บทวิเคราะห์ : "โศกนาฏกรรมฟลอยด์"เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นเรื่องน่าอายของสหรัฐฯ

2022-10-07 11:38:32 | CMG
Share with:

เมื่อเร็วๆนี้ ในการประชุมสมัยที่ 51 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ผู้แทนจีนได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่เลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยในสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ  จีนเรียกร้องให้พวกเขาไม่มองข้ามปัญหาการเหยียดเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ  ป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมที่คล้ายคลึงกับการเสียชีวิตของนายจอร์จ ฟลอยด์อีกครั้ง

ตามสถิติ หนึ่งปีหลังจากที่ฟลอยด์ถูกตำรวจใช้เข่ากดคอจนขาดอากาศหายใจและเสียชีวิต ตำรวจสหรัฐอเมริกาได้สังหารชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันอย่างน้อย 229 คน โศกนาฏกรรมเหล่านี้ ได้เปิดโปงความหน้าซื่อใจคดทางด้านสิทธิมนุษยชนแบบอเมริกันครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้เห็นชัดเจนว่า สังคมอเมริกันไม่ใช่สวรรค์ทาง "ประชาธิปไตย" ที่นักการเมืองเอามาโอ้อวด แต่เป็นสังคมที่เจ็บป่วย แม้แต่สิทธิในการเอาชีวิตรอดของประชาชนก็เอาไม่อยู่

เหตุใดการบังคับใช้กฎหมายต่อชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันด้วยความรุนแรงจึงแพร่หลายมากในสหรัฐอเมริกา สิ่งนี้สะท้อนถึงการเหยียดเชื้อชาติที่หยั่งรากลึกในสังคมอเมริกัน ตลอดช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ไม่มีความก้าวหน้าทางเชื้อชาติที่แท้จริงเกิดขึ้นในอเมริกา

นักวิเคราะห์หลายคนชี้ให้เห็นว่า ความจริงในสังคมของอเมริกา คือ ชนกลุ่มน้อยจะได้รับความสำคัญเชิงสัญลักษณ์เมื่อมี "การเลือกตั้ง" เท่านั้น  และนักการเมืองอเมริกันไม่มีความสนใจหรือเคยใช้ความพยายามในการปรับปรุงสังคมและระบบต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการเหยียดเชื้อชาติ

ในการประชุมสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติสมัยที่ 51 ผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อจัดการกับการเหยียดเชื้อชาติอย่างเป็นระบบ

หลังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากประชาคมโลก ฝ่ายสหรัฐฯไม่ควรทำเป็นไม่ได้ยิน แต่ควรใช้สิ่งเหล่านี้เป็นแรงผลักดันในการปรับปรุงสภาพด้านสิทธิมนุษยชนของตน ทบทวนและเปลี่ยนแปลงกฎหมาย นโยบาย และมาตรการที่เลือกปฏิบัติอย่างละเอียดรอบด้าน  ตรวจสอบกรณีต่างๆที่ใช้กำลังรุนแรงในการตรวจสอบคดี ลงโทษต่อผู้กระทำผิดและชดใช้ผู้เสียหาย


Yim/Lei/Cui

 

 

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (16-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)