วันที่ 5 กันยายน ที่ผ่านมา นายนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสวิงวอนให้ชาวฝรั่งเศสประหยัดพลังงาน รวมถึงลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ อย่างเช่น ในฤดูหนาวควรปรับอุณหภูมิฮีทเตอร์ให้อยู่ที่ 19 องศาเซลเซียส
นายมาครง ชี้ให้เห็นว่า “ต้นปี 2022 พลังงาน 25% ของฝรั่งเศสคือก๊าซธรรมชาติ ในนี้ มี 50% มาจากรัสเซีย แต่ปัจจุบันก๊าซรัสเซียเป็นเพียง 9% ของก๊าซนำเข้าของยุโรป”
ปัจจุบัน ประเทศยุโรปกังวลอย่างยิ่งต่อปัญหาขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ แต่ยังคงร้ายแรงยิ่งขึ้นอีก หลังจากเมื่อเร็ว ๆ นี้ รัสเซียประกาศว่า อุปกรณ์หลายแห่งขัดข้อง ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ “นอร์ทสตรีม-1”จะหยุดส่งก๊าซจนกว่าจะแก้ไขได้
ก่อนหน้านี้ “นอร์ทสตรีม-1” ก็ได้ลดปริมาณการส่งก๊าซสู่ยุโรปหลายครั้งแล้ว โดยปริมาณการส่งก๊าซของ“นอร์ทสตรีม-1” เป็นสัดส่วน 40% ของก๊าซที่รัสเซียส่งออกไปยังยุโรปในปีที่แล้ว หาดหยุดส่งก๊าซทั้งหมดนั้น จะส่งผลกระทบต่อยุโรปมาก
การขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ จะทำให้ราคาพลังงานรวมถึงก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงขึ้น เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ราคาพลังงานของเขตยูโรเพิ่มขึ้น 38% เป็นปัจจัยสำคัญที่ดันให้สภาพเงินเฟ้อสูงขึ้น เดือนเดียวกัน เงินเฟ้อในกลุ่มยูโรสูงถึง 9.1% สร้างสถิติใหม่ของกลุ่มยูโรส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของชาวบ้าน ตลอดจนอุตสาหกรรมการผลิตอย่างมาก
ประเทศยุโรปกำลังหาวิธีต่างๆ แบบสุดขีดเพื่อรักษาความมั่นคงทางพลังงาน เช่น ฝรั่งเศสคิดที่จะฟื้นฟูการผลิตพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง ขณะที่เยอรมันได้ประกาศแผนกู้พลังงานยอดมูลค่า 65,000 ล้านยูโรฉบับหนึ่ง โดยจะเก็บภาษีต่อบริษัทที่มีกำไรสูงและไม่ต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ เพื่อเอาไปอุดหนุนชาวบ้านและโรงงานที่ต้องใช้ก๊าซอย่างมาก ส่วนรัฐบาลกรีซ กล่าวว่า จะใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อหน่วยงานหรือบริษัทที่ไม่ประหยัดพลังงาน เช่น ไม่ปิดไฟเมื่อไม่ใช้และไม่ปรับอุณหภูมิ เครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม
กล่าวว่า ความเจ็บปวดด้านพลังงานของยุโรปในปัจจุบันซึมเข้ากระดูก แต่ชาวยุโรปที่ตกในสภาพลำบาก พบว่า ประเทศพันธมิตรที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติกไม่ยอมยื่นมือช่วยเหลือ
เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ บอกกับบริษัทกลั่นน้ำมันที่สำคัญหลายแห่งของสหรัฐฯ ว่า อย่าเพิ่มการส่งออกเชื้อเพลิง แต่ควรเพิ่มปริมาณสะสมของคลังในสหรัฐฯ นั่นหมายถึง ยุโรปไม่มีหวังที่จะได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ในขณะนี้
วิกฤตพลังงานที่กระหน่ำทั่วทั้งยุโรปครั้งนี้ เป็นผลที่เกิดจากการที่ยุโรป ดำเนินการคว่ำบาตรหลายครั้งต่อรัสเซียตามสหรัฐฯ วิกฤตพลังงานครั้งนี้ ชาวยุโรปน่าจะคิดอย่างรอบคอบว่า ควรจะติดตามสหรัฐฯ ครั้งแล้วครั้งเล่า และถูกหลอกหลวงครั้งแล้วครั้งเล่าหรือไม่ นักการเมืองยุโรปควรพิจารณาอย่างดีว่า อนาคตของยุโรปจะไปสู่ทิศทางไหน จึงจะสอดคล้องกับผลประโยชน์ของตน