“ป่าปลูกไซ่ฮั่นป้า” เกราะกำบังทางธรรมชาติที่สำคัญ

2022-11-10 20:31:35 | CRI
Share with:

เมื่อเร็วๆ นี้  การประชุมสมัชชาฯ ครั้งที่ 20 พึ่งสิ้นสุดลงที่กรุงปักกิ่ง  รายงานการประชุมสมัชชาฯ ครั้งที่ 20 ได้ระบุเรื่องของการอนุรักษ์ สมัชชา 20 เล็งเห็นความสำคัญของธรรมชาติมาก ธรรมชาติเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่มนุษย์ได้ดำรงชีวิต และพัฒนา  การเคารพธรรมชาติ และการอนุรักษ์ธรรมชาติ จะเป็นข้อเรียกร้องภายในที่พัฒนาประเทศสังคมนิยมทันสมัยในรอบด้าน  แนวคิด น้ำใสภูเขาเขียวก็คือภูเขาทองภูเขาเงิน เป็นแนวการปฏิบัติเพื่ออนุรักษ์ และวางแผนการพัฒนาให้มนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน

ไซ่ฮั่นป้าก็เป็นตัวอย่างที่ดีที่ได้ผลักดันการพัฒนาแบบสีเขียว พัฒนาให้มนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน

ป่าปลูกไซ่ฮั่นป้า ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของมณฑลเหอเป่ย ห่างจากกรุงปักกิ่งไปทางเหนือกว่า 400 กิโลเมตร เป็นแหล่งน้ำสะอาดจำนวน 137 ล้านลูกบาศก์เมตร และปล่อยก๊าซออกซิเจน 5.5 แสนตัน ให้กับกรุงปักกิ่งและนครเทียนสิน  ถือเป็นเกราะกำบังทางนิเวศวิทยาที่สำคัญของทั้งสองเมืองนี้

ในเวลากว่า 50 ปี ชาวไซ่ฮั่นป้า 3 ชั่วอายุคน  ได้ปรับเปลี่ยนทุ่งกว้างอันรกร้างในอดีตที่ไร้ซึ่งสัตว์ปีกอยู่อาศัย มีแต่ฝุ่นทรายกระจายฟุ้งเต็มท้องฟ้า  ให้เป็นผืนป่าสีเขียวกว่า 600 ล้นตารางเมตรด้วยฝีมือมนุษย์ ประมาณว่าเท่ากับคนจีน 3 คนปลูกต้นไม้ 1 ต้น  เป็นการสร้างต้นแบบอันดีงามแก่อารยธรรมนิเวศวิทยาจีนและโลก

เมื่อย้อนเวลากลับไปยุคสมัยต้นราชวงศ์ชิง  ไซ่ฮั่นป้าเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์  มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่จำนวนมาก   เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานมู่หลานเขตล่าสัตว์ของราชสำนัก  แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปส่งผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้

ช่วงปลายราชวงศ์ชิง  ประเทศจีนเริ่มประสบกับความเสื่อมถอย  เพื่อชดเชยท้องพระคลังที่ว่างเปล่า  ได้ทำการบุกเบิกป่าไม้และพื้นที่รกร้าง  นับแต่นั้นมา  ต้นไม้ถูกตัดโค่นลงอย่างบ้าระห่ำ  สภาพป่าดงดิบค่อยๆ เสื่อมโทรมลงจนกลายเป็นผืนทะเลทรายรกร้าง   การลงโทษของธรรมชาติก่อเกิดน้ำป่าไหลหลาก ลมหนาวจากเขตไซบีเรียนในทางเหนือ และพายุทรายจากที่ราบสูงมองโกลถูกพัดโหมกระหน่ำลงใต้

ในยุคต้นทศวรรษปี 1960  จีนได้ตัดสินใจสร้างป่าผืนใหญ่ระดับชาติขึ้นใหม่  ระดมการฟื้นฟูต้นไม้  เป็นแนวสกัดกั้นลมหนาวและพายุทราย  โดยเมื่อปี 1958  ท้องที่ต่างๆ ได้ลุกขึ้นมารณรงค์ด้วยการเริ่มปลูกป่าขนาดเล็ก  อากาศที่ทรหด ไม่เพียงต้นกล้าไม่อาจยืนต้นอยู่รอดได้  มนุษย์ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาก็ไม่อาจทนดำรงชีวิตในสภาพที่เลวร้ายนี้ได้เช่นกัน  จึงต้องรีบหยุดทำการ แต่ก็เริ่มเห็นว่าหลังจากนี้ จีนดำเนินการจริงจัง เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะเป็นการลงพื้นที่ของหน่วยงานช่วงแรก ๆ สำรวจสภาพพื้นที่ โดยในปี 1961  นายหลิว คุน  รองอธิบดีกรมกิจการป่าไม้แห่งชาติ กระทรวงป่าไม้ในเวลานั้นได้รับคำสั่งให้แก้ปัญหาวิกฤตนี้  จึงนำคณะนักวิชาการเดินทางมายังไซ่ฮั่นป้า และเริ่มงานปลูกป่าด้วยระบบจักรกลขึ้น

ปี 1962  คณะทำงาน 369 คนที่มาจาก 18 เขตและมณฑลทั่วประเทศจีน เดินทางมายังไซ่ฮั่นป้า  เพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ปลูกต้นไม้ของที่นี่    คณะบุคคลเหล่านี้  อายุเฉลี่ยไม่ถึง 24 ปี  มี 127 คนเพิ่งจบจากมหาวิทยาลัยและสถาบันอาชีวะศึกษา

หลังจากข้ามผ่านความล้มเหลวจากการเพาะปลูกต้นกล้าที่ลำเลียงมาจากต่างถิ่น  ต้นถูดใบไม้ผลิของปี 1964  เจ้าหน้าที่ปลูกป่าได้รวมศูนย์การทำงานในพื้นที่หม่าถีเคิงที่มีเขาล้อมรอบสามด้าน  ทำงานต่อเนื่องกันสามวัน  ได้บรรจงปลูกต้นกล้าสนจนเต็มพื้นที่รกร้างขนาดกว่า 340,000 ตารางเมตร

ด้วยจิตใจและอุดมการณ์ที่มุ่งมั่นเอาจริงเหนือสิ่งอื่นใด  สุดท้ายก็ประสบผลสำเร็จงอกงาม  เพราะตัวแทนชาวจีนกลุ่มนี้ได้ใช้เวลาเพียง 20 ปี  ปลูกต้นไม้จำนวนกว่า 320 ล้านต้น บนพื้นที่กว่า 600 ล้านตารางเมตรของไซ่ฮั่นป้า  นับแต่นั้นมา  แนวกำบังระบบนิเวศที่แข็งแกร่งได้ตั้งมั่นขึ้นอีกคำรบหนึ่ง  ฝุ่นทรายที่ถาโถมใส่พื้นที่ทางตอนใต้ของจีน ที่มาจากเขตหุนซ่านต๋าเค่อก็ถูกยับยั้งลง

ไม่เพียงท่านี้ ณ ศูนย์ประสานงานด้านสิ่งแวดล้อมปักกิ่ง มีรายงานว่า พื้นที่ป่าปลูกไซ่ฮั่นป้าได้ขึ้นป้ายขายไม้ป่าที่ปลูกขึ้นใหม่แล้ว และมีตัวเลขการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1,830,000 ตัน  บรรลุการค้าไม้จากป่าปลูกทั้งหมด 475 ตัน สร้างผลกำไรกว่าหนึ่งร้อยล้านหยวน เหมือนจะเกิดประโยชน์หมุนเวียนอย่างมั่นคง และแนวคิดที่น่าสนใจอีกด้วย

 เห็นได้จากประเด็นการบุกเบิกงานอนุรักษ์ของที่นี่  ชาวไซ่ฮั่นป้ามักมีมุมมองดีๆ ที่คนทั่วไปคาดคิดไม่ถึงเสมอ   นายเฉิน  จื้อชิง รองหัวหน้าโครงการปลูกป่ากล่าวว่า  ต้องการทำให้ทุ่งรกร้างกลายเป็นป่าดงดิบ  ป่าดงดิบเปลี่ยนมาเป็นน้ำใสเขาเขียว  และเปลี่ยนจากน้ำใสเขาเขียวเป็นภูเขาเงินภูเขาทอง  ไซ่ฮั่นป้าพัฒนาจนกลายเป็นห่วงโซ่ระบบนิเวศที่ดี

ปัจจุบัน  ฟาร์มปลูกป่าคือแหล่งท่องเที่ยวสุดฮอต  นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ         ตามแผนงานโครงการพัฒนา  พื้นที่ไซ่ฮั่นป้าทั้งหมดสามารถรองรับคนได้จำนวนล้านคน   แต่ชาวไซ่ฮั่นป้ากลับตัดสินใจว่า  จะควบคุมจำนวนผู้เข้าชมอุทยานอย่างเข็มงวด  ควบคุมเวลาเข้า  ควบคุมการพัฒนาพื้นที่  ควบคุมการยึดครองพื้นที่ป่า

ชาวไซ่ฮั่นป้าไม่ใช่ไม่ต้องการเงิน  แต่ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาและอนุรักษ์มากกว่า  เพราะถ้าทำแล้วส่งผลเสีย  กระทบต่อการสร้างพื้นที่สีเขียว  แม้จะมีเงินก้อนใหญ่วางอยู่ตรงหน้าก็มองว่าไม่คุ้มค่า ชาวไซ่ฮั่น ซึ่งการ “ลงแรงถางพื้นที่” ของชาวไซ่ฮั่นป้านี้ จะเน้นไปที่การสร้างอารยธรรมนิเวศวิทยา  การมองการณ์ไกล  และการมองภาพผลลัพธ์โดยรวมมากกว่า

สำหรับงาน เฝ้าระวังรักษาสายน้ำให้ใสและมีขุนเขาเขียวขจี  ชาวไซ่ฮั่นป้าได้สร้างภูเขาเงินภูเขาทองซึ่งยากที่จะประเมินมูลค่าได้  ด้วยจำนวนต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในขณะนี้  ทุกๆ ปี  ไซ่ฮั่นป้าได้ปล่อยก๊าซออกซิเจนให้ผู้คนได้รับอากาศบริสุทธิ์คิดได้เป็นจำนวนมากถึงเกือบ 2 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม  ในช่วงกว่า 60 ปี  ไซ่ฮั่นป้าได้พัฒนาจากทุ่งกว้างอันรกร้างในอดีตให้กลายเป็นผืนป่าสีเขียวกว่า 600 ล้านตารางเมตร ลำเลียงน้ำสะอาดจำนวน 137 ล้านลูกบาศก์เมตร  ปล่อยก๊าซออกซิเจน 5.5 แสนตันไปยังปักกิ่งและเทียนสิน   ทั้งนี้ก็เกิดขึ้นจากความพยายามของชาวไซ่ฮั่นป้าในทั้งสามชั่วอายุคน   


 

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)