บทบาท “ร่มชูชีพ” ของแคปซูลอวกาศขณะเดินทางกลับสู่พื้นโลก เสริมความปลอดภัยให้นักบินอวกาศเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

2022-12-07 20:17:39 | CMG
Share with:

เมื่อค่ำวันที่ 4 ธันวาคม ร่มชูชีพขนาดใหญ่ได้กางออกขณะที่แคปซูลขนส่งนักบินอวกาศกำลังเดินทางกลับสู่โลกของทีมภารกิจเสินโจว-14 ของจีน ที่ได้ลงจอด ณ ที่ราบตงเฟิงของจีน หลังแยกตัวจากสถานีอวกาศเทียนกงของจีนเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ แคปซูลส่งกลับโลกมีความท้าทายหลายอย่าง โดยเฉพาะช่วงเวลาของการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก และปัญหาสำคัญคือการลดแรงกระแทกเพื่อให้นักบินทั้งสามในภารกิจนี้เดินทางสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย

 

เมื่อเดินทางกลับสู่พื้นโลกจะเกิดแรงโน้มถ่วง จนทำให้แคปซูลส่งกลับเคลื่อนตัวด้วยความเร็วขณะกำลังลงจอดสู่พื้นโลก ร่มชูชีพจึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยชะลอความเร็วและลดแรงกระแทกขณะลงจอดของแคปซูล

 

ร่มนี้ทำจากโรงงาน เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยป้องกันนักบินอวกาศกลับสู่โลกอย่างปลอดภัย ร่มใบนี้ต้องอาศัยฝีมือแรงงานคนเท่านั้น

นายหรง เหว่ย รองหัวหน้านักออกแบบระบบยานอวกาศพร้อมมนุษย์ของกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินอวกาศจีนแนะนำว่า หากกางร่มชูชีพเต็มที่จะมีความกว้าง 1,200 ตารางเมตรโดยตรง จะเกิดแรงต้านเพื่อชะลอความเร็วของแคปซูลที่กำลังกลับสู่พื้นโลกแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้นักบินอวกาศค่อยปรับตัว และไม่เกิดอันตราย

 หรือหากกรณีฉุกเฉินที่ร่มหลักเกิดปัญหายังต้องมีร่มสำรอง หากโมดูลตกลงมาจากระยะความสูงที่ 5-6 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก ในเวลาที่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ ระบบจะพิจารณาและตัดสินว่าร่มหลักผิดปกติและเริ่มใช้ร่มสำรองโดยอัตโนมัติ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของนักบินอวกาศ

Ying/Ping/Sun

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (25-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)