กลุ่มสถาปัตยกรรม “เส้นแกนกลางปักกิ่ง” ให้ชาวโลกเข้าใจวัฒนธรรมจีนมากขึ้น

2022-11-03 09:45:41 | CRI
Share with:

เส้นแกนกลางของปักกิ่ง (The Central Axis of Beijing)  หมายถึง กลุ่มสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงปักกิ่ง โดยเริ่มต้นจากทิศเหนือ คือ หอกลองและหอระฆัง ผ่านแนวใจกลางเมืองลงสู่ทิศใต้ พาดผ่านพื้นที่สำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้  สะพานว่านหนิง, ภูเขาจิ่งซาน, พระราชวังโบราณกู้กง, ศาลเจ้าไท่เมี่ยว, หอบูชาเซ่อจี้, จัตุรัสเทียนอันเหมิน, ประตูเมืองเจิ้งหยาง, เขตเทียนเฉียว, หอไหว้ฟ้าเถียนทัน และหอบูชาการเกษตรเซียนหนง ทอดยาวไปจบที่ประตูเมืองหย่งติ้ง

โดยความยาวของแนวเส้นแกนกลางนี้มีระยะทางประมาณ  7.8 กิโลเมตร พาดผ่านเขตเมืองเก่าปักกิ่งแนวเหนือใต้ และถือเป็นตัวกำหนดผังเมืองของตัวเมืองเก่าของปักกิ่งมาโดยตลอด

สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่เหล่านี้ ได้รวบรวมสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า  และเป็นหมุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ทั้งเป็นสถานที่จัดพิธี และเป็นสัญลักษณ์ในประวัติศาสตร์จีนนับตั้งแต่ศตวรรษ 13 แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมจีนที่มีเอกลักษณ์และมีอายุอันยาวนาน

หลายปีมานี้ เทศบาลกรุงปักกิ่งได้บูรณะ รับคืนโบราณวัตถุสำคัญและสิ่งก่อสร้างโบราณในสองฝั่งเส้นแกนกลางปักกิ่ง ช่วยเหลือฟื้นฟูและอนุรักษ์เมืองเก่า ปัจจุบัน กำลังดำเนินการยื่นขอมรดกวัฒนธรรมโลกของเส้นแกนกลางปักกิ่ง

หลายปีมานี้ การยื่นขอเข้าบัญชีรายชื่อมรดกโลกของเส้นแกนกลางปักกิ่งเข้าสู่กระบวนการเร่งดำเนินการ โดยสำนักงานโบราณวัตถุแห่งชาติจีนประกาศยืนยัน “เส้นแกนกลางปักกิ่ง” จะเป็นโครงการยื่นขอมรดกวัฒนธรรมโลกปี 2024 เอกสารยื่นขอกำลังปรับปรุงแก้ไขและแปลเป็นภาษาต่างประเทศอย่างราบรื่น และจะยื่นต่อศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกอย่างเป็นทางการก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 2023

ส่วน “ข้อกำหนดอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเส้นแกนกลางปักกิ่ง” ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนกรุงปักกิ่งแล้ว จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปี 2022  นับเป็นหลักการทางกฎหมายที่จะคุ้มครองการอนุรักษ์มรดกเส้นแกนกลางปักกิ่งด้วย

เมื่อเดินในถนนคนเดิน “เฉียนเหมิน” ที่กรุงปักกิ่ง สิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ถนนฝั่งตรงข้ามและดึงดูดสายตาของผู้คนคงจะหนีไม่พ้น ป้อมยิงธนูของประตูเมืองโบราณ “เจิ้งหยาง”

ป้อมยิงธนูประตูเจิ้งหยางเพิ่งบูรณะเสร็จสมบูรณ์ หลังดำเนินการเป็นเวลา 1 ปี ได้เปิดตัวด้วยโฉมหน้าใหม่ การซ่อมแซมรายการนี้เป็นเพียงหนึ่งในงานอนุรักษ์สิ่งปลูกสร้างแนวเส้นแกนกลางปักกิ่งเท่านั้น

การฟื้นฟูศาลเจ้าไท่เมี่ยว หอเซ่อจี้ หอไหว้ฟ้าเทียนถัน ภูเขาจิ่งซาน หอหวงสื่อเฉิง(หอเก็บเอกสารของพระบรมวงศานุวงศ์) และสถานที่อื่นๆได้เสร็จสิ้นตามลำดับ

ทางตอนใต้ของเส้นแกนกลางปักกิ่งมีทัศนียภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ส่วนสถาปัตยกรรมโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งในหอกลอง หอระฆัง ประตูเมืองโบราณเจิ้งหยาง หอเซียนหนง และภูเขาจิ่งซาน ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมและอนุรักษ์ เสมือนเป็นการฟื้นฟูโฉมหน้าเมืองเก่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป

สะพานว่านหนิงที่สืบทอดจากสมัยราชวงศ์หยวนได้รับการอนุรักษ์ ขณะเดียวกันได้จำกัดน้ำหนักรถและความเร็วของการขับขี่ยานยนต์ที่สัญจรผ่าน ภูเขาจิ่งซานได้เปิดให้เข้าชมหมู่สิ่งก่อสร้างของพระที่นั่งโซ่วหวงหลังซ่อมแซมเสร็จ โรงพยาบาลเป่ยไห่และห้างตงเทียนอี้ สิ่งปลูกสร้างยุคสมัยใหม่ได้ลดชั้นก่อสร้างให้น้อยลง เพื่อคงทัศนียภาพของเมืองเก่าเอาไว้ รื้อโรงงานเครื่องจักรสวนพืชในหอไหว้ฟ้า เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประชาชนเที่ยวพักผ่อนได้เป็น 32,000 ตารางเมตร นี่เป็นผลงานนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ที่เทศบาลกรุงปักกิ่งมุ่งปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ 3 ปีในการอนุรักษ์ “เส้นแกนกลางปักกิ่ง” หลังทุ่มเทกำลังอย่างยิ่งในการปฏิบัติภาระหน้าที่สำคัญ 48 รายการ รวมทั้งการฟื้นฟูโบราณสถาน การอนุรักษ์โบราณวัตถุ การบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ยังได้เปิดตัว “สัตว์มงคลน้อยแห่งสายน้ำแห่งเส้นแกนกลางปักกิ่ง” เป็นตัวการ์ตูน “กงฟู่” ชื่อเฉพาะของสัตว์ในหนังสือโบราณของจีน ตามตำนานเล่าว่า กงฟู่เป็นลูกมังกรที่สามารถควบคุมน้ำได้ โดยสัตว์มงคลนี้จะกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งเส้นแกนกลางปักกิ่ง  ด้วยการออกแบบที่ดูน่ารักและเป็นมิตร จะช่วยทำให้ผู้คนเข้าถึง พร้อมสัมผัสกับเรื่องราวทางวัฒนธรรมเส้นแกนกลางอันมีชีวิตชีวาของกรุงปักกิ่งได้อย่างลึกซึ้ง และเปี่ยมไปด้วยความประทับใจ


Yim/Ping

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)