บทวิเคราะห์ : “1 แถบ 1 เส้นทาง” ประโยชน์ต่อประชาชนของประเทศที่มีส่วนร่วม

2022-09-20 14:08:36 | CMG
Share with:

ที่ประเทศปากีสถาน ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถานกำลังดำเนินไปด้วยดี และโครงการไฟฟ้าภายใต้กรอบความมร่วมมือดังกล่าวช่วยให้ประชาชนในท้องถิ่นจำนวนมากมีไฟฟ้าใช้

ที่ประเทศอุซเบกิสถาน  อุโมงค์ Kamchiq ของทางรถไฟสาย Angren–Pap จากเทคโนโลยีจีนได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ทำให้จากนี้ไปการขนส่งภายในประเทศของอุซเบกิสถานไม่ต้องอ้อมผ่านประเทศอื่นอีก

ในทวีปแอฟริกา ทางรถไฟสายแอดดิสอาบาบา–จิบูตี ที่สร้างโดยจีนช่วยให้เอธิโอเปียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เข้าถึงทะเลได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นตลอดจนสร้างงานและโอกาสทางธุรกิจให้กับประเทศแอฟริกานี้ เพิ่มมากขึ้น  

ในช่วงเวลา 9 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นว่า โครงการร่วมสร้าง“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ 

เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ.2013  ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ที่อยู่ระหว่างเยือนประเทศคาซัคสถานเสนอให้สร้างแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม และในวันที่ 3 ต.ค. ของปีเดียวกัน  ประธานาธิบดีสี

จิ้นผิง ที่อยู่ระหว่างเยือนประเทศอินโดนีเซีย ริเริ่มให้สร้างเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21

ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา การร่วมสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ได้ประสบความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โครงการนี้ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มความร่วมมือระหว่างประเทศที่กว้างและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

จนถึงขณะนี้  มี 149 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ 32 แห่งเข้าร่วมในโครงการ แสดงให้เห็นถึงพลังที่แข็งแกร่งของโครงการความร่วมมือนี้

เป้าหมายสูงสุดของการร่วมสร้าง“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” คือ ช่วยให้ประชาชนในประเทศต่างๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนกล่าวในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 2   ว่า    ต้องใช้แนวทางที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ให้ความสำคัญกับการขจัดความยากจนและการสร้างงาน เพื่อทำให้การร่วมสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” นั้นนำประโยชน์ที่แท้จริงมาสู่ประชาชนในประเทศที่มีส่วนร่วม ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้  ในขณะเดียวกัน ยังต้องสร้างหลักประกันด้านความยั่งยืนทางการค้าและการคลังของทุกโครงการภายใต้กรอบ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้  

การร่วมสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ เช่น  โรงงานน้ำตาล Tana Belesในประเทศเอธิโอเปียได้สร้างงานหลายหมื่นตำแหน่งในท้องถิ่น  เกษตรกรในประเทศโมซัมบิกที่ปลูกข้าวพันธุ์ผสมจีน มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์   จีนยังได้ช่วยสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการฝึกอบรมอาชีพจำนวนมากในหลาย ๆ ประเทศ เช่น กัมพูชา แอลจีเรีย และจิบูตี ช่วยยกระดับความสามารถการประกอบอาชีพ

ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา  โครงการภายใต้กรอบ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” นำน้ำดื่มสะอาด ไฟฟ้าที่ปลอดภัย งานที่มั่นคงและชีวิตที่ดีมาสู่ประชาชนในประเทศที่เข้าร่วมโครงการมากขึ้นเรื่อยๆ ขอเพียงประเทศตามแนว “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ยังคงใช้ความพยายามต่อไป   ก็จะสามารถช่วยประชาชนจำนวนมากหลุดพ้นจากความยากจน และทำให้การพัฒนาทั่วโลกมีความสมดุลมากขึ้น

การร่วมสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ยังช่วยกระตุ้นการพัฒนาของประเทศที่เข้าร่วมในโครงการด้วย   เมื่อสะพานมิตรภาพจีน-มัลดีฟส์เปิดใช้อย่างเป็นทางการ ประชาชนในท้องถิ่นพากันกล่าวว่า สะพานแห่งนี้ได้เปิดโอกาสให้พวกเขาสร้างอนาคตที่ดีงามยิ่งขึ้น   

เมื่อสะพาน Peljesac ที่จีนช่วยสร้างขึ้นในโครเอเชียเปิดใช้อย่างเป็นทางการ  นาย Andrej Plenkovic  นายกรัฐมนตรีโครเอเชีย กล่าวว่า วันนี้เป็นวันสำคัญเชิงประวัติศาสตร์สำหรับประเทศ เพราะความฝันหลายชั่วคนของชาวโครเอเชียที่จะสร้างสะพานแห่งนี้ให้สำเร็จได้ปรากฎเป็นจริงขึ้นแล้ว    ส่วนรถไฟบรรทุกสินค้าจีน-ยุโรป ขณะนี้มี 82 เส้นทางที่เชื่อมต่อ 200 เมืองใน 24 ประเทศในยุโรป 

ข้อเท็จจริงได้พิสูจน์ให้เห็นว่า โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเป็นหนทางสู่ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ขอเพียงเดินหน้าต่อตามแนวทางแห่งการพัฒนา  โลกก็จะพัฒนาสู่อนาคตที่สดใสและดีงามมากยิ่งขึ้น


(ying/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (14-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (13-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (13-11-2567)