วันที่ 21 กันยายน 2022 เป็นวันครบรอบ 30 ปีการตัดสินใจดำเนินโครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ของจีน ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาลักษณะ “ 3 ช่อง” คนจีนในวงการการบินอวกาศหลายรุ่นมุมานะต่อสู้ ฟันฝ่าอุปสรรคกับความยากลำบาก ปฏิบัติภารกิจที่กำหนดไว้ใน 2 ช่องแรกเป็นผลสำเร็จ โดยใกล้จะเสร็จสิ้นการก่อสร้างสถานีอวกาศในวงโคจร เพื่อเดินครบช่องที่ 3 ตามยุทธศาสตร์การพัฒนา
วันที่ 21 ค.ศ.1992 รัฐบาลจีนตัดสินใจดำเนินโครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ พร้อมกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาลักษณะ “ 3 ช่อง” ได้แก่
ช่องแรก ยิงส่งยานอวกาศพร้อมมนุษย์เสร็จสิ้นโครงการยานอวกาศพร้อมมนุษย์เชิงการทดลองเป็นระบบในเบื้องต้น ดำเนินการทดลองเชิงประยุกต์ใช้ในอวกาศ
ช่องที่ 2 ศึกษาและเสริมสร้างเทคโนโลยีการเคลื่อนไหวนอกยานอวกาศของนักบินอวกาศ และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อยานอวกาศ ยิงส่งห้องปฏิบัติการขึ้นสู่อวกาศ แก้ไขปัญหาด้านการประยุกต์ใช้ในอวกาศขนาดพอเหมาะและมีมนุษย์ดูแลในระยะสั้น
ช่องที่ 3 ก่อสร้างสถานีอวกาศ แก้ไขปัญหาด้านการประยุกต์ใช้ในอวกาศขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีมนุษย์ดูแลในระยะยาว
ความสำเร็จในการยิงส่งยานอวกาศพร้อมมนุษย์ เดินเสร็จช่องแรกอย่างงดงาม
เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1999 จีนได้รับผลสำเร็จในการยิ่งส่งและรับคืนยานอวกาศทดลองเสินโจว-1 นับเป็นผลคืบหน้าสำคัญยิ่งด้านเทคโนโลยีการบินอวกาศพร้อมมนุษย์
เดือนตุลาคม ค.ศ.2003 ยานอวกาศเสินโจว-5 พร้อมพันอากาศเอกหยาง ลี่เหว่ย นักบินอวกาศจีนคนแรกขึ้นสู่ห้วงอวกาศแล้วกลับคืนสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ 3 ในโลกที่มีเทคโนโลยีการบินอวกาศพร้อมมนุษย์เป็นของตนเอง
เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2005 ยานอวกาศเสินโจว-6 ได้พานักบินอวกาศจีน 2 คนขึ้นสู่อวกาศ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า เป้าหมายภารกิจการบินอวกาศจีนในช่องแรกเสร็จสิ้นลงด้วยความสำเร็จ
ความคืบหน้าในเทคโนโลยีหลายรายการ สิ้นสุดช่องที่ 2 อย่างรอบด้าน
เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.2008 ยานอวกาศเสินโจว-7 ขึ้นสู่อวกาศ บรรลุเป้าหมายที่ให้นักบินอวกาศออกไปปฏิบัติภารกิจนอกยาน พร้อมเสร็จสิ้นการทดลองด้านเทคโนโลยีหลายรายการ
เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2011 ยานอวกาศเสินโจว-8 กับยานทดลองเทียนกง-1 ปฏิบัติการเข้าหาและเชื่อมต่อโดยไม่มีนักบินอวกาศควบคุม 2 ครั้งในห้วงอวกาศ จีนสามารถสร้างเทคโนโลยีการเข้าหาและเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติ ปีถัดไปยานอวกาศเสินโจว-9 ได้พานักบินอวกาศ 3 คนขึ้นไปในอวกาศ บรรลุการเชื่อมต่อกับยานทดลองเทียนกง-1 อย่างราบรื่น เป็นการเสร็จสิ้นภารกิจการให้นักบินอวกาศควบคุมยานอวกาศเข้าหาและเชื่อมต่อกันเป็นครั้งแรก
เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.2013 ยานอวกาศเสินโจว-10 ไปพานักบินอวกาศ 3 คน ขึ้นไปในอวกาศและกลับคืนมาอย่างราบรื่น ระหว่างปฏิบัติภาระหน้าที่บนอวกาศ ยานเสินโจว-10 กับยานเทียนกง-1 ประสบความสำเร็จจากการเชื่อมต่อกันทั้งแบบอัตโนมัติและแบบที่มีนักบินอวกาศควบคุม พร้อมจัดกิจกรรมชั่วโมงเรียนในยานอวกาศที่ให้นักบินอวกาศเป็นผู้สอนครั้งแรก
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ.2016 จนถึงเดือนเมษายน ค.ศ.2017 ภารกิจการบินอวกาศที่ดำเนินการโดยจรวดขนส่งฉางเจิง-7 ยานเทียนกง-2 ยานเสินโจว-11 กับยานเทียนโจว-1 ทั้งหมด 4 ครั้ง ประกอบเป็นภารกิจการบินอวกาศในช่วงห้องปฏิบัติการในอวกาศ จนถึงขณะนั้นจีนบรรลุผลสำเร็จในช่องที่ 2 ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์อย่างสมบูรณ์
“3 ช่อง” เดินหน้าอย่างราบรื่น สถานีอวกาศจีนมีอนาคตที่ดีงาม
วันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.2022 จรวดขนส่งฉางเจิง-5B ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศที่เมืองเหวินชาง บนเกาะไห่หนาน และเสร็จสิ้นการบินด้วยความสำเร็จ เป็นการเปิดฉากภารกิจ “ช่องที่ 3” ของโครงการการบินอวกาศของจีนอย่างเป็นทางการ
LF/bo/peng