6.2% ขณะที่มีคน 7.6 ล้านคนทั่วโลกพ้นจากสภาพความยากจนมาก และอีก 32 ล้านคนพ้นจากสภาพความยากจนระดับปานกลาง 

ในระหว่างการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จีนได้สร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับ 84 ประเทศ โดยได้สร้างห้องทดลองร่วม 53 แห่ง ศึกษาโครงการ 1,118 โครงการ ครอบคลุมวงการการเกษตร พลังงานใหม่ อนามัย และสุขภาพ 

ปัจจุบัน “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ” กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนด้านการศึกษาของโลก ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา เราเริ่มเจอคำนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ ในสิ่งพิมพ์และวารสารวิชาการต่างๆ และยังปรากฏในเอกสารสำคัญด้านกลไกพาหุภาคีของสหประชาชาติหลายครั้งอีกด้วย 

ในช่วงวิกฤตโลก ประเทศต่างๆ ไม่ได้นั่งเรือเล็กกว่า 190 ลำ หากนั่งเรือใหญ่ที่มีชะตากรรมร่วมกัน ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จีนยึดแนวคิด “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ” ปฏิบัติตามข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” แสดงบทบาทเพื่อผลักดันให้เรือใหญ่แห่งการพัฒนาของโลกลำนี้แล่นอย่างมั่นคง ปัจจุบันจีนได้เชื่อมการพัฒนาของตนกับการพัฒนาของโลก ร่วมมือกับประเทศต่างๆ ร่วมกันสร้างอนาคตที่ดีงามยิ่ง


Bo/Ldan/Chu

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)