บทวิเคราะห์ : จีนออกมาตรการสนับสนุนคลอดบุตร แก้ปัญหา “ไม่กล้าคลอด ไม่อยากคลอด”

2022-08-31 20:30:29 | CMG
Share with:

หลายหน่วยงานของจีนประกาศคำชี้แนะมาตรการสนับสนุนการคลอดบุตรผ่านหลายทาง ทั้ง ด้านการคลัง เก็บภาษี ประกันสังคม การศึกษา ที่อยู่อาศัย การมีงานทำ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประชากรระยะยาวให้เกิดความสมดุล

เป็นที่ทราบกันว่า จีนเป็นประเทศใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า “1,400 ล้านคน” ในขณะเดียวกัน หลายปีมานี้ จำนวนทารกแรกเกิดกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีนจึงตีพิมพ์บทความเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 การเติบโตของประชากรรวมของจีนจะเข้าสู่ช่วงติดลบ โดยบทความระบุว่า ปัญหาของสถานการณ์ประชากรที่เผชิญอยู่ส่วนใหญ่ ปรากฏดังต่อไปนี้ 

ประการแรก :  แนวโน้มการเติบโตของประชากรลดลงจนติดลบจะมีอย่างต่อเนื่อง  อัตราการเติบโตของประชากรโดยรวมชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด 

ประการที่สอง : ระดับการคลอดบุตรลดลงอย่างต่อเนื่อง หลายปีมานี้ อัตราเจริญพันธุ์รวมลดต่ำกว่า 1.3 

ประการที่สาม : วัยสูงอายุเพิ่มขึ้นจำนวนมาก  คาดว่าประมาณปี 2035 เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุระดับรุนแรง(ประชากรอายุ 60 ขึ้นไปคิดเป็นมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากรรวม) 

ประการที่สี่ : ครอบครัวมีขนาดเล็กลง โดยปี 2020 จำนวนคนในครอบครัวเฉลี่ยอยู่ที่ 2.62 ต่อครอบครัว ลดลง 0.48 คนเมื่อเทียบกับปี 2010 ทำให้กำลังการดูแลผู้สูงวัยและเลี้ยงลูกอ่อนแอลง 

หากมองทั่วโลก การลดลงของจำนวนทารกแรกเกิดตลอดจนประชากรโดยรวมกลายเป็นปัญหาที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2021 ประเทศไทย  มีทารกแรกเกิด 544,000 คน เป็นจำนวนที่ต่ำสุดรอบ 60 ปี และต่ำกว่าจำนวนผู้เสียชีวิต 563,000 คนในปีเดียวกัน 

ปี 2021 อัตราเจริญพันธุ์รวมของไทยลดลงถึง 1.5 ส่วนอัตราเจริญพันธุ์รวมของจีนอยู่ที่ 1.15 ล้วนต่ำกว่าตัวเลข 2.1 ที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อทดแทนจำนวนประชากรให้คงที่ได้ “อัตราการคลอดบุตรที่ต่ำ” กลายเป็นความเสี่ยงสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบการพัฒนาประชากรอย่างสมดุล 

จีนให้ความสำคัญอย่างสูงกับปัญหาประชากรมาโดยตลอด ปีที่แล้ว จีนได้ดำเนินนโยบายสามีภรรยาคู่หนึ่งสามารถมีลูก 3 คน จากส่วนกลางถึงท้องถิ่น พื้นที่ต่าง ๆ หน่วยงานต่าง ๆ พากันให้ความสนใจกับนโยบายคลอดบุตร ออกนโยบายสนับสนุนควบคู่กันไป 

รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลจีนประจำปี 2022 นำเสนอว่า ปรับปรุงมาตรการให้สอดคล้องกับนโยบาลคลอดบุตรคนที่ 3 จากเรื่องนี้จะพบว่า การพัฒนาประชากรอยู่อันดับสำคัญของภารกิจแห่งชาติ 

โดยคำชี้แนะครั้งนี้ได้ปรับปรุงและยึดตามมาตรการสนับสนุนการคลอดบุตรอีก ตอบสนองประชาชน คำชี้แนะเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐทุกมณฑล เมือง และอำเภอ จัดตั้งองค์การรักษาสุขภาพสตรีที่ได้มาตรฐาน  สนับสนุนโรงเรียนอนุบาลที่มีศักยภาพพร้อมรับเด็กอายุ 2-3 ขวบ ปรับปรุงระบบอุดหนุนการศึกษาปฐมวัย เพื่อเอื้อให้เด็กในครอบครัวที่มีรายได้ต่ำสามารถเข้ารับการศึกษาปฐมวัยอย่างทั่วถึง  นโยบายที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัวที่มีลูกจำนวนมาก 

คำชี้แนะยังสนับสนุนหน่วยงานที่มีศักยภาพพร้อมเปิดบริการรับฝากเลี้ยงบุตรให้กับพนักงานโดยไม่คิดค่าจ่าย ช่วยให้พนักงานมีความสมดุลระหว่างการทำงานกับครอบครัว ส่งเสริมการมีงานทำอย่างยุติธรรมและความก้าวหน้ามั่นคงทางอาชีพ 

โดยหน่วยงานจะคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของการผลิตและการทำงาน ประสานกับพนักงานให้เข้าและออกจากออฟฟิศอย่างยืดหยุ่น( ไม่กำหนดเวลา ) หรือทำงานที่บ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงานที่ต้องรับส่งลูกเข้าเรียน ดูแลลูกที่เป็นป่วยหรืออยู่ที่บ้าน ช่วยพนักงานแก้ปัญหาดูแลเด็ก 

ก่อนหน้านี้ หากพิจารณาตามปัจจัยต่าง ๆ ทั้งเรื่องทางเศรษฐกิจ ภาระค่าใช้จ่าย ไม่มีผู้ดูแลบุตร และข้อกังวลด้านความก้าวหน้าทางอาชีพของผู้หญิงกลายเป็นสิ่งกีดขวางสำคัญของการเตรียมพร้อมมีบุตร การออกมาตรการสนับสนุนการคลอดบุตรครั้งนี้ จะมีความหวังที่จะแก้ปัญหา “ไม่กล้าคลอด ไม่อยากคลอด” เพื่อคงความสมดุลของโครงสร้างประชากร และส่งเสริมการพัฒนาประชากรในระยะยาว 

เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)


(Ying/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (18-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (17-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (17-04-2567)