แม่น้ำแยงซีเผยให้เห็นซึ่งความมีชีวิตชีวาอีกครั้ง

2022-12-01 13:12:12 | CRI
Share with:

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนมุ่งมั่นในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาของแม่น้ำแยงซี และแสวงหาการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปิดและปรับปรุงธุรกิจผลิตเคมีภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดมลพิษกว่า 110,000 ราย การควบคุมการปล่อยสิ่งปฏิกูลในเมืองอย่างเข้มงวด การสร้างเครือข่ายท่อระบายน้ำทิ้งรวม 66,200 กิโลเมตรตามระเบียงเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซี พร้อมปลูกต้นไม้ทั้งสองฝั่ง เมื่อมองลงมาจากท้องฟ้า จะเห็น "เข็มขัดสีเขียว" ตามแม่น้ำที่ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้  "การห้ามตกปลา 10 ปี" ก็ทำให้แม่น้ำแยงซีมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ทรัพยากรปลาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนความได้เปรียบทางระบบนิเวศได้กระตุ้นให้เกิดพลังการขับเคลื่อนใหม่ ๆ มีจุดการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ตัวอย่างเช่น นครฉงชิ่งได้สร้างท่าเรืออัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มณฑลหูเป่ยพยายามเสริมสร้างการวิจัยทางเทคนิคสารเคมีอิเล็กทรอนิกส์อย่างจริงจัง ส่วนมณฑลอันฮุยได้สร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมข้อมูล ตั้งแต่การผลิตดาวเทียมไปจนถึงเทอร์มินัลแอปพลิเคชันเป็นต้น

2หลายท้องที่ของจีนใช้เทคโนโลยีทันสมัย ปรับปรุงระบบระบายน้ำทิ้ง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ได้แถลงว่า ภายในสิ้นปี 2025 จีนจะแก้ไขการระบายน้ำทิ้งในแถบแม่น้ำแยงซีให้เสร็จสมบูรณ์ และสร้างกลไกการกำกับดูแลในระยะยาว

โดยการดำเนินการพิเศษสำหรับการสอบสวนและแก้ไขการระบายน้ำทิ้งของแม่น้ำแยงซีได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งครอบคลุม 11 มณฑลและเมือง

ในเมืองปาจงของมณฑลเสฉวน ทางการได้ตรวจสอบการกระจายเครือข่ายท่อน้ำใต้ดิน ปรับปรุงระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย ช่วยบรรเทาปัญหาการระบายน้ำเสียแบบตรงที่เป็นปัญหาสำคัญในเมืองนี้มานานหลายปีได้สำเร็จ

เมืองหูโจว มณฑลเจ้อเจียงมีอุตสาหกรรมหนาแน่นและมีท่อระบายน้ำทิ้งจำนวนมาก ทางการท้องถิ่นจึงปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตและการปกป้องสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจ โดยเพิ่มอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย ส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางน้ำ และบรรลุเป้าหมายที่ทำให้การปล่อยน้ำเสียทางอุตสาหกรรมแบบตรงกลายเป็นศูนย์

 

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (25-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)