ไป๋หยางเตี้ยน เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติที่หายากในทางภาคเหนือของจีน และเป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของจีน ภายในมีบึงน้ำกระจัดกระจาย 143 แห่ง รวมถึงคูคลองที่ตัดสลับกันกว่า 3,700 สาย ได้รับการขนานนามว่า “ไตแห่งภาคเหนือของจีน” มีบทบาทคุ้มครองระบบนิเวศทางภาคเหนือของจีนชนิดไม่อาจทดแทนได้
ช่วง 5 ปีมานี้ เขตใหม่สงอันเดินหน้ากำกับดูแลระบบนิเวศ ไป๋หยางเตี้ยนอย่างจริงจังจนเห็นผลเด่นชัด
ปี 2021 คุณภาพน้ำในพื้นที่ไป๋หยางเตี้ยนและต้นน้ำได้มาตรฐานประเภท Ⅲ และสูงกว่านั้น เป็นครั้งแรกที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ประเภท Ⅲ จากเดิมที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นประเภทⅤ ในปี 1988 เข้าแถวทะเลสาบเกณฑ์ดีแห่งชาติ ปัจจุบัน พื้นที่ผิวน้ำของไป๋หยางเตี้ยนเป็นประมาณ 275 ตารางกิโลเมตร ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 7.4 เมตร ซึ่งเป็นระดับที่สูงเป็นที่สุดในรอบ 20 ปี
จนถึงปี 2021 เขตใหม่สงอันมีการฟื้นคืนพื้นที่นาจากการปลูกข้าวเจ้าและบัว รวมถึงฟื้นคืนพื้นที่ป่าไม้ชุ่มชื้นประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร เปลี่ยนผืนนาแห้งแล้งเป็นผืนทะเลสาบอีกเกือบ 80 ตารางกิโลเมตร โดยมีการคุ้มครองระบบนิเวศไป๋หยางเตี้ยนให้อยู่ในสภาพบริบูรณ์ เป็นธรรมชาติและแบบดั้งเดิม ทำให้ปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลากะพงปรากฏให้เห็นในแหล่งน้ำอีกครั้ง
เมื่อคุณภาพน้ำได้รับการปรับปรุงดีขึ้น ระบบนิเวศทางน้ำก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลถึงปลายเดือนมกราคม ปี 2022 ไป๋หยางเตี้ยนมีพบนกทั้งหมด 230 สายพันธุ์ เพิ่มขึ้น 24 สายพันธุ์เมื่อเทียบกับก่อนจัดตั้งเขตใหม่สงอัน ในจำนวนดังกล่าวเป็นนกสายพันธุ์คุ้มครองระดับ 1 แห่งชาติ 10 สายพันธุ์ เช่น นกมัสตาร์ดใหญ่ (Great Bustard, Otis tarda) และ เป็ดหัวดำ (Baer's Pochard, Aythya baeri)
เมื่อต้นปี 2022 อัตราพื้นที่สีเขียวของเขตใหม่สงอันมีมากถึง 32% เดือนพฤศจิกายน ปี 2017 มีการเริ่มต้นโครงการปลูกป่าริมแม่น้ำต้าชิงเหอ จนถึงเวลานี้ มีการปลูกป่าเป็นพื้นที่กว่า 300 ตารางกิโลเมตร ปลูกต้นไม้กว่า 23 ล้านต้น
นอกจากโครงการปลูกป่าแล้ว ยังมีโครงการอุทยานชานเมืองเขตใหม่สงอันด้วย ซึ่งทดลองเปิดรับนักท่องเที่ยวเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ปี 2021 ส่วนอุทยานเย่ว์หรงและอุทยานจินหู กำหนดจะสร้างแล้วเสร็จและเปิดสู่สาธารณชนในไม่ช้า ซึ่งจะประกอบกันเป็นปอดสีเขียวของเมืองกลางป่า เป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศเขตใหม่สงอัน
(YIM/LING/SUN)