บทวิเคราะห์ : ทำไมบิ๊กแอร์โส่วกางได้รับความสนใจจากต่างชาติ?

2022-02-15 18:40:12 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์ : ทำไมบิ๊กแอร์โส่วกางได้รับความสนใจจากต่างชาติ?

“บรรยากาศของสนามกีฬายอดเยี่ยมมาก” “เหลือเชื่อมาก สนามกีฬาก็สุดเหวี่ยง” “มีสนามกีฬาที่สะดวกดีมากจริง ๆ คุณสามารถใส่รองเท้ากีฬาเข้ามา” “รู้สึกเหมือนอยู่ในโลกเสมือนหรือเกมออนไลน์” การประเมินด้วยความจริงใจเหล่านี้มาจากนักกีฬาสหรัฐฯ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ที่มาร่วมแข่งโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่ง ส่วนสถานที่ยอดเยี่ยมในใจของพวกเขาล้วนเป็นเสียงเดียวกันคือ “บิ๊กแอร์โส่วกาง”

งานโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่ง มีเขตจัดการแข่งขัน 3 แห่ง ได้แก่ ปักกิ่ง จาง เจียโข่ว และเอี๋ยนชิ่ง ส่วนบิ๊กแอร์โส่วกางเป็นสนามกีฬาประเภทหิมะแห่งเดียวในเขตจัดการแข่งขันปักกิ่ง ที่นี่เป็นแท่นสกีกระโดดแบบถาวรแห่งแรกของโลก แท่นสกีกระโดดสร้างขึ้นบนที่ทำเลเก่าของโรงงานเหล็กกล้ากรุงปักกิ่ง (โส่วกาง) ที่นี่เคยเป็นศูนย์ผลิตเหล็กกล้าของจีนในช่วงอุตสาหกรรม ส่วนการเปลี่ยนแปลงของที่นี่ถือเป็นตัวอย่างอย่างแท้จริงของกรุงปักกิ่งในฐานะเมืองเจ้าภาพงานกีฬาโอลิมปิกสองฤดูที่ยึดแนวคิดการจัดโอลิมปิกสีเขียว

เมื่อ 10 กว่าปีก่อนเพื่อบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับงานกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปักกิ่ง 2008 โส่วกางมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่วนปล่องไฟ หอระบายความร้อน (Cooling Tower) และเครื่องจักรเป็นมรดกจากยุคอุตสาหกรรมของโส่วกางซึ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้ โดยมรดกเหล่านี้ได้ผ่านการดัดแปลงและประยุกต์ใช้ มีการประดับด้วยแสงไฟในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่ง 2022 ไซโลที่เคยเก็บวัตถุดิบถลุงเหล็กกลายเป็นที่ทำการของคณะกรรมการจัดงานโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่ง ฐานผลิตถ่านหินสะอาดกลายเป็นสนามฝึกซ้อมของนักกีฬาประเภทน้ำแข็งทีมชาติจีน ข้างหอระบายความร้อนมีแท่นสกีกระโดดความสูงประมาณ 60 เมตร ซึ่งเป็นฉากยอดเยี่ยมที่เราเห็นในวันนี้

นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ชื่อดังของเยอรมนี “แดร์ชปีเกล” (Der Spiegel) วิเคราะห์ว่า ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมของกีฬาโอลิมปิกสากล บิ๊กแอร์โส่วกางใช้นิคมอุตสาหกรรมที่รกร้างบูรณาการเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ ถึงแม้ใช้สนามแข่งขันซึ่งอยู่ในทิวทัศน์แบบอุตสาหกรรม ดูเหมือนอยู่เหนือความเป็นจริง แต่ที่นี่ไม่มีกิจกรรมการผลิตเหล็กมานานแล้ว ปรับเปลี่ยนเป็น “ดิสนีย์แลนด์อุตสาหกรรม” เมื่อเทียบกับอุปกรณ์กีฬาที่ผนวกเข้ากับธรรมชาติ ทิวทัศน์ของบิ๊กแอร์โส่วกางเป็นเรื่องจริงมากกว่า ที่นี่เป็นสถานที่เหมาะกับกีฬาโอลิมปิกมากที่สุด ตลอดจนนายโทมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ก็กล่าวว่า บิ๊กแอร์โส่วกางเป็นที่น่าชมเชย

บทวิเคราะห์ : ทำไมบิ๊กแอร์โส่วกางได้รับความสนใจจากต่างชาติ?

อย่างไรก็ตามในเสียงปรบมือก็มีสื่อมวลชนตะวันตกที่ไม่รู้ความจริงอยู่บ้าง พวกเขาไม่เคยมาที่สนามแข่งขันเพียงเห็นภาพออนไลน์ไม่กี่รูปก็ตัดสินว่า สิ่งปลูกสร้างริมบิ๊กแอร์โส่วกางเป็นเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือไม่ คำถามที่น่าขันนี้คาดว่าฝ่ายจีนไม่ต้องตอบ นักกีฬาและโค้ชประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขันก็สามารถให้คำตอบแล้ว โดยที่ว่าข้อสงสัยก็ถือเป็นการเพิ่มบรรยากาศสีสันให้กับงานโอลิมปิกฤดูหนาว

กล่าวอีกนัยหนึ่งเรื่องนี้พิสูจน์ว่างานโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งได้รับความสนใจในวงกว้าง ตามสถิติจากหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก หรือ OBS งานโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งได้กลายเป็นงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่มีเรตติ้งสูงสุดครั้งหนึ่ง โดยมีผู้ชมบนโซเชียลมีเดียทั่วโลกกว่า 2,000 ล้านคน เรตติ้งไม่เพียงแต่เพิ่มขึ้นในประเทศเข้มแข็งด้านกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวอย่างในยุโรปและสหรัฐฯ ส่วนในประเทศโซนร้อนที่ไม่มีหิมะและน้ำแข็งก็มีผู้คนมากมายให้ความสนใจ ซึ่งแสดงอย่างสมบูรณ์ว่าถึงแม้สถานการณ์โควิด-19 ยังคงลุกลามอยู่ แต่ความหลงใหล ความสนุกสนาน และมิตรภาพจากกีฬาประเภทหิมะและน้ำแข็งยังเป็นที่นิยมจากประชาชนทั่วโลก

วันอาทิตย์ที่ผ่านมา เขตจัดการแข่งขัน 3 แห่งของงานโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งล้วนมีหิมะตกหนัก ช่วงบ่ายอากาศสดใสหลังหิมะตก ผู้เขียนเดินทางถึงสะพานใหม่โส่วกางซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับบิ๊กแอร์โส่วกางพบว่า บิ๊กแอร์โส่วกางกับหอระบายความร้อนที่ตั้งอยู่ด้านหลังรวมถึงภูเขาสือจิ่งซานที่ปกคลุมด้วยหิมะผสมผสานกันอย่างกลมกลืน วันนั้น พอดีมีการแข่งขันสโนว์บอร์ดชาย ผมได้เห็นฉากยอดเยี่ยมอย่างชัดเจนว่า นักกีฬาสกีลงจากแท่นกระโดดและเคลื่อนไหวบนเวหา ทำให้ผมในฐานะพลเมืองปักกิ่งธรรมดารู้สึกอย่างแท้จริงว่า งานโอลิมปิกที่อยู่หน้าประตูบ้านได้เข้าสู่ชีวิตของผมและก็เข้ากับเมืองแห่งนี้ด้วย

งานโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งจะปิดฉากลงในอีกไม่ถึง 1 สัปดาห์ แต่ความกระตือรือร้นของชาวปักกิ่งในการเข้าร่วมกีฬาประเภทหิมะและน้ำแข็งจะไม่ลดลง มรดกโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งก็จะได้รับการอนุรักษ์และพัฒนา อนาคตของกรุงปักกิ่งในฐานะเจ้าภาพจัดโอลิมปิกสองฤดูเป็นที่น่าคาดหวังเหมือนกัน

เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

(Tim/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-04-2567)

  • เกาะกระแสจีน (27-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

崔沂蒙