เล่าเรื่องเป้าหมายการต่อสู้ร้อยปีที่ 2 ของชาวจีนในวันชาติจีน

2022-10-01 10:39:48 | CMG
Share with:

      วันนี้ (1 ต.ค.) เป็นวันชาติจีน เพื่อฉลองการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 และหลังช่วงหยุดพิเศษ 7 วันเพื่อฉลองวันชาติจีนแล้ว ชาวจีนยังจะต้อนรับกิจกรรมใหญ่อีกประการ คือ การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 (สมัชชา 20)

      เหตุใดชาวจีนตั้งความปรารถนาสูงต่อการประชุมสมัชชา 20 ก็เพราะว่าการประชุมครั้งนี้จะมีการวางแผนทางยุทธศาสตร์และเสนอมาตรการสำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายการต่อสู้ร้อยปีที่ 2 ของจีน

      เป้าหมายการต่อสู้ร้อยปีแรก คือ การสร้างสรรค์สังคมอยู่ดีมีสุขอย่างรอบด้านเมื่อครบ 100 ปีแห่งการสถาปนาพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งได้บรรลุเป็นจริงเมื่อปีที่แล้ว ส่วนเป้าหมายการต่อสู้ร้อยปีที่ 2 คือ ถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 21 การสร้างสรรค์จีนให้เป็นประเทศสังคมนิยมที่ทันสมัยและพร้อมซึ่งความเข้มแข็ง เป็นประชาธิปไตย มีอารยธรรม ความสมานฉันท์และงดงาม

      ที่จริง ในปัจจุบันหลายประเทศต่างกำลังแสวงหาความเป็นประเทศที่ทันยุคทันสมัย ความหมายของ “ทันสมัย” จึงมีความหลากหลายและเปิดรับกว้างขึ้น ความทันสมัยของแต่ละประเทศก็มีลักษณะของตน ส่วนความทันสมัยของจีนกีมีเอกลักษณ์โดดเด่น เรียกได้ว่า “เป็นความทันสมัยแบบจีน” ซึ่งไม่เพียงแต่นำความสุขมาสู่ชาวจีนเท่านั้น หากยังนำผลประโยชน์สู่ชาวโลกด้วย

      ประการแรกคือมีส่วนช่วยต่อการบรรเทาความยากจนในโลก ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ตามมาตรฐานความยากจนของโลกที่ธนาคารโลกกำหนดไว้ ประชากรยากจนในจีนลดลงร่วม 800 ล้านคน คิดเป็น 75% ขึ้นไปของยอดการขจัดความยากจนทั้งหมดทั่วโลกในช่วงเดียวกัน ประการที่ 2 มีส่วนช่วยต่อการรับมือกับวิกฤตทางอาหารในโลก ในฐานะเป็นประเทศผลิตธัญญาหารมากที่สุดในโลก จีนใช้ที่ดินเพาะปลูกไม่ถึง 9% ของโลก แต่ผลิตได้ 25% ของธัญญาหารทั่วโลก แก้ปัญหาปากทองของประชากรทั่วโลกได้ประมาณ 20 %

      ความทันสมัยแบบจีนมีลักษณะพิเศษอีกประการ คือ แสวงความมั่งคั่งร่วมกัน ซึ่งชาวจีนมักจะพูดว่า “ไม่อาจทิ้งใครคนใดคนหนึ่ง” ความทันสมัยแบบจีน สะท้อนการเปิดกว้างในระดับสูงยิ่ง แบ่งปันโอกาสตลาดแก่ชาวโลกและให้พลังแก่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มากยิ่ง

      กระบวนการสร้างความทันสมัยแบบจีนยังจะนำผลประโยชน์ด้านภาวะนิเวศ ปีหลังๆนี้ คนที่รักสัตว์คงได้เห็นผลงานของจีนในการปรับภาวะนิเวศและสร้างสรรค์อารยธรรมเชิงนิเวศ เพื่อเสริมงานอนุรักษ์ความหลายหลายทางชีวภาพของจีนมากยิ่งขึ้น จีนได้กำหนดเขตอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง รวมถึงอุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน เขตอนุรักษ์แพนด้าแห่งชาติ และอุทยานป่าฝนไหหลำ เป็นต้น ซึ่งมีพื้นที่อนุรักษ์ถึง 230,000 ตารางกิโลเมตร ขณะเดียวกัน เพื่ออนุรักษ์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จีนยังทุ่มเทกำลังเพื่อลดการปล่อยมลพิษและพัฒนาพลังงานสีเขียวอย่างมากด้วย


Yim/Sun

  • เสียงข่าวประจำวัน (16-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (16-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (16-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-04-2567)