บทวิเคราะห์ : ใครเป็น“ภัยคุกคาม”ของเอเชียแปซิฟิก? การประชุมสองครั้งถูกเปิดโปง

2022-01-09 15:37:39 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์ : ใครเป็น“ภัยคุกคาม”ของเอเชียแปซิฟิก? การประชุมสองครั้งถูกเปิดโปง

วันที่ 7 ม.ค. 65 รัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นจัดการประชุมออนไลน์ “2+2” และออกคำแถลงร่วม ปั่นประเด็นเกี่ยวกับจีนอีกครั้ง และสิ่งที่เรียกว่า “การคุกคามจากจีน” สองฝ่ายยังลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางการป้องกันประเทศฉบับใหม่ด้วย ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน ญี่ปุ่นและออสเตรเลียยังแสดงท่าทีต่อกิจการภายในประเทศของจีนในระหว่างการเจรจากัน และลงนาม “สนธิสัญญาว่าด้วยการอนุมัติเข้าตลาดที่เอื้อประโยชน์แก่กัน” เพื่อยกระดับความร่วมมือทางการป้องกันประเทศให้สูงยิ่งขึ้นด้วย

วันที่ 6 ม.ค. 65 ญี่ปุ่นและออสเตรเลียจัดการเจรจาและลงนาม “สนธิสัญญาว่าด้วยการอนุมัติเข้าตลาดที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์แก่กัน” แสดงท่าทางต่อกิจการภายในประเทศของจีน ญี่ปุ่นและออสเตรเลียในฐานะกองหน้าที่เชือฟังคำสั่งจากสหรัฐอเมริกานั้น ร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาด้วย ทำให้สถานการณ์ที่สงบเรียบร้อยของทะเลจีนใต้ และสถานการณ์ที่เป็นมิตรระหว่างสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวันเกิดการผันผวนขึ้น

วันที่ 7 ม.ค. ในระหว่างการเจรจา “2+2” ระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น สองประเทศกล่าวเน้นถึงความสำคัญของพันธมิตรญี่ปุ่น-สหรัฐอเมริกา และประกาศว่าจะลงนามสนธิสัญญาว่าด้วยการป้องกันประเทศฉบับใหม่เพื่อรับมือกับสิ่งที่เรียกว่า “การคุกคามจากจีน” แต่นั่นเป็นเพียงข้ออ้างประจำเพื่อเสริมสร้างกำลังทหารของตนมาโดยตลอด พันธมิตรญี่ปุ่น-สหรัฐอเมริกาเป็นผลงานของสงครามเย็น สองฝ่ายต่างก็เพิ่มงบทางการทหารให้มากยิ่งขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง มีจุดมุ่งหมายจะทำอะไรในเอเชียแปซิฟิกกันแน่?

นอกจากนี้ ตั้งแต่สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลียประกาศว่าจะกระชับความร่วมมือในด้านเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงภัยทางการแพร่กระจายนิวเคลียร์และการแข่งขันกำลังอาวุธส่วนภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น จนถึงญี่ปุ่นยืนกรานจะปล่อยน้ำปนเปื้อนรังสีจากสถานีกำเนิดไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงทะเล ทำลายภาวะนิเวศและสุขภาพของประชาชนในภูมิภาค จนถึงสหรัฐอเมริกา-ญี่ปุ่น-ออสเตรเลียจัดการซ้อมรบร่วมอย่างไม่ขาดสาย เรื่องแบบนี้หลายต่อหลายครั้งล้วนเป็นพยานหลักฐานเหล็กที่ “วงเล็ก” อันประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา-ญี่ปุ่น-ออสเตรเลีย ได้ทำลายสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคง ทั้งพิสูจน์ให้เป็นถึงความไร้เหตุผลและจอมปลอมของสิ่งที่เรียกว่า “อิสรภาพ เปิดเผยและให้อภัยกัน” ที่พวกเขามักจะพูดติดปากเสมอ

Zhou/Dan/Yim

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

张丹