บทวิเคราะห์ : ทำไมปัญหาไต้หวันกับปัญหายูเครนเทียบกันมิได้?

2022-09-30 19:10:54 | CMG
Share with:

กว่าครึ่งปีมานี้ สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนได้รับความสนใจจากทั่วโลก จุดยืนของจีนในปัญหายูเครนแน่ชัดมาโดยตลอด จีนยึดมั่นตลอดมาว่า อำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของทุกประเทศล้วนควรได้รับการเคารพ วัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติล้วนควรได้รับการปฏิบัติตาม ความสนใจด้านความปลอดภัยอย่างมีเหตุมีผลของทุกประเทศล้วนควรได้รับการให้ความสำคัญ ความพยายามทั้งปวงที่มีประโยชน์ต่อการแก้วิกฤตด้วยสันติวิธีล้วนควรได้รับการสนับสนุน

ในฐานะประเทศที่มีความรับผิดชอบ จีนมุ่งที่จะประนีประนอมและส่งเสริมการเจรจามาโดยตลอด ไม่เคยนิ่งดูดายและก็ไม่ยั่วยุไม่ฉวยโอกาสหาผลประโยชน์ จีนจะอยู่เคียงข้างสันติภาพ แสดงบทบาทสร้างสรรค์ให้กับการผ่อนคลายสถานการณ์

ในขณะเดียวกัน เราก็พบว่า บางสื่อและเจ้าหน้าที่รัฐชาติตะวันตกเอาปัญหายูเครนเกี่ยวโยงกับปัญหาไต้หวัน กล่าวคำพูดที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมนี้ผิดโดยสิ้นเชิง

เป็นที่ทราบกันว่า ไต้หวันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนที่แบ่งแยกมิได้ ปัญหาไต้หวันเป็นกิจการภายในของจีน ส่วนปัญหายูเครนเป็นข้อพิพาทระหว่างรัสเซียกับยูเครนสองประเทศ โดยยูเครนเป็นประเทศที่มีอำนาจอธิปไตย ส่วนไต้หวันไม่เคยเป็นประเทศที่มีอำนาจอธิปไตย ปัญหาไต้หวันกับปัญหายูเครนมีความแตกต่างในแก่นแท้ สองประเด็นนี้ไม่สามารถเทียบกันได้ อนาคตของไต้หวันมีแต่ต้องตัดสินโดยประชาชนจีนทั้งปวงที่มีพี่น้องชาวไต้หวัน ความมุ่งหมายที่อ้างปัญหายูเครนกระทบกระเทียบและเกี่ยวโยงปัญหาไต้หวันล้วนเป็นการควบคุมทางการเมืองที่มีเจตนาร้าย ล้วนเป็นการเหยียบย่ำหลักการเคารพอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนตามอำเภอใจ ล้วนเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของจีนอย่างรุนแรง

เมื่อทบทวนประวัติศาสตร์ ปีค.ศ.1943 ผู้นำจีน สหรัฐและอังกฤษออกปฏิญญาไคโร กำหนดคืนดินแดนของจีนซึ่งรวมทั้งไต้หวันและหมู่เกาะเผิงหูที่ญี่ปุ่นยึดครองเอาไว้ให้จีน ต่อมาปี 1945 ปฏิญญาพ็อทซ์ดัมย้ำว่า คำเรียกร้องของปฏิญญาไคโรต้องปฏิบัติเป็นจริงขึ้น หลังจากนั้นปี 1971 ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 ยอมรับว่า ผู้แทนจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้แทนชอบธรรมอย่างเดียวของจีนในองค์การสหประชาชาติ บนพื้นฐานหลักการจีนเดียว 181 ประเทศทั่วโลกซึ่งรวมถึงสหรัฐฯ ด้วยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน

สหรัฐฯ ให้คำมั่นสัญญากับหลักการจีนเดียวอย่างจริงจัง ในแถลงการณ์ร่วมทั้ง 3 ฉบับระหว่างจีน-สหรัฐฯ สหรัฐฯยอมรับว่า ในโลกนี้มีจีนเดียว ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลชอบธรรมอย่างเดียวของจีน สหรัฐฯกับไต้หวันเพียงรักษาความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและธุรกิจที่ไม่เป็นทางการ สหรัฐฯยอมรับว่า ไม่มุ่งที่จะดำเนินนโยบายขายอาวุธให้กับไต้หวันเป็นระยะยาว จะลดการขายอาวุธให้กับไต้หวันลงเรื่อยๆ นานวันเข้าปัญหานี้จะคลี่คลายด้วยดีในที่สุด

การเกิดปัญหาไต้หวัน ถ้ามองในแง่แก่นแท้คือปัญหากิจการภายในของจีน แต่เมื่อมีการแทรกแซงของกลุ่มอิทธิพลสหรัฐฯ ปัญหาไต้หวันจึงกลายเป็นปัญหาทางการเมืองในแก่นแท้และละเอียดอ่อนมากที่สุดระหว่างจีน-สหรัฐฯ โดยบางคนย้ำหลักการอำนาจอธิปไตยในปัญหายูเครน แต่กลับทำลายอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของจีน นับเป็นสองมาตรฐานอย่างแท้จริง

ความแตกต่างในลักษณะแก่นแท้ระหว่างปัญหาไต้หวันและปัญหายูเครน ได้บ่งชี้ว่า สองประเด็นนี้ไม่สามารถเทียบกันได้ อำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศใดซึ่งรวมถึงยูเครนควรได้รับการเคารพ ส่วนอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของจีนในปัญหาไต้หวันก็ควรได้รับการเคารพด้วย สองฝั่งช่องแคบไต้หวัน มีต้นกำเนิดเดียวกันทางประวัติศาสตร์ และรากฐานเดียวกันทางวัฒนธรรม ล้วนเป็นดินแดนของจีน อนาคตและความหวังของไต้หวันอยู่ที่การพัฒนาความสัมพันธ์สองฝั่งช่องแคบไต้หวันด้วยสันติวิธี มีความเป็นเอกภาพด้วยสันติวิธี ไต้หวันย่อมจะกลับคืนสู่มาตุภูมิ

 

เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)


(Yim/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-11-2567)

  • เกาะกระแสจีน (23-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)