บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯขายอาวุธให้ไต้หวันกว่าร้อยครั้ง

2022-09-07 12:56:09 | CMG
Share with:

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา  กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯประกาศว่า  กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีทางการทหารมูลค่า 108 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่ไต้หวัน  นับว่าสหรัฐฯได้จำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวันกว่า 100 ครั้งแล้ว  และมูลค่าสะสมมีกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมกราคมปี 1979  ภายใต้เงื่อนไขที่สหรัฐฯ ยอมรับหลักการจีนประเทศเดียว  และจะตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน  สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ  แต่ทว่าระหว่างการเจรจาเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน-สหรัฐฯ  ทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับปัญหาความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างสหรัฐฯกับไต้หวัน 

เมื่อเดือนมีนาคมปี  1979  รัฐสภาสหรัฐฯ ผ่านกฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์กับไต้หวัน  โดยบัญญัติกฎหมายเพื่อจัดหาอาวุธเชิงป้องกันให้แก่ไต้หวัน  เมื่อเดือนสิงหาคมปี 1982  รัฐบาลทั้งจีนและสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ร่วม “17 สิงหาฯ” โดยกำหนดว่า  สหรัฐฯ จะไม่เพิ่มสมรรถภาพอาวุธที่จำหน่ายให้แก่ไต้หวันอีก  และจะลดปริมาณจำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวันอย่างมีขั้นตอนด้วย 

ระหว่างปี 1983-1991  มูลค่าการจำหน่ายอาวุธของสหรัฐฯที่มีต่อไต้หวันได้ลดจาก 800 ล้านดอลล่าสหรัฐต่อปีให้เป็น 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  แต่หลังจากย่างเข้าทศวรรษ 1990  การจำหน่ายอาวุธของสหรัฐฯที่มีต่อไต้หวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เมื่อเดือนสิงหาคมปี 1992  สหรัฐฯได้จำหน่ายเครื่องบิน F-16 จำนวน 150 ลำแก่ไต้หวัน  มูลค่าถึง 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  เมื่อเดือนธันวาคมปี 2015 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่าจะจำหน่ายอาวุธมูลค่า 183 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ไต้หวัน  ซึ่งห่างจากครั้งที่แล้วที่สหรัฐฯ จำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวันเป็นเวลา 4 ปี  ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาวที่สุดที่สหรัฐฯไม่ได้จำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวัน มาถึงปี 2020  สหรัฐฯ ได้จำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวันถึง 6 ครั้งในรอบหนึ่งปี  ถือว่าเป็นจำนวนครั้งมากที่สุดที่สหรัฐฯ จำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวันภายในเวลาหนึ่งปี   หลังจากปธน.โจ ไบเดน ขึ้นดำรงตำแหน่ง ปธน.สหรัฐฯ เป็นต้นมา  สหรัฐฯ ได้จำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวันถึง 5 ครั้งมาแล้ว  โดย 4 ใน 5 ครั้ง เกิดขึ้นในปีนี้

 

มีผู้สังเกตการณ์ทางการทหารระบุว่า  อาวุธที่สหรัฐฯ จำหน่ายให้แก่ไต้หวันส่วนใหญ่เป็นอาวุธการโจมตีทางไกล  อาวุธที่ใช้ในการควบคุมทางอากาศและทางทะเล  และอาวุธเชิงป้องกัน  การที่สหรัฐฯจำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวันไม่เพียงแต่ได้ทำลายสันติภาพและเสถียรภาพของสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวันเท่านั้น  หากยังทำลายสิทธิผลประโยชน์ของชาวไต้หวันอีกด้วย  หากว่าใช้มูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ งบประมาณส่วนนี้สามารถช่วยเหลือนักเรียนไต้หวันจำนวน 3,750,000 คนเรียนจบมหาวิทยาลัย 

อนึ่ง เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา  ทางการไต้หวันประกาศว่า  งบประมาณทางการทหารของไต้หวันในปี 2023 จะเพิ่มขึ้น 14.9%  มูลค่า 523,400 ล้านเหรียญไต้หวันหรือประมาณ 17,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ การที่ทางการไต้หวันใช้ภาษีอากรจากประชาชนไต้หวันไปซื้ออาวุธจากสหรัฐฯ  ก็เพื่อเป้าหมายการเป็นเอกราช

สำหรับเรื่องที่สหรัฐฯ จำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวัน จีนใช้ท่าทีคัดค้านอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่มาโดยตลอด  เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนที่มิอาจแบ่งแยกออกจากได้ การที่สหรัฐฯ จำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวัน  เป็นการกระทำที่แทรกแซงกิจการภายในของจีน  เป็นการกระทำที่ทำลายอธิปไตย  และผลประโยชน์ด้านความปลอดภัยของจีน  ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ  ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์พื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ฝ่าฝืนหลักการจีนเดียว  ฝ่าฝืนแถลงการณ์ร่วม 3 ฉบับระหว่างจีน-สหรัฐ  โดยเฉพาะฝ่าฝืนแถลงการณ์ “ 17 สิงหาฯ ”  ส่งสัญญาณผิดๆ ให้แก่กลุ่มที่มีอิทธิพลแบ่งแยก ที่หมายจะให้ไต้หวันเป็นเอกราช 

นอกจากนี้  การที่สหรัฐฯจำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวันยังทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ และทำลายสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวัน  จีนเร่งให้สหรัฐฯ ปฏิบัติตามหลักการจีนประเทศเดียวและแถลงการณ์ร่วม 3 ฉบับระหว่างจีน- สหรัฐ    หยุดจำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวัน  และหยุดการติดต่อทางการทหารกับไต้หวัน  ยกเลิกโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายอาวุธให้แก่ไต้หวัน  เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรีฐ  และทำลายสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวันอีก


(YING/ZHOU)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (14-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (13-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (13-11-2567)