สำนักข่าวซินหวารายงานว่า วันที่ 11 ตุลาคม ที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ออกรายงานว่า ในอีก 8 ปีข้างหน้า การสนองไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดของโลกจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า จึงจะสามารถยับยั้งปัญหาโลกร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ มิฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วตลอดจนภาวะการขาดแคลนน้ำ จะส่งผลต่อความมั่นคงพลังงานของโลก
รายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกตั้งหัวข้อว่า พลังงาน การบริการด้านดินฟ้าอากาศประจำปี 2022 โดยระบุว่า เหตุการณ์อากาศสุดขั้วในโลกเกิดขึ้นนับวันจะรุนแรง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยด้านพลังงานของโลก และกระทบอุปทานด้านเชื้อเพลิง การผลิตพลังงานและสาธารณรูปโภคด้านพลังงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยตรง
รายงานดังกล่าวระบุด้วยว่า อุปทานด้านพลังงานของโลกส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ โดยเมื่อปี2020 พลังงานไฟฟ้าที่มาจากพลังงานความร้อน พลังนิวเคลียร์และพลังน้ำ โดย 87% ต้องพึ่งพาอาศัยแหล่งน้ำโดยตรง พร้อมกันนี้ มีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ระบายความร้อนด้วยน้ำจืดมี 33% ตั้งอยู่ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ และมีโรงงานกำเนิดไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ 15% ก็ตั้งอยู่ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำอย่างมากเช่นกัน การเปลี่ยนไปใช้พลังงานที่หมุนเวียนจะช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำ เพราะว่าการกำเนิดไฟฟ้าด้วยพลังลมหรือแสงอาทิตย์จะใช้ปริมาณน้ำน้อยกว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อน
รายงานดังกล่าวเสนอเป็นพิเศษว่า ควรพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในทวีปแอฟริกาให้มากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบัน แอฟริกากำลังเผชิญสภาพที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้พื้นที่แห้งแล้งของแอฟริกาขยายกว้างออกไปโดยต้นทุนที่ต่ำของการใช้พลังงานหมุนเวียนได้นำมาซึ่งความหวังใหม่สู่แอฟริกา ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา การลงทุนด้านพลังงานสะอาดมีเพียง 2% ได้ใช้งานอยู่ในแอฟริกา ความจริง แอฟริกามีพลังงานแสงอาทิตย์คิดเป็น 60% ของโลก แต่กําลังการผลิตติดตั้งอุปกรณ์ที่เปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้าหรือเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) คิดเป็น 1% ของโลกเท่านั้น
ในอนาคตบรรดาประเทศแอฟริกามีศักยภาพในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและมีส่วนร่วมในตลาดพลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น
(YING/ZHOU)