สู่อวกาศ! ไฮไลท์ของภารกิจ“เสินโจว-15”

2022-12-03 10:45:14 | CMG
Share with:

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2022 จีนประสบความสำเร็จปล่อยยานอวกาศพร้อมนักบิน“เสินโจว-15” ไฮไลท์ของภารกิจครั้งนี้มีอะไรบ้าง?

1.      นักบินอวกาศจีนจะผลัดเวรกันในวงโคจรเป็นครั้งแรก

ทีมนักบินอวกาศยานเสินโจว-15 กับเสินโจว-14 รวม 6 คน จะผลัดเวรส่งต่องานแบบ “เผชิญหน้ากัน” ในวงโคจร ถือเป็นไฮไลท์หลักของภารกิจครั้งนี้ สองทีมพบกันในสถานีอวกาศ และมีเวลาอยู่ร่วมกันบนสถานีอวกาศเทียนกงประมาณ 5-10 วัน หลังจากนั้นทีมนักบินอวกาศเสินโจว-14 ทั้ง 3 คนก็จะออกเดินทางกลับสู่โลก มีทีมนักบินอวกาศเสินโจว-15 รับหน้าที่ต่อเป็นเวลา 6 เดือน

การผลัดเวรในวงโคจรแบบนี้ จะเป็นรูปแบบหลักของการทำงานในสถานีอวกาศจีน ซึ่งจะมีประสิทธิภาพและเชื่อมั่นได้มากกว่าการผลัดเวรในภาคพื้นดิน 

2.      ทีมนักบินอวกาศเสินโจว-15 ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่

ระยะเวลา 6 เดือน ทีมนักบินอวกาศเสินโจว-15 นอกจากมีงานประจำอย่างประสานงานกับทีมภาคพื้นดิน งานบำรุงรักษา และฝึกฝนร่างกายแล้ว ยังจะต้องทำงานอื่นที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสิ้น  ได้แก่

- ตรวจสอบความสามารถของสถานีอวกาศในการรองรับการพำนักระยะยาวของนักบินอวกาศ

- ปลดล็อก ติดตั้ง และทดสอบตู้ทดลอง 15 ตู้ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์และการทดสอบทางเทคนิคมากกว่า 40 รายการ รวมถึงการวิจัยประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์อวกาศ เวชศาสตร์อวกาศ และเทคโนโลยีอวกาศ

- ออกไปปฏิบัติหน้าที่นอกยาน เช่น การประกอบ ทดสอบ และแก้ไขระบบการเคลื่นอย้ายขนถ่ายสัมภาระนอกตัวยาน ซึ่งเป็นการสานต่องานที่ทีมเสินโจว-14 ทำเอาไว้ก่อนหน้านี้

- เริ่มใช้งานห้องแอร์ล็อคเคลื่อนย้ายสัมภาระ 6 รายการให้แล้วเสร็จ 

3.      ความน่าเชื่อถือของจรวดขนส่งได้รับการปรับปรุงเพิ่มสูงขึ้น

จรวดขนส่งฉางเจิง-2F ที่รับหน้าที่นำส่งยานอวกาศพร้อมนักบินอวกาศออกสู่นอกโลก มีดัชนีความน่าเชื่อถือ 0.98 และดัชนีความปลอดภัยถึง 0.997 หลังจากปรับปรุงทางเทคนิคอย่างต่อเนื่อง จรวดขนส่งรุ่น-F15 บรรทุกยานอวกาศพร้อมนักบินอวกาศในภารกิจเสินโจว-15 ครั้งนี้ มีดัชนีความน่าเชื่อถือ 0.9895 ซึ่งในฐานะที่เป็นจรวดรุ่นใหม่ เปรียบเทียบกับรุ่น-F14 แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคทั้งหมด 45 รายการ ได้เพิ่มความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้ในการยิงส่งสำเร็จให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองภารกิจของสถานีอวกาศได้ดียิ่งขึ้น 

4.      จรวดและยานอวกาศทำงานได้ในสภาพแวดล้อมเลวร้ายอุณหภูมิต่ำ

ตอนนี้สภาพอากาศของศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มีความหนาวเย็นมาก อุณหภูมิต่ำสุดทะลุ -20 องศาเซลเซียส ก่อนหน้านี้ มีเพียงยานเสินโจว-1 และเสินโจว-4 (ไร้มนุษย์) ถูกยิงสู่อวกาศหลังปลายเดือนพฤศจิกายนที่อากาศหนาวเย็นจัด ดังนั้น การจะให้จรวดขนส่งที่บรรทุกยานอวกาศพร้อมมนุษย์ครั้งนี้ ดำเนินการได้ในสภาวะแวดล้อมที่เลวร้ายมีอุณหภูมิต่ำมาก อุปกรณ์ภาคพื้นดินของศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียนต้องได้รับการปรับปรุงใหม่ นอกจากนี้ ยังมีการติดฉนวนกักเก็กความร้อนในส่วนที่สำคัญของจรวด เพื่อให้แน่ใจว่าพร้อมต่อการปล่อยจรวด 

5.      สถานีอวกาศจีนต้อนรับยานอวกาศเทียบท่าพร้อมกัน 2 ลำเป็นครั้งแรก

ยานอวกาศพร้อมมนุษย์ 2 ลำ คือ เสินโจว-15 กับเสินโจว-14 ได้ดำเนินการรับส่งข้อมูล ระบบระบายอากาศ การแลกเปลี่ยนความร้อน และผสานเครือข่ายใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น จากสถานีอวกาศพร้อมกัน ขณะเดียวกัน ภายใต้สภาพการณ์ที่ยานสองลำเทียบท่าพร้อมกันนี้ ยังต้องมีการกำหนดแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉิน พยายามอย่างเต็มที่เพื่อความปลอดภัยของนักบินอวกาศ 

6.      สถานีอวกาศจีนมีขนาดใหญ่โตเป็นที่สุด

ด้วยการมาถึงของยานอวกาศเสินโจว-15 สถานีอวกาศจีนเทียนกงได้มีการขยายโครงสร้างใหญ่เป็นที่สุด คือ ประกอบด้วย 3 โมดูล และ 3 ยานอวกาศ น้ำหนักรวมกันแล้วเกือบ 100 ตัน ได้แก่ โมดูลหลักเทียนเหอ,  โมดูลห้องทดลองเวิ่นเทียน, โมดูลห้องทดลองเมิ่งเทียน,  ยานอวกาศบรรทุกมนุษย์ 2 ลำ(เสินโจว 14 และ 15) และยานขนส่งสัมภาระอีก 1 ลำ

 

Yim/Patt

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)