“หมู่บ้านเสือ”จัดเทศกาลเสือฉลองปีขาล

2022-03-28 23:22:31 | CRI
Share with:

ปีนี้ตรงกับปีเสือตามปฏิทินจันทรคติของจีน ประเทศจีนมีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเสือมายาวนานและลึกซึ้ง ณ หมู่บ้านซวงป่าย ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็น “ถิ่นกำเนิดวัฒนธรรมเสือของชาวอี๋” บรรพบุรุษชาวอี๋ได้สร้างสรรค์และสืบทอดวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับ “เสือ” มานานกว่า 6,500 ปี ซึ่งยังคงอนุรักษ์มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อไม่นานนี้ หมู่บ้านซวงป่ายได้จัดเทศกาลเสือบนคลาวด์ คนในท้องถิ่นสวมเครื่องแต่งกายประจำชนเผ่าเพื่อฉลองเทศกาลดังกล่าว และมีนักแสดงที่แต่งหน้าเป็นเสือ พร้อมกับวาดลวดลายของเสือตามแขนขา เพื่อแสดงการเต้นระบำเก่าแก่ซึ่งมีที่มาจากวิถีชีวิตแบบพื้นบ้าน ซึ่งการแสดงนี้มีลีลาท่วงท่าที่หลากหลาย ทั้งท่า “เสือไถนา” “เสือหว่านเมล็ด” “เสือดำนา” “เสือเก็บเกี่ยว” และท่าทางอื่น ๆ อีกมากมาย

ในประเทศจีนมีประชากรชาวอี๋ประมาณ 9 ล้านคน ซึ่งจะอาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้เป็นหลัก เช่นในมณฑลยูนนานและมณฑลกุ้ยโจว

“หมู่บ้านเสือ”จัดเทศกาลเสือฉลองปีขาล

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักกิจการป่าไม้และทุ่งหญ้าแห่งชาติจีน ได้เผยว่า จำนวนพืชป่าและสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ประเทศจีนมีภูมิประเทศที่ซับซ้อน และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ป่ามากที่สุดในโลก จากสถิติล่าสุดของสำนักกิจการป่าไม้และทุ่งหญ้าแห่งชาติจีนพบว่า ปัจจุบัน ประเทศจีนมีจำนวนแพนด้ายักษ์ในป่า 1,864 ตัว ช้างเอเชียได้เพิ่มขึ้นจาก 180 ตัวมาเป็น 300 ตัวโดยประมาณ ส่วนละมั่งทิเบตในทุ่งหญ้าธรรมชาติก็เพิ่มจากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 60,000-70,000 ตัว มาเป็น 300,000 กว่าตัว นอกจากนี้ นกช้อนหอยหงอนก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงกว่า 5,000 ตัว ซึ่งในระยะแรกที่ถูกค้นพบนั้น พวกมันมีจำนวนเพียง 7 ตัวเท่านั้น

“หมู่บ้านเสือ”จัดเทศกาลเสือฉลองปีขาล

เพื่อคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณที่หายาก ประเทศจีนได้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติชุดแรก 5 แห่ง ซึ่งได้แก่ อุทยานซานเจียงหยวน อุทยานแพนด้ายักษ์ อุทยานเสือโคร่งไซบีเรียและเสือดาว อุทยานป่าฝนเขตร้อนไหหลำ อุทยานอู๋อี๋ซาน  ซึ่งกิจการในแต่ละด้านกำลังคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ หลาย ๆ พื้นที่ยังได้พบสัตว์ป่าหายากตามธรรมชาติอีกด้วย อย่างเช่นที่ทะเลในเขตกว่างซี ได้พบวาฬบรูดา 5-7 ตัว ซึ่งเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองระดับประเทศอันดับหนึ่งในแหล่งน้ำธรรมชาติของจีน ปัจจุบันในน่านน้ำบริเวณดังกล่าวมีวาฬบรูดา 32 ตัว ซึ่งทุกตัวต่างก็มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง

นกกระเรียนคอดำเป็นสัตว์ที่มีเฉพาะในประเทศจีน 95% ของประชากรทั้งหมดจะอาศัยอยู่ในที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต และที่ราบสูงยูนนาน-กุ้ยโจว กัว อวี้หมิน ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยวนศาสตร์ ปักกิ่ง กล่าวว่า นกกระเรียนคอดำมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งมีมากถึง 17,000 ตัวเลยทีเดียว 

  • เสียงข่าวประจำวัน (29-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (29-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

张丹