เมื่อวันที่ 21 กันยายน องค์การเอกชนต่างๆของญี่ปุ่นได้ยื่นการลงชื่อของประชาชน 42,000 คนต่อบริษัทไฟฟ้าโตเกียวและกระทรวงอุตสาหกรรมเศรษฐกิจญี่ปุ่น เพื่อคัดค้านแผนการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเล โดยเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นใช้วิธีการอื่น อนึ่ง ตามรายงานของสื่อญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว มีการรวบรวมรายชื่อประชาชนแล้วประมาณ 221,000 คนจากทั่วประเทศญี่ปุ่น
คาดว่า ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะได้จัดเก็บน้ำเสียนิวเคลียร์รวมแล้วกว่า 1.3 ล้านตัน พร้อมไปกับจำนวนน้ำเสียที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลญี่ปุ่นอ้างว่า มหาสมุทรมีความสามารถที่เรียกว่า "การทำให้บริสุทธิ์ด้วยตนเอง" และได้เพิ่มการปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล เพราะเป็นวิธีการที่ประหยัดแรงงานและประหยัดเงินมากที่สุด
หมายความว่า มีประชาชนของต่างประเทศและภูมิภาคต่างๆมากขึ้นจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงครั้งใหญ่ การคำนวณจากสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทางทะเลของเยอรมันระบุว่า หากนับตั้งแต่วันแรกที่ญี่ปุ่นระบายน้ำเสียนิวเคลียร์สู่ทะเล เพียงแค่ 57 วันก็จะแพร่กระจายไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกส่วนใหญ่ และในเวลาเพียง 3 ปี น้ำปนเปื้อนรังสีจะส่งผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความรู้สึกถึงวิกฤตอย่างแรงกล้า สามารถเห็นได้จากการป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ล่วงหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น แผ่นดินไหว อย่างไรก็ตาม ปัญหาน้ำเสียนิวเคลียร์ทำให้ผู้คนมองอีกด้านของญี่ปุ่นที่ขาดความรับผิดชอบและไม่คิดถึงผลข้างเคียง ที่ถือมหาสมุทรเป็นถังขยะของตัวเอง และทำให้ทั่วโลกต้องรับผลข้างเคียงจากความเห็นแก่ตัวของญี่ปุ่น เมื่อเผชิญกับคำถามต่างๆจากประชาคมโลก รัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้เล่ห์เหลี่ยมทุกรูปแบบ และบริษัทไฟฟ้าโตเกียวก็ถูกเปิดโปงซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการปลอมแปลงข้อมูลและปกปิดข้อเท็จจริง
การกำจัดน้ำปนเปื้อนนิวเคลียร์โรงงานฟุกุชิมะไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของญี่ปุ่นแต่อย่างใด แต่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมทางทะเลทั่วโลก ตลอดจนชีวิตและสุขภาพของประชาชนทุกประเทศ ความคิดเห็นของประชาชนไม่สามารถมองข้ามได้ ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงร่วมกันของชาวเมืองญี่ปุ่น หรือการคัดค้านอย่างรุนแรงจากผู้คนประเทศรอบข้าง รัฐบาลญี่ปุ่นต้องไม่แสร้งทำเป็นใบ้หูหนวก แต่ต้องกล้าเผชิญหน้าตอบรับและหยุดแผนปล่อยน้ำเสียอันตรายสู่ทะเลทันที
Yim/kt/cui