บทวิเคราะห์ : เหตุใดจีนได้อันดับสูงขึ้นอย่างมั่นคงจากการจัดอันดับความสามารถด้านนวัตกรรมทั่วโลก

2022-10-15 09:25:20 | CMG
Share with:

ตามผลการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลกประจำปี 2022 ที่เพิ่งเผยแพร่โดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก จีนครองอันดับที่ 11 ในการจัดอันดับโดยรวมด้านความสามารถการสร้างนวัตกรรม สูงขึ้น 1 อันดับจากปีที่แล้ว  และสูงขึ้นถึง  23 อันดับจากปี 2012  ผู้คนอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่าเหตุใดจีนจึงสามารถได้อันดับสูงขึ้นอย่างมั่นคงจากการจัดอันดับความสามารถด้านนวัตกรรมทั่วโลก?

ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าการให้ความสำคัญในระดับสูงของภาครัฐเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นับตั้งแต่การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 เป็นต้นมา ประเทศจีนให้ความสำคัญกับนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ทุ่มเทดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอย่างจริงจัง ผลักดันการปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมสร้างการวิจัยพื้นฐานอย่างไม่ขาดสาย ดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีหลักที่มีความสำคัญเป็นพิเศษผ่านการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากความได้เปรียบด้านระบบที่สามารถ"รวมศูนย์กำลังทำเรื่องใหญ่"ได้ ความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ก้าวขึ้นสู่ระดับใหม่ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีนายสีจิ้นผิงเป็นแกนหลักให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเป็นอันดับแรกในแนวคิดใหม่แห่งการพัฒนา ได้เสนอข้อวินิจฉัยสำคัญที่ว่า "นวัตกรรมเป็นพลังขับเคลื่อนอันดับที่ 1 ในการชี้นำการพัฒนา"

ตามสถิติในปี 2021 การใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของจีนรั้งอันดับ 2 ของโลก อัตราส่วนของการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา(R&D)ของทั่วทั้งสังคมต่อ GDP อยู่ในระดับ 2.44%  งบประมาณการวิจัยพื้นฐานเพิ่มขึ้น 15.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี คิดเป็น 6.09 % ของงบประมาณการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งสังคม ตามข้อตกลงด้านเทคโนโลยีคาดว่ามีมูลค่าการซื้อขายเกิน 3.7 ล้านล้านหยวน ประเทศจีนได้กลายเป็นผู้สร้างคุณูปการสำคัญในด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก

รายงานผลการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลกประจำปี 2022 ระบุว่า ในบรรดา 132 เขตเศรษฐกิจ จำนวนกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ติด 100 อันดับระดับโลกของจีนมีถึง  21 กลุ่ม เพิ่มขึ้น 14 กลุ่มจากปี 2017 นับเป็นครั้งแรกที่ตัวเลขนี้เท่ากับสหรัฐอเมริกาซึ่งรั้งอันดับ 1 ในโลก นี่พิสูจน์ให้เห็นว่าจีนประสบความสำเร็จในการพัฒนาการสร้างนวัตกรรมระดับภูมิภาค ก่อนหน้านี้จีนได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์อย่างชัดเจนเพื่อสนับสนุนปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเขตอ่าวใหญ่กวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าในการสร้างศูนย์นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสากล ผลักดันการสร้างประชาคมแห่งการร่วมสร้างนวัตกรรมในเขตพื้นที่กรุงปักกิ่ง-นครเทียนจิน-มณฑลเหอเป่ย ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เขตอ่าวใหญ่กวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ฯลฯ  สนับสนุนเมืองเฉิงตู นครฉงชิ่ง และเมืองอู่ฮั่นในการสร้างศูนย์นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทรงอิทธิพลระดับชาติ เสริมสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันตก ขับเคลื่อนการสร้างเขตสาธิตนวัตกรรมและเขตไฮเทคระดับชาติ การสร้างเขตไฮเทคระดับสูงในทั่วประเทศได้บรรลุผลสำเร็จอย่างเด่นชัด  ได้ก่อรูปขึ้นในขั้นต้นเป็นโครงสร้างด้านวัตกรรมระดับภูมิภาคที่ครอบคลุมและหลายระดับ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศูนย์นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสากล 3 แห่งที่ตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ และเขตอ่าวใหญ่กวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊านั้นมีข้อได้เปรียบที่โดดเด่น โดยมีความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวเข้าสู่แถวหน้าระดับนานาชาติแล้ว ในรายชื่อกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 100 อันดับแรกของโลก เซินเจิ้น-ฮ่องกง-กวางโจวอยู่ในอันดับที่ 2  ปักกิ่งอยู่ในอันดับที่ 3 และเซี่ยงไฮ้-ซูโจวอยู่ในอันดับที่ 6

ผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า สถานภาพที่เป็นแกนหลักแห่งการสร้างนวัตกรรมของวิสาหกิจจีนได้รับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนของวิสาหกิจในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งสังคมครองอันดับที่ 3 ของโลก เพิ่มขึ้น 1 อันดับจากปี 2021 ความสามารถด้านนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษายกระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยชิงหัวและมหาวิทยาลัยฟู่ตั้นได้รับการคัดเลือกให้อยู่ใน 50 อันดับแรกใน "การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยกลุ่มการศึกษาทั่วโลก QS " ติดต่อกันหลายปี ความร่วมมือระหว่างภาคการผลิต การศึกษาและการวิจัยได้รับการเสริมสร้างอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมรั้งอันดับที่ 5  การส่งออกสินค้าของจีนอยู่ในแนวหน้าของโลก สัดส่วนการส่งออกสุทธิของผลิตภัณฑ์ไฮเทคในยอดการค้าครองอันดับที่ 4

จีนเดินหน้าลงลึกปรับเปลี่ยนภาระหน้าที่ของภาครัฐ สภาพแวดล้อมด้านระบบที่ปกป้องและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างคงเส้นคงวา ซึ่งก็ได้สะท้อนให้เห็นในผลการประเมินที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ด้วย เช่น คะแนนโดยรวมด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอยู่ในอันดับที่ 13  นโยบายเกี่ยวกับการก่อตั้งและประกอบธุรกิจและดัชนีชี้วัดทางวัฒนธรรมอยู่ในอันดับที่ 9

 Daren Tang ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลกให้มุมมองว่า "ความสำเร็จของจีนเป็นผลจากการที่ประเทศให้ความสนใจมากในนวัตกรรมในฐานะเครื่องยนต์ขับเคลื่อนการเติบโต จีนได้สร้างระบบนิเวศแห่งการสร้างนวัตกรรมด้วยรูปแบบที่ครอบคลุมเป็นพิเศษ นี่คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนสามารถยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมให้สูงขึ้นได้อย่างมั่นคง”


YIM/LU

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-04-2567)

  • รถไฟจีน-ลาว รับส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนกว่า 180,000 คน/ครั้ง