บทวิเคราะห์ : นาโต้ (NATO) ที่สิ้นยุคแล้ว ไม่สามารถสร้างอิทธิพลในเอเชียแปซิฟิกได้

2023-02-02 13:26:07 | CMG
Share with:

ในตอนเย็นของวันที่ 31 มกราคม นายเย็นส์ สต็อลเตินบาร์ก เลขาธิการนาโต้ ( NATO ) ที่กำลังเดินทางเยือนญี่ปุ่น ร่วมกับนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์ร่วมกัน โดยประกาศว่า ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เช่น ความมั่นคงทางทะเล ไซเบอร์สเปซ และการควบคุมอาวุธ ในขณะเดียวกัน ยังกล่าวถึงอำนาจทางทหารของจีนและปัญหาไต้หวันด้วย ตามรายงานของสื่อญี่ปุ่น นี่เป็นการเยือนญี่ปุ่นครั้งแรกของเลขาธิการนาโต้ในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า ญี่ปุ่นและนาโต้ ( NATO ) กำลังเข้าใกล้กันอย่างรวดเร็ว

ก่อนหน้านี้ นายสต็อล เตินบาร์กเคยอ้างว่า จีนท้าทายผลประโยชน์ และความมั่นคงของประเทศตะวันตกในขณะการเยือนเกาหลีใต้ นาโต้ ( NATO )  เป็นผลจากสงครามเย็น กำลังถูกนำโดย "ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก"  ของสหรัฐอเมริกา ที่แทรกแซงกิจการของเอเชีย-แปซิฟิก โดยใช้จีนเป็นข้ออ้าง และผลร้ายจากสงครามเย็น 

“นาโต้” ( NATO ) เป็นพันธมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก นับตั้งแต่การก่อตั้งขึ้น ก็เป็นเครื่องมือในการจับกลุ่มและสร้างพันธมิตรของสหรัฐฯ หลังจากวิกฤตยูเครนปะทุขึ้นเมื่อต้นปีที่แล้ว สหรัฐฯ พยายามใช้โอกาสนี้ฟื้นฟูนาโต้ ( NATO ) และถึงขั้นต้องการคัดลอกและสร้าง  “นาโต้เวอร์ชันเอเชียแปซิฟิก" เพื่อเป็นเครื่องมือในการกีดกันจีนและรักษาอำนาจเป็นเจ้าโลกของสหรัฐอเมริกา

ทันทีหลังจากสต็อลเตินบาร์ก พล.อ.ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ เดินทางถึงเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา โดยย้ำถึงความจำเป็นในการเสริมสร้าง "ขีดความสามารถการป้องปราม” โดยสหรัฐฯ กับนาโต้เร่งเร้าประเด็น “ภัยคุกคามทางทหารของจีน” ในขณะเดียวกันก็เดินหน้ากระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับพันธมิตรในเอเชีย ทำให้เกิดความวิตกกังวลและภัยคุกคามด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

นาโต้ในปัจจุบันดูเหมือนเป็นองค์การใหญ่ แต่แท้ที่จริงก็หมดอำนาจแล้ว เอเชียแปซิฟิกไม่ใช่สนามประลองของประเทศมหาอำนาจ ทั้งประชาชนในเอเชียแปซิฟิกและยุคสมัย จะไม่ยอมให้มี "สงครามเย็นครั้งใหม่"  เกิดขึ้น 


Ying/Chu/Zhou

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (18-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (17-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (17-04-2567)