เรือล่มใต้ทะเลยุคราชวงศ์ซ่งใต้ สะท้อนภาพเส้นทางสายไหมทางทะเลในยุคโบราณ (4)

2022-12-15 10:06:41 | CMG
Share with:

อย่าง “หนานไห่หมายเลข 1” สะท้อนถึงเทคนิกการต่อเรือของจีนโบราณอย่างไร

การเดินทางออกสู่มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ของเจิ้งเหอหรือซำปอกง 7 ครั้งในรอบ 28 ปี เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว กองเรือและการเดินทางของเจิ้งเหออาจกล่าวได้ว่าเป็นการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์การเดินเรือของโลก การที่เจิ้งเหอประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ในการเดินเรือนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า เทคนิกการต่อเรือของจีนในสมัยโบราณพัฒนาดีพอสมควร และการค้นพบเรือ “หนานไห่หมายเลข 1” ทำให้เรามองเห็นถึงเทคนิคการต่อเรือในสมัยโบราณของจีนอย่างชัดเจน

ราชวงศ์ซ่งถือเป็นราชวงศ์ทีมีความพิเศษในประวัติศาสตร์จีน เพราะแม้เป็นราชวงศ์ที่ไม่ได้รวมจีนเป็นปึกแผ่น แต่เศรษฐกิจแบะวัฒนธรรมของราชวงศ์ซ่งพัฒนาดีมากจนราชวงศ์ต่อมาของจีนไม่มีราชวงศ์ไหนที่เทียบเคียงได้ ยุทธศาสตร์หลัก ๆ คือ นโยบายการค้าขาย และการเดินเรือที่ถือว่าเป็นแนวหน้าของโลกใช่ไหมคะ 

ราชวงศ์ซ่งให้ความสำคัญกับการค้าขายต่างประเทศ และพยายามขยายการค้าทางทะเลด้วย เพราะฉะนั้น ราชวงศ์ซ่งเร่งพัฒนาเทคนิคการต่อเรือ จนนับได้ว่า เทคนิคการต่อเรือในราชวงศ์ซ่งของจีนเป็นเทคนิคนำหน้าของโลก ซึ่ง  “หนานไห่หมายเลข 1” ก็เป็นตัวแทนเรือราชวงศ์ซ่งลำหนึ่ง

  “หนานไห่หมายเลข 1” แม้จะไม่ได้เป็นเรือพาณิชย์ตัวใหญ่ที่สุดของราชวงศ์ซ่ง แต่ก็มีขนาดใหญ่พอสมควร ตัวเรือยาว 41.8 เมตร กว้าง 11 เมตร สูง 4 เมตร บรรจุของได้ 425 ตัน จากซากเรือ  “หนานไห่หมายเลข 1” เราได้เปิดเคล็ดลับการต่อเรือของราชวงศ์ซ่งดังนี้

1.มีการทำแบบโครงสร้างตงรองของเรือก่อนลงมือต่อเรือจริง

ในยุคก่อนสมัยราชวงศ์ซ่ง ความมั่นคงปลอดภัยของเรือไม้เป็นปัญหาที่น่ากังวลใจ แต่เมื่อถึงราชวงศ์ซ่งแล้ว ช่างต่อเรือได้พัฒนาเทคนิคการวางแผนโครงสร้างตงรอง ก็เหมือนกับเราสร้างบ้าน คือก่อสร้างบ้านก็สร้างรากฐานก่อน การต่อเรือในราชวงศ์ซ่งก็จะทำโครงสร้างตงรองก่อน เมื่อโครงสร้างตงรองทำให้แม่นแล้ว เรือก็จะมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น  “หนานไห่หมายเลข 1” ก็ได้ใช้เทคนิคการต่อเรือดังกล่าวด้วย

2.รูปทรงก้นเรือที่เป็นรูปตัว “V”

ใบเรือก่อนราชวงศ์ซ่งจะมีก้นเรือเป็นรูปแบน ๆ ใบเรือแบบนี้เมื่อเจอพายุรุนแรงก็จะสั่นรุนแรงและจมทะเลได้ง่าย มาถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง ได้ปรับก้นเรือให้เป็นรูปทรงตัว “V” คือตอนก้นเรือจะเล็กกว่าตัวท้องเรือ ทำให้ใบเรือสามารถเข้าทะเลได้ลึกลง และมีความมั่นงยิ่งขึ้น และก้นเรือรูปทรงแบบนี้ทำให้ใบเรือวิ่งเร็วกว่าเดิมอย่างมากด้วย

3.ใช้ไม้กระดานแบ่งท้องเรือให้เป็นห้องเก็บของเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้อง

การชนก้อนหินหรือเจอพายุรุนแรงเป็นเรื่องปกติในการเดินเรือสมัยโบราณ แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ท้องเรือแตก ก็ต้องจมใต้ทะเลเลย แต่ใบเรือสมัยราชวงศ์ซ่งมีได้พัฒนาเทคนิคที่ว่า ใช้ไม้กระดานแบ่งท้องเรือให้เป็นห้องเล็ก ๆ หลายๆ ห้อง ถ้าบางห้องเกิดน้ำท่วม ยังมีโอกสสรีบปล่อยน้ำออกไป และ ขนของจากห้องที่น้ำท่วมไปยังห้องที่ยังปลอดภัยอยู่ และกำลังลอยตัวของทั้งเรือยังมีมากพอ ทำให้ลูกเรือมีเวลามากขึ้นในการซ่อมแซมส่วนที่เสียไป

ที่จริง ใบเรือราชวงศ์ซ่งยังมีเทคนิคทันสมัยหลายอย่าง เช่น เสากระโดงเรือที่หมุนเวียนได้ และเข็มบอกทิศทางเพื่อชี้ทางระหว่างเดินเรือบนมหาสมุทร ล้วนเกิดขึ้นในช่วงสมัยนี้


 (Ying/cici)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (18-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (17-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (17-04-2567)